บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 4,658
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 11,936
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 53,136
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,397,633
  Your IP :3.141.41.187

1.3 กระแสไฟฟ้า

 

      หากให้แรงภายนอกที่เหมาะสมมากระทำ จนเกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจากอะตอมที่เป็นประจุลบ ไปยังอะตอมที่เป็นประจุบวก การไหลของอิเล็กตรอนนี้ เรียกว่า กระแสไฟฟ้า (Current: I)

 

 

รูปกระแสไฟฟ้า ก็คือการไหลของอิเล็กตรอนที่มีประจุ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ปริมาณของกระแสไฟฟ้า คือผลรวมของประจุไฟฟ้าที่เกิดจากการเคลื่อนที่อิเล็กตรอนผ่านจุดที่กำหนด อิเล็กตรอนมีประจุขนาดเล็กมาก ดังนั้นประจุจำนวน 6.24 ´ 1018 อิเล็กตรอน จะถูกเรียกว่า คูลอม (Coulomb: C) เมื่อหนึ่งคูลอมมีการเคลื่อนที่ประจุผ่านจุดหนึ่งในหนึ่งวินาที จะเรียกว่า แอมแปร์ (Ampere: A)

 

      คำว่า แอมแปร์ มาจากชื่อของนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งที่ชื่อ อังเดร แมรี แอมแปร์ (André Marie Ampère) (พ.ศ. 2318 - 2379) กระแสไฟฟ้าจะถูกวัดในหน่วยแอมแปร์ (เพื่อเป็นเกียรติประวัติให้กับแอมแปร์)

 

 

รูปวาดอังเดร แมรี แอมแปร์

 

 

1.4 แรงดันไฟฟ้า

 

      เมื่อมีส่วนเกินของอิเล็กตรอน (ประจุลบ) ที่ปลายด้านหนึ่งของตัวนำ เทียบกับปลายด้านตรงข้าม (ประจุบวก)  ก็จะเกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าระหว่างปลายทั้งสอง กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัวนำตลอดเวลา ตราบใดที่สภาวะนี้ยังคงอยู่

 

      เมื่อมันมีการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร นั่นเป็นผลของการเกิด ศักย์ไฟฟ้าที่มีความแตกต่างกัน (Difference of potential) ซึ่งสามารถใช้เครื่องวัด วัดดูได้ที่ปลายทั้งสองด้านของตัวนำ ที่มันเป็นแบบนี้ ก็เนื่องมาจากอิเล็กตรอนมีการเคลื่อนที่ หรือไหลอยู่ภายในวงจร ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปอิเล็กตรอนไหลในวงจร เนื่องมาจากเกิดความแตกต่างกันของศักย์ไฟฟ้า

 

     ความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้า เราเรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้า (Electromotive force: emf) หรือ แรงดันไฟฟ้า (Voltage: E) มันเป็นแรงเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนที่อยู่ในวงจร คิดอีกทางก็คือ แรงดันไฟฟ้าซึ่งเป็นความดัน หรือเป็นการปั๊มเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน

 

 

รูปแรงเคลื่อนไฟฟ้า หรือแรงดันไฟฟ้า

 

      สัญลักษณ์ E ถูกใช้ในอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงแรงดันไฟฟ้า หน่วยวัดแรงดันไฟฟ้านั่นก็คือ โวลต์ (Volt: V) ชื่อโวลต์ ซึ่งได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ เคาท์ อเลสสานโดร โวลตา (Count Alessandro Volta) (พ.ศ. 2288- 2370) เป็นนักประดิษฐ์เซลล์ไฟฟ้าครั้งแรกเพื่อใช้กำเนิดไฟฟ้า

 

 

รูปวาด เคาท์ อเลสสานโดร โวลตา

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

คนที่มีการศึกษาแท้ ๆ

                        1. มีมารยาท              (ศีล)

                        2. นิ่งเป็น                 (สมาธิ)

                        3. รู้จักแก้ปัญหา       (ปัญญา)”

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา