บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 102
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 8,761
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 36,996
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,493
  Your IP :18.118.210.213

3. แรงโน้มถ่วง

 

 

รูปนักโดดร่ม

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      หากทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ล่องลอย ไม่อยู่กับพื้นดิน เราคงไม่จำเป็นต้องศึกษาในเรื่องแรงโน้มถ่วง (Gravity) แต่เพราะวัตถุทุกอย่างที่อยู่ในโลกนี้ ต้องตกลงสู่พื้นโลกเนื่องจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อวัตถุ ซึ่งมันเป็นกฏสากลที่เป็นทั้งจักรวาล ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องศึกษาถึงรายละเอียดของแรงโน้มถ่วง

 

      แรงโน้มถ่วง มีหน้าที่ที่จะทำให้เท้าของคุณติดอยู่กับพื้นตลอดเวลา เพราะว่ามวลของโลกคอยดึงวัตถุด้วยแรงโน้มถ่วงของมัน กับร่างกายของคุณ

 

 

รูปแรงโน้มถ่วงทำให้เราติดกับโลก ไม่ลอยออกไป

 

      ในความเป็นจริง แรงโน้มถ่วงจะมีผลต่อทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีขนาดเล็กสุด ไปจนถึงขนาดใหญ่สุด เช่น ฝุ่นผง ไปจนถึงดวงดาว ไม่ว่าคุณจะไปที่ไหน ไม่ว่าในโลกนี้ หรือดวงดาวอื่น หรือที่ใด ๆ ในจักรวาล คุณจะต้องเจอกับแรงโน้มถ่วง ไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีมวลมาก หรือน้อย ก็จะมีผลต่อแรงโน้มถ่วง ณ สถานที่นั้น ๆ ไม่มากก็น้อยไปด้วย

  

      ระดับที่มีขนาดใหญ่เช่นในจักรวาล แรงโน้มถ่วงได้จัดการให้วัตถุในจักรวาลมีการเคลื่อนที่เป็นรูปแบบวงโคจร และทำให้อนุภาคในอวกาศที่ล่องลอยอยู่ค่อย ๆ ดึงดูดเข้าหากันจนเป็นกลุ่มเป็นก้อนใหญ่ เมื่อเวลาผ่านไปนาน (อาจเป็นล้าน ๆ ปี) กลุ่มอนุภาคเหล่านั้นที่จับตัวกันในที่สุดก็กลายเป็น ดาวเคราะห์ (Planet), ดวงดาว (Stars) และกาแล็กซี่ (Galaxies)

 

 

รูปดาวเคราะห์ ดวงดาว และกาแล็กซี่

 

      ย้อนกลับไปในช่วงศตวรรษที่ 16 เซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir. Isaac Newton) ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงเป็นแรงสากลที่กระทำต่อทุกวัตถุทั้งมวล ตามทฤษฏีของเขา แรงโน้มถ่วง จะมีความสัมพันธ์กันของมวลของวัตถุ และระยะทาง เช่น หากมวลวัตถุมาก ระยะทางใกล้แรงโน้มถ่วงก็จะมาก และถ้าหากมวลน้อย แถมระยะทางที่ไกล แรงโน้มถ่วงก็จะกระทำน้อยลงไปด้วย

 

 

รูปไอแซค นิวตัน

      กฏของนิวตันที่กล่าวในเรื่องแรงโน้มถ่วงสากล ที่ทำเป็นทฤษฏีออกมาโดยไม่มีใครแย้งมานานถึงสามศตวรรษ แต่แล้วในช่วงศตวรรษที่ 19 นักฟิสิกส์ที่ชื่อ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ ได้นำทฤษฏีของเขาก็คือ สัมพัทธภาพเข้ามาอธิบาย จนเรื่องของแรงโน้มถ่วงมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น

 

      ไอนสไตน์ ได้แย้งว่า แรงโน้มถ่วงเป็นไปได้มากกว่าคำว่าแรง มันเป็นเส้นโค้งในมิติที่สี่ของกาล และอวกาศ ในอวกาศเมื่อวัตถุมีมวลเพียงพอ เช่นดวงดาวขนาดใหญ่ วัตถุนั้นจะสามารถทำให้แสงที่ปกติแล้วเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรง มีการโค้งได้ ซึ่งนักดาราศาสตร์ เรียกผลนี้ว่า เลนส์โน้มถ่วง และเป็นสิ่งหนึ่งในวิธีการของการสำรวจปรากฏการณ์ของจักรวาล เช่น หลุมดำ

 

      ในทำนองเดียวกัน หากวัตถุมีแรงโน้มถ่วงน้อย เวลาผ่านไปเร็วขึ้น ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การยืดเวลาของแรงโน้มถ่วง ยกตัวอย่างเช่น นาฬิกาที่ถูกติดตั้งบนดาวเทียมที่โคจรรอบโลกจะมีเวลาเร็วกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับนาฬิกาที่อยู่บนพื้นโลก

 

 

รูปโลก ดาวเทียม กับสนามแรงโน้มถ่วงเวลาสามารถเปลี่ยนแปลงได้

 

      ในขณะที่ทฤษฏีของไอนสไตน์ อธิบายเรื่องแรงโน้มถ่วงที่เร็วขึ้นผ่านฟิสิกส์สมัยใหม่ เรายังคงไม่ทราบในทุกอย่างที่เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง นักวิทยาศาสตร์บางคนระบุที่มาของแรงโน้มถ่วงเพื่อตั้งข้อสันนิษฐานของอนุภาคสมมติ เรียกว่า แกรวิตอน (Gravitons: อนุภาคสมมติมูลฐานทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง แรงของแรงโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฏีสนามควอนตัม) ซึ่งในทฤษฏีบ่งบอกถึงสาเหตุที่ทำให้วัตถุมีการดึงดูด ระหว่างกัน

 

      จากอนุภาคสมมติ แกรวิตอน ในที่สุด ก็ทำให้มีข้อมูลที่จะอธิบายข้อมูลของ แรงโน้มถ่วงควอนตัม (Quantum gravity) ในการที่นักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะประยุกต์รวมกันของสัมพัทธภาพทั่วไป พร้อมกับทฤษฏีควอนตัม

 

      ทฤษฏีควอนตัมที่กล่าวถึงจักรวาล ได้อธิบายในระดับที่เป็นโมเลกุลที่เล็กที่สุด ขอบเขตที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาแบบจำลองมาตรฐานของฟิสิกส์อนุภาค ซึ่งมีรายละเอียดส่วนใหญ่ของการทำงานภายในจักรวาล ยกเว้นอย่างหนึ่ง คือ แบบจำลองมาตรฐานไม่ได้อธิบายในเรื่องของแรงโน้มถ่วง

 

      ดังนั้น ขณะที่ทฤษฏีควอนตัม และสัมพัทธภาพได้ร่วมกันอธิบายส่วนใหญ่ของจักรวาล ในบางครั้งพวกมันก็มีการขัดแย้งกัน เช่น ในเรื่องของการศึกษาหลุมดำ หรือยุคต้นกำเนิดของจักรวาล ซึ่งไม่น่าแปลกใจ นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากยังคงทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้ทฤษฏีออกมาเป็นเอกภาพ

 

      ไม่ว่าทฤษฏีที่เราจะนำมาใช้ในทางที่สุด มันอาจจะยากที่จะกล่าวเกินจริงในความสำคัญของแรงโน้มถ่วง มันเป็นเหมือนกาวที่ยึดทั้งจักรวาลเข้าไว้ด้วยกัน ถึงแม้ว่ามันจะขยับขึ้นมาตอบคำถามเกี่ยวกับจักรวาล

 

 

รูปผลของแรงโน้มถ่วง

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ความสำเร็จ

เกิดจาก อัจฉริยะ 1 ส่วน

ที่เหลืออีก 9 ส่วน เกิดจาก

หยาดเหงื่อ แรงงาน และน้ำตาล้วน ๆ ”

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา