บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 967
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 7,197
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 35,432
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,379,929
  Your IP :18.119.107.161

13. โทรศัพท์มือถือหลากหลายแถบคลื่นความถี่ กับหลากหลายโหมด

 

      หากคุณเป็นคนที่เดินทางบ่อย คุณอาจจะต้องมีโทรศัพท์มือถือที่มีการใช้งานที่มีคุณสมบัติแบบ แถบคลื่นหลากหลาย (Multiple bands), หลากหลายโหมด (Multiple modes) หรือทั้งสองอย่าง ลองมาดูแต่ละตัวเลือกด้านล่างนี้

 

 

รูปมือถือสมัยใหม่

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

·       แถบคลื่นหลากหลาย: โทรศัพท์มือถือที่มีการใช้แถบคลื่นหลากหลายมีความสามารถที่จะสับเปลี่ยนคลื่นความถี่ ยกตัวอย่างเช่น โทรศัพท์ทีดีเอ็มเอความถี่คู่ (Dual-band TDMA phone) สามารถใช้บริการทีดีเอ็มเอได้ทั้งระบบ 800 MHz หรือ 1900 MHz, โทรศัพท์มือถือจีเอสเอ็มแถบคลื่นสี่เหลี่ยม (Quad-band GSM phone) ที่สามารถใช้บริการได้ในแถบคลื่นความถี่ใน 850, 900, 1800 หรือ 1900 MHz

 

·       หลากหลายโหมด: ในโทรศัพท์มือถือ โหมด หรือตัวเลือก (Mode) หมายถึงประเภทของการใช้เทคโนโลยีการส่งผ่าน ดังนั้น โทรศัพท์มือถือนั่นต้องรองรับเทคโนโลยี แอมป์ และทีดีเอ็มเอ สามารถสลับไปมาได้ตามความต้องการ จะช่วยให้คุณสามารถใช้บริการระบบอนาล็อกได้ หากยังอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้รับการรองรับด้วยระบบดิจิตอล

 

·        ผสมผสานกันของ แถบคลื่นหลากหลาย / หลากหลายโหมด แบบนี้ดีที่สุดที่จะช่วยให้การใช้งานสามารถสลับไปมาได้ระหว่างคลื่นความถี่ และโหมดการส่งได้ตามต้องการ

 

 

      การเปลี่ยนแปลงแถบคลื่น หรือโหมด จะทำโดยอัตโนมัติจากโทรศัพท์มือถือที่รองรับการทำงานเหล่านี้ โดยปกติโทรศัพท์มือถือมักจะมีชุดตัวเลือกค่าเริ่มต้น (Default option set)

 

      เช่น เทคโนโลยีทีดีเอ็มเอ 1900 MHz ในการใช้งานมันจะพยายามเชื่อมต่อที่ความถี่นั่นเป็นอันดับแรก ถ้ามันไม่สามารถเชื่อมต่อไปที่ 1900 MHz ได้ มันจะรองรับแถบคลื่นความถี่ต่อไป คือมันจะสับเปลี่ยนไปที่ 800 MHz และถ้าเป็นโทรศัพท์มือถือรองรับมากกว่าหนึ่งโหมด มันจะพยายามที่จะแสวงหาโหมดที่เป็นดิจิตอลก่อน ถ้าไม่เจอถึงจะสับเปลี่ยนไปเป็นอนาล็อก

 

      คุณสามารถหาโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยีทั้งแบบสองโหมด และสามโหมด หรือไตรโหมด (Tri-mode) คำว่า ไตรโหมด คือความสามารถทำเทียม มันอาจหมายถึงโทรศัพท์มือถือที่รองรับเทคโนโลยีสองดิจิตอล เช่น ซีดีเอ็มเอ และทีดีเอ็มเอ เช่นเดียวกับอนาล็อก ในกรณีนั่น มันเป็นโทรศัพท์มือถือไตรโหมดของจริง นอกจากนี้มันยังหมายถึงการรองรับเทคโนโลยีดิจิตอลหนึ่งในสองแถบคลื่นความถี่ แล้วยังมีการรองรับแบบอนาล็อกด้วย

 

 

รูปเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ

 

      รุ่นยอดนิยมของโทรศัพท์มือถือประเภทไตรโหมด สำหรับเพื่อคนจำนวนมากที่มีการเดินทางระหว่างประเทศก็มีบริการของ จีเอสเอ็มในแถบคลื่นความถี่ 900 MHz ในโซนยุโรป และเอเชีย ส่วน 1900 MHz สำหรับใช้ในสหรัฐอเมริกา นอกเหนือไปจากการบริการแบบอนาล็อก ในทางเทคนิค โทรศัพท์มือถือโหมดคู่ และเดี่ยวของโหมดเหล่านั้น (จีเอสเอ็ม) ก็ยังรองรับสองแถบคลื่นความถี่ด้วย

 

      แน่นอน ทั้งหมดนี้จะไม่สามารถเป็นไปได้ ถ้าหากปราศจากเสาส่งที่สูง เพื่อทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือจากโทรศัพท์หนึ่งไปยังโทรศัพท์หนึ่ง ซึ่งจะได้กล่าวถึงตอนหน้า

 

 

 

แถมให้

 

เซลลูล่าร์ กับพีซีเอส

 

      การบริการสื่อสารส่วนบุคคล หรือพีซีเอส (Personal Communications Services: PCS) เป็นบริการโทรศัพท์ไร้สายที่คล้ายคลึงกันกับบริการของโทรศัพท์มือถือเซลลูล่าร์ แต่มีการให้ความสำคัญกับการบริการส่วนบุคคล และการเคลื่อนที่ต่อเนื่อง

 

      คำว่าพีซีเอส มักจะใช้แทนด้วย โทรศัพท์มือถือดิจิตอล (Digital cellular) แต่พีซีเอสจริงจะหมายความว่าเป็นบริการอื่น ๆ เช่น เพจจิ้ง (Paging), โทรไอดี (Caller ID) และอีเมล์ จะมีการรวมเข้าใช้บริการ

 

      ในขณะที่โทรศัพท์มือถือที่มีการใช้งานในรถยนต์ พีซีเอสเคยออกแบบมันขึ้นมาใหม่สำหรับผู้ใช้ที่เคลื่อนที่มากขึ้น พีซีเอสมีเซลล์ขนาดเล็ก และดังนั้นจึงต้องมีเสาอากาศจำนวนมาก เพื่อครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ให้บริการ โทรศัพท์พีซีเอส ใช้คลื่นความถี่ระหว่าง 1.85 ถึง 1.99 จิกะเฮิรตซ์ (GHz) (1850 – 1990 MHz)

 

      ในทางด้านเทคนิค ระบบโทรศัพท์มือถือแบบเซลลูล่าร์ ระบบโทรศัพท์มือถือในสหรัฐอเมริกา ทำงานในแถบคลื่นความถี่ 824 - 894 MHz พีซีเอสทำงานในช่วง 1850 – 1990 MHz และขณะที่มันขึ้นอยู่กับทีดีเอ็มเอ พีซีเอสมีระยะห่างระหว่างช่องสัญญาณเป็น 200 kHz และช่องเวลาแปดเท่า แทนที่ปกติช่องระยะห่าง 30 kHz และมีสามเท่าช่องที่พบในโทรศัพท์มือถือดิจิตอล

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“เวลาจะทำอะไรร่วมกับใคร

ให้ดูตอนเขาทำ

อย่าไปดูตอนเขาพูด

เพราะความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่ปาก

แต่อยู่ที่สองมือที่ทำ”

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา