บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 4,327
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 11,605
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 52,805
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,397,302
  Your IP :3.128.199.162

3. การเชื่อมแบบไฮเปอร์บาริก

      

รูปวงจรเครื่องเชื่อมใต้น้ำทั้งแบบแห้ง และเปียก 

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

รายละเอียดการเชื่อมแบบแห้ง (Dry) จากรูปด้านบน

AC/DC Power plant = เครื่องเชื่อมไฟฟ้า ที่ใช้ได้ทั้งแบบใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ หรือกระแสตรง

Work = งานที่ทำการเชื่อม

Electrode holder = คีมจับลวดเชื่อม

Electrode = ลวดเชื่อมชนิดพิเศษกันน้ำ

Return lead = สายกลับ

Earth = สายกราวด์

 

      การเชื่อมไฮเปอร์บาริก (Hyperbaric welding) หรือที่เรียกกันว่า การเชื่อมแบบแห้ง (Dry welding) เป็นการเชื่อมในห้องปิด ที่ปิดผนึกอย่างดี จนห้องนี้สามารถป้องกันน้ำเข้ามาขณะทำการเชื่อมได้ ดังนั้นบริเวณที่จะทำการเชื่อมจึงแห้ง โดยที่ภายนอกห้องเชื่อมยังคงมีความดันสถิต (Hydrostatic) ของน้ำทะเลอยู่รอบ ๆ ห้องเชื่อม

 

รูปตัวอย่างห้องเชื่อมใต้น้ำแบบแห้ง

 

รูปการเชื่อมใต้น้ำที่เชื่อมภายในห้องปิด ที่เรียกว่าการเชื่อมแบบแห้ง

 

      ภายในห้องเชื่อมได้อัดบรรจุก๊าซ (ทั่วไปแล้วจะบรรจุก๊าซฮีเลียม ความดัน 0.5 บาร์ของออกซิเจน) ผสมผสานกัน อีกทั้งแลกเปลี่ยนความดัน กับอากาศที่ใช้หายใจ หรือออกซิเจน

 

      เหตุผลที่ต้องใส่ก๊าซนอกเหนือจากอากาศที่ใช้หายใจ เนื่องด้วยต้องการให้ก๊าซ ทำหน้าที่เป็นสารผนึกกันรั่วซึมของก๊าซ และอากาศไปยังด้านนอกรอบ ๆ ห้องเชื่อมขณะปฏิบัติงานเชื่อม

     

      นอกจากนี้ยังทำให้ผลที่ได้จากการเชื่อมมีคุณภาพสูง เมื่อผ่านการตรวจสอบด้วยกล้องเอ็กเรย์ (X-ray)  

 

รูปรอยเชื่อมหลังการเชื่อมเสร็จเมื่อเทียบกับเชื่อมบนอากาศ

 

      เทคโนโลยีล่าสุดการประดิษฐ์สร้างห้องที่ใช้เชื่อมที่มีขนาดเล็ก ครอบบริเวณทำการเชื่อม ช่างเชื่อม หรือนักดำน้ำ สามารถทำงานนอกห้องเชื่อมได้แบบการเชื่อมแบบเปียก

 

      เพียงแต่ยื่นมือเข้าไปเชื่อมภายในห้องเชื่อม ห้องเชื่อมสามารถครอบแต่ละแนวที่ต้องการเชื่อม ข้อดีก็คือ ต้นทุนที่ใช้สร้างห้องเชื่อมแบบนี้จะถูกกว่าแบบสร้างห้องครอบที่มีขนาดใหญ่มาก  

 

      เทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมแบบไฮเปอร์บาริกยังมีข้อดี ที่ดูเด่นกว่าการเชื่อมใต้น้ำแบบเปียกก็คือสามารถปฏิบัติการเชื่อมได้ลึก 500 ถึง 1000 เมตร  

 

รูปการเชื่อมติ๊ก (TIG) ใต้น้ำ

 

การเชื่อมแบบไฮเปอร์บาริก นั้นนิยมใช้วิธีเชื่อมหลายวิธีการ อาทิเช่น

 

ü การเชื่อมโดยใช้แท่งอิเล็กโทรด (MMA (SMA))

 

ü การเชื่อมอาร์คด้วยแก๊ส-แท่งทังสเตน หรือที่รู้จักกันว่า การเชื่อมติ๊ก (TIG: Tungsten Inert Gas) และ

 

ü การเชื่อมอาร์คลวดใส้ฟลักซ์ (FCAW)

 

      วิธีที่กล่าวมานี้ก็เพื่อต้องการความสมบูรณ์ของรอยเชื่อมให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมในน้ำลึก ซึ่งอาจเป็นการเชื่อมแนวท่อ และโครงสร้างใต้น้ำ ในอุตสาหกรรมด้านน้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ

 

รูปหลังจากเชื่อมเสร็จก็พร้อมที่จะขึ้นสู่ผิวน้ำ

 

 

วิดีโอแสดงการเชื่อมแบบแห้ง หรือแบบไฮเปอร์บาริก

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

    ธรรมชาติซับซ้อนเท่าที่มันจำเป็น...ไม่มากกว่านั้น

 

                   Nature is as complex as it needs to be.... and no more.” 


 

Albert Einstein

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา