บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,026
เมื่อวาน 1,008
สัปดาห์นี้ 5,622
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 33,857
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,378,354
  Your IP :3.133.156.156

4. ระบบเชื้อเพลิง, ปั๊มน้ำมันดีเซล, หัวฉีด, หัวเผา

 

ระบบเชื้อเพลิง

 

รูปแสดงระบบการจ่ายน้ำมันดีเซลเข้าเครื่องยนต์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      การจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล จะเริ่มต้นจากถังน้ำมันดีเซล ได้แรงดูดจากปั๊มดูดน้ำมันเชื้อเพลิง ให้มีแรงดันจ่ายไปตามท่อทาง ผ่านตัวกรองน้ำ และกรองน้ำมันดีเซล ผ่านเข้าปั๊มน้ำมันดีเซล

 

      การทำงานของปั๊มน้ำมันดีเซลจะสร้างน้ำมันดีเซลให้มีความดันสูง หมุนจ่ายไปตามท่อทางตามจำนวนกระบอกสูบ น้ำมันดีเซลแรงดันสูงนี้จะไหลไปที่หัวฉีด (หัวฉีดของเครื่องยนต์ดีเซล กับเครื่องยนต์แก๊สโซลีนจะต่างกัน หัวฉีดน้ำมันดีเซลจะให้ แรงดันน้ำมันสูงกว่ามาก มีความแข็งแกร่งทนทานกว่า ขนาดทั่วไปจะใหญ่กว่า และทนอุณหภูมิได้สูงกว่าเพราะอยู่ในห้องเผาไหม้) หัวฉีดจะฉีดน้ำมันเป็นฝอยด้วยแรงดันสูง เข้าไปในห้องเผาไหม้ในจังหวะจุดระเบิด    

 

รูปภายในเครื่องยนต์ดีเซล


วิดีโอการทำงานของระบบเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล

 

การฉีดน้ำมันดีเซลจ่ายเข้าห้องเผาไหม้ จะได้แรงดันการฉีดจากปั๊มน้ำมันดีเซล

 

ปั๊มน้ำมันดีเซล (Diesel fuel pump or Injection pump) คืออุปกรณ์สร้างแรงดันให้กับน้ำมันดีเซล หน้าที่หลัก ๆ จะดูดน้ำมัน และสร้างพลังงานให้แก่น้ำมันเพื่อส่งไปตามท่อทางไปยังหัวฉีด เพื่อให้เกิดจังหวะจุดระเบิดในเครื่องยนต์ ตามสภาวะความต้องการของเครื่องยนต์

 

รูปปั๊มดีเซลแบบอินไลน์ (Inline)

 

รูปภาคตัดของปั๊มน้ำมันดีเซลแบบอินไลน์

 

รูปปั๊มน้ำมันดีเซลสมัยใหม่แบบจานจ่าย (Distribution pump) ของบ๊อสห์

 

รูปส่วนประกอบภายในของปั๊มดีเซลแบบจานจ่าย

 

วิดีโอการทำงานของปั๊มจานจ่าย

 

 

 

      เมื่อใช้งานเครื่องยนต์ไป เวลาหนึ่ง การฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงของปั๊มน้ำมันดีเซลจะมีประสิทธิภาพลดลง การฉีดน้ำมันแต่ละสูบจะไม่เท่ากัน เครื่องยนต์เดินไม่เรียบ ฯลฯ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทดสอบปั๊ม (Test pump) เพื่อให้ปั๊มสามารถใช้งานได้มีประสิทธิภาพเช่นเดิม

 

รูปเครื่องทดสอบปั๊ม

 

วิดีโอแสดงการเทสปั๊มของเครื่องยนต์คอมมอนเรล

 

      ความแตกต่างของเครื่องยนต์ดีเซล และเครื่องยนต์แก๊สโซลีน อยู่ที่กระบวนการฉีดจ่ายน้ำมัน (Injection process)

 

      ในเครื่องยนต์แก๊สโซลีนแบบหัวฉีด จะใช้หัวฉีด ฉีดตรงท่อก่อนทางเข้าห้องเผาไหม้ ถ้าเป็นคาร์บูเรเตอร์จะใช้การผสมอากาศกับน้ำมันที่คาร์บูเรเตอร์ก่อนเข้าไปในห้องเผาไหม้ เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์แก๊สโซลีนจะไหลเข้าห้องเผาไหม้ในจังหวะดูด และทำงานตามวัฏจักรที่กล่าวมาในตอนต้น      

     

หัวฉีดดีเซล (Diesel nozzle) ในเครื่องยนต์ดีเซลจะฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้โดยตรง กล่าวคือจะติดหัวฉีดภายในกระบอกสูบ

 

รูปหัวฉีดน้ำมันดีเซล

 

 

รูปหัวฉีด และส่วนประกอบภายใน

 

รูปภาคตัดหัวฉีดน้ำมันดีเซล

 

รูปหัวฉีดอีกแบบหนึ่งแบบมีเดือยยื่นออกมา

 

วิดีการทำงานของหัวฉีดดีเซล

 

      เครื่องยนต์ดีเซลใช้การฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงโดยตรง  น้ำมันดีเซลจะถูกฉีดโดยตรงไปยังกระบอกสูบ หัวฉีดในเครื่องยนต์ดีเซลมีส่วนประกอบที่ซับซ้อนมากที่สุด หัวฉีดต้องมีความสามารถทนต่ออุณหภูมิ และความดันภายในที่มีค่าสูงได้

 

      การจ่ายเชื้อเพลิงของหัวฉีด จะจ่ายอย่างสม่ำเสมอ และจ่ายเป็นละออง เพื่อให้ฟุ้งกระจายภายในห้องเผาไหม้ให้มากที่สุด ถ้าน้ำมันแพร่กระจายไม่ดี จะทำให้เครื่องยนต์เกิดปัญหา เช่น กำลังเครื่องตก เครื่องสั่นเดินไม่เรียบ การจุดระเบิดในห้องเผาไหม้แต่ละสูบไม่เท่ากัน รถยนต์รุ่นใหม่ ๆ จึงต้องมีอุปกรณ์ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยการใช้วาล์วเหนี่ยวนำพิเศษ (Special induction valves), ห้องเผาไหม้ล่วงหน้า หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่ทำให้อากาศหมุนวนในห้องเผาไหม้ เพื่อให้การเผาไหม้ดีขึ้น สมบูรณ์ขึ้น

 

      เครื่องยนต์ดีเซลบางรุ่นจะมี หัวเผา (Glow plug) ใช้ในเวลาเมื่อเครื่องยนต์ดีเซลเย็น ในการสตาร์ทครั้งแรก หรือในตอนเช้า กระบวนการอัดตัวของอากาศในห้องเผาไหม้อาจไม่ถึงอุณหภูมิที่จะติดเครื่องได้ หัวเผาจึงเป็นตัวช่วยที่ดี หัวเผาเป็นแท่งความร้อนไฟฟ้า สร้างความร้อนในห้องเผาไหม้ และเพิ่มอุณหภูมิอากาศภายในห้องเผาไหม้ ขณะเครื่องยนต์เย็น ซึ่งทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทได้ง่าย ตามที่ เคลย์ บราเธอร์ตัน (Cley brotherton) เป็นผู้คิดค้นหัวเผาขึ้นมา

 

รูปหัวเผา

 

รูปหัวเผาร้อนแดง

 

ห้องเผาไหม้ล่วงหน้า (Pre-combustion chamber) มีในเครื่องยนต์รุ่นใหม่ ๆ ในระบบการฉีดโดยอ้อม หรืออินไดเร็คอินเจ็คชั่น (Indirect injection) เชื้อเพลิงฉีดเข้าไปในบริเวณห้องเผาไหม้ล่วงหน้าก่อน และเกิดการติดไฟแล้วเปลวไฟจึงพ่นออกมาที่ห้องเผาไหม้ ทำให้เครื่องยนต์ติดได้ง่ายรถยนต์บางรุ่นจึงไม่จำเป็นต้องใช้หัวเผาก่อนที่จะติดเครื่องยนต์

 

รูปห้องเผาไหม้ล่วงหน้า 1

 

รูปห้องเผาไหม้ล่วงหน้า 2

 

รูปห้องเผาไหม้ล่วงหน้า 3

 

 

วิดีโอแสดงการทำงานของหัวฉีดในห้องเผาไหม้ล่วงหน้า

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

“ถ้าขาดความพยายามแล้ว
อย่าว่าแต่เข็ญครกขึ้นเขาเลย
แม้แต่เข็ญครกลงเขา ก็ไม่มีทางทำได้”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา