บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,468
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 7,698
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 35,933
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,380,430
  Your IP :18.224.32.86

      อย่างไรก็ตาม ขณะที่มีการออกแบบขึ้นมาใหม่ ๆ กลไกหกแกนก็อาจยังคงมีปัญหาบางอย่างที่ต้องทำการพัฒนา อีกทั้งยังมีวิธีการปรับแต่ง เพื่อกำจัดจุดอ่อนของข้อจำกัดในกลไกหกแกน ซึ่งประกอบไปด้วย:

 

 

รูปกลไกหกแกน

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

1.  ความเสียดทาน (Friction) นี้เป็นปัญหาที่สำคัญเป็นหลัก สำหรับกลไกหกแกน เนื่องจากถ้าค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานมีค่าสูง (m = 0.8) จะทำให้ความถูกต้องแม่นยำ และการทำงานแบบซ้ำ ๆ จะทำให้เกิดปัญหาในทางลบ ซึ่งในการออกแบบขั้นสูง จะใช้เทคโนโลยีที่มีการเคลือบโลหะด้วยเซรามิค และสารหล่อลื่นชนิดพิเศษ ซึ่งจะทำให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานอาจลดลงมาถึง 0.2

 

 

รูปตัวอย่างข้อต่อเซรามิค

 

2.  ความยาวของสตรัด ในเรื่องของความแม่นยำเที่ยงตรงของกลไกหกแกนจะเป็นสัดส่วนผกผันต่อความยาวสตรัด เนื่องมาจากมันอาจโมเมนต์ดัดโค้งบิดเบี้ยวได้ ปัญหานี้อาจเอาชนะโดยการทำการวิเคราะห์กลศาสตร์ของชิ้นส่วนเครื่องจักรกลในแต่ละส่วนประกอบของชิ้นสตรัดก่อนที่จะนำมาติดตั้งในเครื่องจักร

 

 

 

รูปแท่งสตรัดที่ยาวขณะทำงานอาจเกิดการดัดโค้งได้

 

 

รูปการวิเคราะห์ทางกลศาสตร์ของกลไกหกแกน

 

3.  ขณะทำงานเกิดความร้อนขึ้น นี้เกิดจากการเคลื่อนที่ของสตรัดอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับการทำงานของเพลาหมุนทำให้เกิดความเร็วรอบด้วยความเร็วสูง (20,000-30,000 rpm) วิธีหนึ่งในการตรวจสอบปัญหานี้ก็คือ การตรวจสอบสตรัดในแบบโหมดเรียลไทม์ ด้วยการใช้วิเคราะห์ด้วยวิธีการไฟไนต์อิลิเมนต์ (Finite Element Method: FEM) และมีการปรับค่าแบบอัตโนมัติเพื่อทำการชดเชยแนวทางการปรับไปยังซอฟแวร์ตามการเกิดความร้อนเพิ่มขึ้นที่วัดได้จากสตรัด ในการนี้ อินเจอโซลก็มีการปรับปรุงเทคนิคทางความร้อนโดยการใช้ เลเซอร์ป้อนกลับ (Laser feedback) และส่งกลับไปประมวลผล และทำการแก้ปัญหาของสตรัดที่เกิดความร้อนแบบผิดปกติในกลไกหกแกน

 

 

รูปตัวอย่างการวิเคราะห์ชิ้นส่วนด้วยไฟไนต์อิลิเมนต์

 

4.  การสอบเทียบ (Calibration) กลไกหกแกนมีความแม่นยำเที่ยงตรง ไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับการควบคุมให้แม่นยำเท่านั้นของความยาวสตรัด แต่ยังขึ้นอยู่กับความรู้ของลักษณะทางเรขาคณิตของมัน ตามความคาดเคลื่อนของสตรัดกลไกหกแกน ปัจจัยมากมายเล่นกฎในสุดท้ายของกลไกหกแกน พารามิเตอร์มากมาย ต้องระบุเพื่ออธิบายต่อการพิจารณาลักษณะทางเรขาคณิตของกลไก นี้ทำผ่านการสอบเทียบที่ยุ่งยากของกลไก ซึ่งยังคงเป็นปัญหาเปิด ความท้าทายต้องเผชิญกับการพัฒนาระบบสอบเทียบนั่นจะสามารถรับประกันได้อย่างดีของความแม่นยำ ทำให้กลไกหกแกนสามารถผลิตชิ้นงานที่ซ้ำ ๆ กันได้ภายใต้ค่าความเผื่อที่ระบุไว้ ระบบสอบเทียบด้วยตัวเอง ควรยอมให้กลไกหกแกนเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของตัวเอง และแก้ไขความไม่ถูกต้องใด ๆ ที่ตรวจพบ

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ความทุกข์เกิดขึ้นจริง ๆ เพียงครั้งเดียว
แต่ความคิด เกิดวนเวียนซ้ำซากนับพันครั้ง”

ท่านว. วชิรเมธี

4 ส.ค.2553

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา