บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,718
เมื่อวาน 1,670
สัปดาห์นี้ 5,910
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 47,110
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,391,607
  Your IP :3.15.151.214

9. เครือข่าย 2 จี: จีเอสเอ็ม และซีดีเอ็มเอ          

     

 

รูปซีดีเอ็มเอ และจีเอสเอ็ม

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ทีดีเอ็มเอ ยังใช้เป็นแนวทางในการเข้าถึงเทคโนโลยี การสื่อสารเคลื่อนที่สำหรับระบบทั่วโลก หรือจีเอสเอ็ม (Global System for Mobile Communications: GSM) อย่างไรก็ตามจีเอสเอ็มทำงาน เมื่อเทียบกับทีดีเอ็มเอมีความแตกต่างกัน และอีกอย่างมีวิธีการที่เข้ากันไม่ได้จากมาตรฐานระหว่างช่วงเวลา IS-136

 

 

รูปวิวัฒนาการของทีดีเอ็มเอ

 

      ความคิดของจีเอสเอ็ม และไอเอส-136 ซึ่งทั้งสองมีระบบปฏิบัติการ (Operating Systems: OS) ที่แตกต่างกัน ที่สามารถทำงานบนหน่วยประมวลผลเหมือนกันได้ ซึ่งเหมือนกับระบบปฏิบัติการวินโดว์ (Windows) กับลินุกซ์ (Linux) ในคอมพิวเตอร์ ที่ทั้งคู่สามารถทำงานบนโปรเซสเซอร์อินเทลเพนเทียมได้

 

      ระบบจีเอสเอ็มต้องใช้การเข้ารหัส เพื่อให้การใช้งานของโทรศัพท์มีความปลอดภัยมากขึ้น จีเอสเอ็มทำงานอยู่ในโซนยุโรป และเอเชียในคลื่นความถี่ 900 และ1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)

 

 

รูปประเทศที่ใช้ระบบจีเอสเอ็ม 900 และ1800 เมกะเฮิรตซ์

 

      ส่วนในสหรัฐอเมริกาใช้คลื่นความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ (บางครั้งก็เรียกว่า 1.9 จิกะเฮิรตซ์ (GHz)) ซึ่งถูกนำมาใช้ในโทรศัพท์มือถือระบบดิจิตอล และเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

 

      นอกจากนี้จีเอสเอ็มยังเป็นพื้นฐาน สำหรับการใช้งานในเครือข่ายแบบบูรณาการในระบบดิจิตอลที่เพิ่มเข้ามา (Integrated Digital Enhanced Network: IDEN) ระบบที่นิยมนำมาใช้ก็คือ โมโตโรล่า (Motorola) และใช้โดยเน็กเทล (Nextel) ส่วนเอทีแอนด์ที (AT&T) และที-โมไบล์ (T-Mobile) ใช้จีเอสเอ็ม

 

 

9.1 ซึดีเอ็มเอ

 

       การเข้าถึงตามการเข้ารหัส และการถอดรหัสโดยใส่แอดเดรสหมือน IP เราเรียกวิธีการนี้ว่า ซีดีเอ็มเอ ใช้ในยุค 2G จึงเป็นการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลหมดแล้ว

 

 

รูปการใช้งานซีดีเอ็มเอ

      ซีดีเอ็มเอ เป็นมาตรฐานมาจากสหรัฐอเมริกา เป็นมาตรฐานของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2จี ทำขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการใช้งานระบบสื่อสารส่วนบุคคล (Personal Communication) ในลักษณะการใช้งานแบบสื่อสารไร้พรมแดน (Global Communication) ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ สามารถนำโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานที่ใด ๆ ก็ได้ทั่วโลกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

 

      อีกทั้งยังเป็นการสื่อสารดิจิตอลสมบูรณ์แบบ เพื่อให้มีความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการสื่อสารมีมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความสั้น หรือเอสเอ็มเอส (Short Message Service: SMS) เป็นการเริ่มต้นของยุคสื่อสารผ่านข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นครั้งแรกโดยมาตรฐานจีเอสเอ็ม และซีดีเอ็มเอ ซึ่งเป็นวิธีการที่มีแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับทีดีเอ็มเอ

 

 

รูปเอสเอ็มเอสในโทรศัพท์ยุค 2จี 

      โดยในซีดีเอ็มเอ หลังจากที่การแปลงข้อมูลทางดิจิตอล มันกระจายออกไปทางช่องความถี่ของคลื่นวิทยุที่มีอยู่ทั้งหมด หลายสายที่มีการซ้อนทับกันในช่องสื่อสาร แต่ก็มีการกำหนดลำดับรหัสที่ไม่ซ้ำกัน

 

      ซีดีเอ็มเอเป็นรูปแบบของการแพร่กระจายคลื่นความถี่ (Spread spectrum) หมายความว่าข้อมูลจะถูกส่งไปเป็นชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งเป็นตัวเลขจำนวนมากของความถี่ที่ไม่ต่อเนื่อง เพื่อให้มีการใช้งานได้ตลอดเวลาในช่วงที่กำหนด ผู้ให้บริการส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกาใช้ระบบ ซีดีเอ็มเอ ซึ่งยังไม่มีซิมการ์ด

 

      ผู้ใช้ทั้งหมดมีการใช้ส่งข้อมูลเป็นวงกว้างของคลื่นที่มีความถี่เดียวกัน ในสัญญาณของผู้ใช้ในแต่ละคนจะแผ่กระจายไปทั่วทั้งช่วงคลื่นความถี่โดยมีรหัสการแพร่กระจายที่ไม่ซ้ำกัน

 

 

รูปโทรศัพท์มือถือยุค 2จี ระบบซีดีเอ็มเอ

 

      ที่ผู้รับสัญญาณเข้ารหัสจะเป็นรูปแบบที่เหมือนกันในการดึงสัญญาณ เพราะว่าระบบซีดีเอ็มเอมีความจำเป็นที่จะต้องระบุเวลาที่แม่นยำในแต่ละส่วนของช่วงสัญญาณ จะทำให้มันสามารถอ้างอิงกับระบบจีพีเอสในข้อมูลเหล่านี้ ระหว่างที่ทำการโทรซึ่งเป็นช่องสื่อสารรูปแบบเดียวกับการโทรแบบแอมป์อนาล็อก

 

      เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอ เป็นพื้นฐานสำหรับมาตรฐานระหว่างกาล 95 (IS-95) และทำงานในช่วงคลื่นความถี่ 800 และ1900 เมกะเฮิรตซ์

 

      ในทางแนวคิดอุดมคติ ทีดีเอ็มเอ และซีดีเอ็มเอ ข้อมูลเป็นแบบโปร่งไส เมื่อเทียบกับรูปแบบอื่น ๆ

 

      แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สัญญาณซีดีเอ็มเอ มีกำลังส่งที่สูงซึ่งอาจเกิดคลื่นรบกวนมากกว่าภาครับของทีดีเอ็มเอ แต่ถ้าทำให้สัญญาณทีดีเอ็มเอให้กำลังส่งสูงก็อาจทำให้การใช้งานหนักมากไป และอาจเกิดการติดขัด (Jaming) มากกว่าภาครับของซีดีเอ็มเอ

 

นอกจากนี้ยังมียุคที่อยู่ก้ำกึ่งระหว่าง 2จี กับ 3 จี นั่นก็คือยุค 2.5จี

 

      การสื่อสารไร้สายยุค 2.5จี ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากเทคโนโลยี ในระดับ 2จี แต่มีประสิทธิภาพด้อยกว่ายุค 3จี โดยเทคโนโลยียุค 2.5จีนั้น สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล แบบชุดแพคเก็ตที่ความเร็วระดับ 20 – 40 Kbps

 

ในทางปฏิบัติ เทคโนโลยีจีพีอาร์เอส ถือว่าเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในระดับ 2.5จี

 

 

รูปยุคของโทรศัพท์ที่มี 2.5จีเข้ามาคั่นกลาง

วิดีโอความแตกต่างกันของจีเอสเอ็ม และซีดีเอ็มเอ

 

    

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ก่อนจะพูดอะไร ควรที่จะนึกถึงคนฟังก่อนเสมอ

เพราะการพูด คนพูดอาจไม่คิด แต่คนฟังจะจำไปอีกนาน”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา