บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,939
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 8,044
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 70,970
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,338,857
  Your IP :54.147.30.127

9. ดาวเทียมของไทย และขยะอวกาศ

 

ดาวเทียมของไทย

 

ไทยคม 1 และ ไทยคม 2

 

รูปดาวเทียมไทยคม 1

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

ดาวเทียมไทยคม 2

 

      ดาวเทียมไทยคม 1A ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2536 ส่วนดาวเทียมไทยคม 2 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2537 ดาวเทียมทั้ง 2 ดวงเป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 แบบดูอัล สปิน (Dual Spin) ผลิตโดย บริษัท ฮิวส์

 

      ใช้ความถี่ย่านซี-แบนด์ (C-Band) ครอบคลุมประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี ญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีน ส่วนพื้นที่การใช้ความถี่ย่านเคยู-แบนด์ (Ku-Band) ในประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีน

 

      จำนวนช่องสัญญาณในย่านซี-แบนด์ ดาวเทียมไทยคม 1A มีจำนวน 12 ทรานสปอนเดอร์ ดาวเทียมไทยคม 2 มีจำนวนดวงละ 10 ทรานสปอนเดอร์ ความถี่ช่องสัญญาณอยู่ที่ 36 MHz จำนวนช่องสัญญาณในย่านเคยู-แบนด์ มีจำนวนดวงละ 3 ทรานสปอนเดอร์ ความถี่ช่องสัญญาณอยู่ที่ 54 MHz อายุการใช้งาน 15 ปี

 

 

ไทยคม 3

 

รูปดาวเทียมไทยคม 3

 

ดาวเทียมไทยคม 3 ผลิตโดย บริษัท อัลคาเทล สเปซ ซิสเต็ม มีย่านความถี่ซี-แบนด์ จำนวน 25 ทรานสปอนเดอร์ ย่านความถี่เคยู-แบนด์ จำนวน 14 ทรานสปอนเดอร์ ครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป คือเอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย และแอฟริกา

 

 

ดาวเทียมไทยคม 4 (IP Star)

 

ดาวเทียมไทยคม 4 ไอพีสตาร์

 

      เป็นดาวเทียมที่ใช้เล่นอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมได้ทุกที่ ใช้เทคโนโลยีการกระจายคลื่นเหมือนกับที่ใช้ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ พร้อมกับระบบจานสายอากาศดาวเทียมแบบใหม่ ไอพีสตาร์ สามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 45 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) จึงสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ที่รองรับการให้แก่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตนับล้านคน

 

 

ดาวเทียมไทยคม 5

 

รูปดาวเทียมไทยคม 5

 

      ดาวเทียมไทยคม 5 ผลิตโดย บริษัท อัลคาเทล อาลีเนีย สเปซ ประกอบด้วยย่านความถี่ซี-แบนด์ จำนวน 25 ทรานสปอนเดอร์ และย่านความถี่เคยู-แบนด์ จำนวน 14 ทรานสปอนเดอร์ ดาวเทียมไทยคม 5 ครอบคลุมประเทศเวียดนาม และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอินโดจีน

 

หมายเหตุ ดาวเทียมไทคมนั้น AIS ได้ขายหุ้นให้กับ เทมาเส็ก ของประเทศสิงคโปร์แล้ว มีปัญหาทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่จะไม่กล่าวในที่นี้ จะกล่าวถึงความรู้ที่ผู้อ่านจะได้รับเท่านั้น

 

 

ดาวเทียมไทพัฒ

 

รูปดาวเทียมไทพัฒ

 

รูปโครงสร้างดาวเทียมไทพัฒ

 

      ดาวเทียมไทพัฒ เป็นดาวเทียมที่สร้างขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ที่ทางมหาวิทยาลัยได้ส่งอาจารย์ ไปศึกษาการออกแบบ-สร้างดาวเทียมที่ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2539 และสร้างดาวเทียมสำเร็จมีชื่ออังกฤษว่า TMSAT (Thai Micro-Satellite) ในปี พ.ศ. 2540 และปล่อยเข้าสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ที่ประเทศคาซัคสถาน

 

      ดาวเทียมไทพัฒมีขนาด 35 x 35 x 60 ซม3 น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม มีแผงโซล่าเซลล์ประกอบติดอยู่โดยรอบ ภายในมีระบบคอมพิวเตอร์ 4 ชุด ชุดสื่อสารย่านความถี่วิทยุสมัครเล่น 1 ชุด

 

 

ดาวเทียมไทยโชต หรือธีออส

 

รูปดาวเทียมธีออส

 

รูปดาวเทียมธีออส หรือไทยโชต

 

รูปส่วนประกอบของดาวเทียมไทยโชต

 

      เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกของไทย ที่มี สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) เป็นเจ้าของโครงการ ดาวเทียมธีออสนั้นมีชื่อเต็มว่า Thailand Earth Observation System (THEOS) หนัก 750 กิโลกรัม บันทึกภาพด้วยระบบเดียวกับกล้องถ่ายรูปทั่วไปด้วยความละเอียดของภาพขาวดำ 2 เมตร และความละเอียดภาพสี 15 เมตร โคจรที่ความสูง 822 กิโลเมตรโดยจะโคจรมาซ้ำจุดเดิมทุกๆ 26 วัน มีอายุการใช้ 5 ปี

 

รูปดาวเทียมไทยโชต

 

หมายเหตุ ดาวเทียมที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานชื่อของดาวเทียมให้

 

ขยะอวกาศ

 

รูปจำลองขยะอวกาศ

 

ขยะอวกาศ (Space Junk) คือ ดาวเทียมที่ถูกปลดระวาง ไม่ได้ใช้งาน แต่ยังอยู่ในวงโคจร ไม่ตกลงสู่พื้นโลก หรือล่องลอยไปในอวกาศ

 

รูปจำลองขยะอวกาศอีกรูป

 

      นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางอวกาศที่อยู่นอกโลก ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และล่องลอยไปในอวกาศ

 

ต่อไปนี้คือสาเหตุที่ทำให้เกิดขยะอวกาศ

 

ชิ้นส่วนของจรวดที่ระเบิด หรือจรวดหลักที่บรรจุเชื้อเพลิงที่แยกตัวออกจากหัวจรวด นี้ก็อาจกลายเป็นขยะในอวกาศ

 

การปล่อยให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในอวกาศ ของนักบินอวกาศที่ออกไปซ่อมแซมดาวเทียม หรือยานอวกาศด้านนอก เช่น ประแจ ที่กำลังใช้งานอยู่แล้วพลาดหลุดมือ ประแจนั้น จะล่องลอยออกสู่อวกาศ ถ้าโชคร้าย ประแจมันยังอยู่ในวงโคจร ประแจนั้นอาจมีความเร็วถึง 10 กิโลเมตรต่อวินาทีเชียว ความเร็วขนาดนี้จะเกิดโมเมนตัมสูงจะเป็นอันตรายต่อสิ่งที่อยู่ในวงโคจรนั้นอาจถูกชนทำให้เกิดความเสียหายได้

 

จบบทความดาวเทียม

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

“หนทางยาวไกลนับพันลี้ ย่อมเริ่มที่ก้าวแรกเสมอ”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา