บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 997
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 7,227
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 35,462
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,379,959
  Your IP :18.118.137.243

5. การทำงานของกระปุกเกียร์อย่างง่าย

 

      เพื่อความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของกระปุกเกียร์ ลองดูรูปด้านล่างแสดงถึงผังไดอะแกรมเกียร์ธรรมดาอย่างง่าย

 

รูปเกียร์ธรรมดาอย่างง่าย

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

วิดีโอการทำงานรถยนต์ที่เป็นเกียร์ธรรมดา

 

รูปภาคตัดของกระปุกเกียร์ธรรมดา

 

 

มองแต่ละส่วนของรูปด้านบนเหล่านี้เพื่อความเข้าใจในการทำงาน:

 

Ø เพลาเขียวรับกำลังมาจากเครื่องยนต์ผ่านคลัตช์ เพลาสีเขียว และเฟืองสีเขียวเป็นชิ้นเดียวกัน (อุปกรณ์คลัตช์จากที่กล่าวแล้วว่า มันทำหน้าที่ตัด / ต่อกำลังระหว่างเครื่องยนต์ และกระปุกเกียร์ เมื่อคุณเหยียบแป้นคลัตช์ เครื่องยนต์ และกระปุกเกียร์จะไม่เชื่อมต่อ ดังนั้นถ้าต้องการให้รถยนต์สามารถวิ่งได้ จะต้องเข้าเกียร์ และยกเท้าออกจากแป้นคลัตช์ เพลาสีเขียวจากเครื่องยนต์จะเชื่อมต่อกับเพลาอื่น ๆ ตามการใส่เกียร์)

 

Ø เพลาแดงเป็นเฟืองที่เรียกว่า เพลาลาด (Layshaft) ทำหน้าที่เป็นเพลาเฟืองสะพานเชื่อมต่อกับเฟืองอื่น  เพลาเขียว และเพลาแดงต่อกันโดยตรงผ่านเฟืองเมสห์ (Meshed gears) ดังนั้นถ้าทำให้เฟืองสีเขียวหมุน เฟืองสีแดงก็จะหมุนตาม ด้วยวิธีนี้ เพลาลาดจะรับกำลังงานโดยตรงจากเครื่องยนต์ทันทีที่มีการต่อคลัตช์

 

Ø เพลาเหลือง จะโยงไปเชื่อมต่อกับเพลากลาง และเฟืองท้าย (กรณีรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลัง) เพื่อที่จะขับให้ล้อรถยนต์หมุนทำงาน ทำให้รถเคลื่อนที่ จำไว้ว่าเมื่อใดที่ล้อหมุน เพลาสีเหลืองก็จะหมุน

 

Ø เฟืองสีฟ้า ที่นั่งอยู่บนแบริ่ง เมื่อมันถูกทำให้หมุนเพลาสีเหลืองก็จะหมุนตามไปด้วย ถ้าว่าขณะวิ่งอยู่เครื่องยนต์ดับ รถยังคงเคลื่อนที่ เพลาเหลืองจะสามารถหมุนภายในเฟืองสีฟ้า ขณะที่เฟืองสีฟ้า และเฟืองลาด (สีแดง) อยู่นิ่งไม่ได้หมุน

 

Ø วัตถุประสงค์ของปลอกเลื่อน (Collar) ก็คือการทำให้เกิดการเชื่อมต่อกันของเฟืองสีฟ้าเพื่อทำการขับเพลาสีเหลือง ปลอกเลื่อนที่เชื่อมต่อจะวิ่งผ่าน ร่องสไปลน์ (Splines) ที่เป็นส่วนหนึ่งของเพลาสีเหลือง มันก็จะหมุนไปพร้อมกับเพลาสีเหลือง อย่างไรก็ดี ปลอกเลื่อนสามารถสไลด์ไปทางซ้าย หรือทางขวาของเพลาเหลืองก็ได้ ก็เพื่อทำการเปลี่ยนเกียร์ให้เป็นเกียร์ใดเกียร์หนึ่ง ฟันบนปลอกเลื่อน เรียกว่า เฟืองฟันหมา (Dog teeth) เมื่อเลื่อนประกบขบกับด้านข้างของเฟืองสีฟ้าจะทำให้เกิดการส่งกำลังที่เฟืองนั้น

 

รูปชุดเฟืองในเกียร์ ก็มีเฟืองเกียร์, เฟืองฟันหมา และปลอกเลื่อนตามลำดับ

 

รูปปลอกเลื่อน (เลื่อนได้จากการเปลี่ยนเกียร์) กำลังดันเฟืองฟันหมาเลื่อนเข้าขบเฟืองเกียร์

 

วิดีโอการทำงานของเกียร์ธรรมดา

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“จิตใจที่แข็งแกร่ง มักได้มาจากความทุกข์ยาก

บุคคลที่จะยิ่งใหญ่ได้ มักจะมีรอยแผลมาทั้งนั้น”

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา