บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 3,338
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 10,616
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 51,816
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,396,313
  Your IP :3.143.23.176

10. การเพิ่มความสามารถให้เครื่องยนต์ (จบ)

 

10. การเพิ่มความสามารถให้เครื่องยนต์

 

      การเพิ่มความสามารถให้กับเครื่องยนต์ เรียกทางภาษาช่างเราเรียกว่า การยกเครื่องหรือโอเวอฮอลล์ (Overhaul) หมายถึงการทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้ดีกว่าเดิม สามารถรีดเอาขุมพลังที่อยู่ออกมาใช้งานให้มีประสิทธิภาพได้เต็มที่ มีความประหยัดเชื้อเพลิงได้มากกว่า การเพิ่มความสามารถให้กับเครื่องยนต์มีดังนี้

 

การเพิ่มปริมาตรการอัด (Increase displacement) ถ้าเครื่องยนต์สามารถเพิ่มปริมาตรการอัดกระบอกสูบได้ จะทำให้แรงม้าของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น วิธีการที่ทำการเพิ่มปริมาตรอัดของกระบอกสูบ เช่น คว้านกระบอกสูบเปลี่ยนลูกสูบให้ใหญ่กว่าเดิม เสริมประเก็น (Gasket) ที่ฝาสูบเพื่อเพิ่มปริมาตรห้องเผาไหม้ จำนวนลูกสูบก็มีส่วนช่วยให้ปริมาตรการอัดมากขึ้น ส่วนเครื่องยนต์ใช้งานทั่วไปที่ผลิตออกมาในปัจจุบันมีจำนวนสูบมากที่สุด 12 สูบ ปริมาตรกระบอกสูบมักเรียกเป็น ซี.ซี. (Cubic Centimeter: c.c.)   

 

รูปประเก็นที่ฝาสูบความหนามีผลต่อปริมาตร และอัตราส่วนการอัดของเครื่องยนต์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

การเพิ่มอัตราส่วนการอัด  อัตราส่วนการอัด (Compressor ratio) คืออัตราส่วนการอัดตัวของส่วนผสมระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องยนต์แก๊สโซลีนทั่วไปมีอัตราส่วนผสมการอัดอยู่ที่ประมาณ 8:1(อากาศแปดส่วนต่อน้ำมันเชื้อเพลิงหนี่งส่วน) ถึงประมาณ 15:1 อัตราส่วนการอัดที่สูงกว่า เป็นผลให้ได้กำลังงานที่มากกว่า วิธีการที่นิยมใช้ก็คือการเสริม/ลดประเก็น หรือปาดฝาสูบค่าเหล่านี้สามารถหาได้จากการคำนวณ รายละเอียดจะยังไม่กล่าวในที่นี้

 

เพิ่มปริมาณความจุไอดีในแต่ละกระบอกสูบ ถ้าสามารถเพิ่มอากาศให้เข้ากระบอกสูบได้มากกว่า (และตามด้วยเชื้อเพลิง) ก็จะได้กำลังงานที่เพิ่มขึ้นจากกระบอกสูบ (ในทำนองเดียวกันกับการเพิ่มขนาดกระบอกสูบ) อุปกรณ์ที่ช่วยการอัดอากาศก็คือ เทอร์โบชาร์จ และซูเปอร์ชาร์จ ที่บังคับอากาศให้เข้าสู่กระบอกสูบได้มากขึ้น

 

รูปเทอร์โบที่มีหน้าที่เพิ่มปริมาตรความจุอากาศในห้องเผาไหม้

 

  การลดอุณหภูมิของอากาศที่เข้ากระบอกสูบ การอัดอากาศจะทำให้เกิดอุณหภูมิสูงขึ้น ฉะนั้นคุณควรจะมีการระบายความร้อนของอากาศ ที่จะเข้าไปในกระบอกสูบ เพราะว่า อากาศที่ร้อนนั้นอากาศจะขยายตัว ทำให้อากาศที่จะเข้ากระบอกสูบไหลเข้าได้น้อย มีผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องยนต์

 

      เพราะฉะนั้นทั้งเทอร์โบชาร์จ และซูเปอร์ชาร์จ จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า อินเตอร์คูลเลอร์ (Intercooler)  หน้าที่ก็คือการระบายความร้อนให้อากาศก่อนที่อากาศจะไหลเข้าไปในกระบอกสูบ

 

รูปอินเตอร์คูลเลอร์ระบายความร้อนอากาศก่อนเข้ากระบอกสูบของเครื่องยนต์ Audi A4 2.0

 

การทำให้อากาศไหลเข้าได้ง่าย ลูกสูบเคลื่อนที่ลงในจังหวะดูดเพื่อให้ดูดอากาศเข้ามานั้น อาจความต้านทานของอากาศที่หม้อกรองอากาศ, ที่ผนังท่อไอดี, ที่จุดท่อโค้ง และที่บ่าวาล์ว  ความต้านทานของอากาศเหล่านี้อาจจะลดทอนกำลังเครื่องยนต์ได้

 

      ความต้านทานของอากาศส่วนใหญ่อยู่ที่ช่วงการไหลผ่านบ่าวาล์ว รถยนต์รุ่นใหม่ ๆ แก้ปัญหาโดยการขัดมันที่ท่อร่วม และตัววาล์วเพื่อลดความต้านทานของอากาศ หม้อกรองอากาศที่ใหญ่ก็สามารถลดแรงต้านอากาศได้ดีด้วยเช่นกัน

 

การให้ไอเสียไหลออกได้ง่าย เมื่อมีความต้านทานอากาศเกิดขึ้น ก็จะทำให้การไหลออกของไอเสียยากขึ้นด้วย ก็จะทำให้มีการลดทอนกำลังของเครื่องยนต์เช่นกัน ความต้านทานของอากาศสามารถทำให้ลดน้อยลงที่วาล์วไอเสียในแต่ละกระบอกสูบ (ในกระบอกสูบหนึ่งของ รถยนต์นั่งในปัจจุบันจะมีวาล์ว 4 ตัว คือมีวาล์วไอดี 2 และวาล์วไอเสีย 2) ถ้าท่อทางของไอเสียมีขนาดเล็กด้วย หรือท่อพักมีขนาดเล็กแรงต้านอากาศที่ไหลออกก็จะมีมากไปด้วย มันอาจจะเกิด ความดันย้อนกลับ (Back-pressure) ซึ่งก็จะมีผลต่อประสิทธิภาพเครื่องยนต์

 

      ระบบไอเสียที่มีสมรรถนะสูงจะใช้ท่อเฮดเดอร์ (Headers), ท่อไอเสียขนาดใหญ่ และท่อพักไอเสียที่มีการออกแบบให้มีการไหลอย่างอิสระ ก็จะแก้ปัญหาของความดันย้อนกลับในระบบไอเสีย รถยนต์บางรุ่นจะมีท่อไอเสียออกมาสองท่อที่เรียกว่า ปลายท่อแยก (Dual exhaust) นั่นคือท่อไอเสียจะมีท่อแยกที่ปลายออกเป็นสองท่อ 

 

รูปปลายท่อแยกทำให้ไอเสียออกจากห้องเผาไหม้ได้เร็วขึ้น

 

รูปปลายท่อแยกของนิสสันจีทีอาร์

 

ลดน้ำหนักของเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนที่มีน้ำหนักเบา จะช่วยให้สมรรถนะเครื่องยนต์ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ลูกสูบถ้าเป็นเหล็กการเคลื่อนที่ของลูกสูบแต่ละครั้งจะทำให้สูญเสียพลังงานมาก ก็จะเปลี่ยนมาเป็นลูกสูบที่เป็น อะลูมิเนียมผสม (Aluminum alloys) แทน

 

รูปลูกสูบอลูมิเนียมผสมเพื่อลดน้ำหนักของเครื่องยนต์

 

การฉีดเชื้อเพลิง หัวฉีดเชื้อเพลิงจะทำให้การจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสู่กระบอกสูบมีความแม่นยำ ก็เป็นผลทำให้สมรรถนะเครื่องยนต์ดีขึ้น อีกทั้งยังประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงอีกด้วย

 

นอกจากนี้ค่าออกเทน (Octane) ที่มาก ผสมในน้ำมันเชื้อเพลิงก็มีส่วนช่วยในการเผาไหม้ดีขึ้นส่งผลให้สมรรถนะเครื่องยนต์สูงขึ้น แต่ผลเสียก็คือการก่อมลพิษทางอากาศมากขึ้นเช่นกัน


จบบทความเครื่องยนต์เบนซิน 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“เล่นหมากรุก อย่าเอาแต่บุกอย่างเดียว

เดินหมากรุกยังต้องคิด เดินหมากชีวิต จะไม่คิดได้อย่างไร”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา