บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,742
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 10,401
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 38,636
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,383,133
  Your IP :3.135.198.49

 

 

รูปการใช้มือผลักกำแพง

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      เราจะใช้เทอมเหล่านี้เพื่อความสะดวกในทุกกรณี แรงกิริยา กับแรงปฏิกิริยาที่กระทำบนวัตถุจะมีทิศทางที่ต่างกัน แต่ต้องเป็นแรงชนิดเดียวกัน เช่น แรงโน้มถ่วง, ไฟฟ้า ฯลฯ 

 

 

รูปแรงโน้มถ่วง โลกที่กระทำกับคน และคนกระทำกับโลก

 

ยกตัวอย่าง แรงกระทำในวัตถุที่ตกอย่างอิสระก็คือแรงโน้มถ่วงของโลก กระทำโดยส่วนโค้งของโลก F12  = FEp  (E = โลก, p = ส่วนโค้งโลก (Projectile)) ส่วนขนาดของแรงนี้ก็คือ mg

 

ปฏิกิริยาของแรงกระทำนี้ก็คือ แรงโน้มถ่วงกระทำจากส่วนโค้งของโลก

 

FpE = -FEp

 

แรงกิริยา FpE ต้องเร่งโลกที่มีต่อส่วนโค้งของแรงกิริยา FEp  เป็นการเร่งส่วนโค้งที่มีต่อโลก เพราะว่าโลกมีมวลมาก ทำให้ความเร่งของมันเนื่องจากแรงปฏิกิริยาจึงมีขนาดเล็ก (เมื่อเทียบกับโลก) มาก ๆ จึงอาจตัดทิ้งได้

 

      มาลองดูคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนโต๊ะในรูปด้านล่าง

 

รูปเปรียบกับตัวอย่างจอคอมพิวเตอร์

 

 

รูป a) เมื่อจอคอมพิวเตอร์วางอยู่บนโต๊ะ แรงกระทำบนตัวจอเป็นแรงปกติ n และแรงโน้มถ่วงของโลก Fg  แรงปฏิกิริยาที่ n  คือ แรง Fmt  ที่กระทำต่อจอบนโต๊ะ ปฏิกิริยา Fg คือแรง FmE กระทำโดยจอคอมพิวเตอร์บนโลก b) แสดงผังไดอะแกรมแรงที่กระทำที่จอคอมพิวเตอร์ c) ผังวัตถุอิสระแสดงจอคอมเป็นจุดสีดำด้วยมีแรงกระทำต่อมัน

 

จากรูป a แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ของแรงที่มีการกระทำหลากหลาย แรงเหล่านี้ที่กระทำบนจอคอมพิวเตอร์ รูป b แรงกิริยาหนึ่งอยู่บนโต๊ะ และอีกแรงกิริยาหนึ่งก็อยู่บนโลก ที่มีทิศทางตรงข้ามกัน แสดงเฉพาะแรงที่กระทำบนวัตถุหนึ่ง

 

      ในการตรวจสอบ เราจะวาดรูปอย่างง่ายขึ้นมาเพื่อดูการกระทำของแรง เราเรียกว่าการวาด ผังไดอะแกรมของแรง (Force diagram) หรือการแสดงผังของแรงบนวัตถุ (Diagram showing the forces on the object) ภาพสำคัญแสดงภาพแทนในรูป c เรียกว่า ผังวัตถุอิสระ (Free-Body Diagram: FBD)

 

 

รูปตัวอย่างการวาดผังวัตถุอิสระ

 

      ในผังวัตถุอิสระ อนุภาคจำลองถูกใช้ในการแสดงถึงวัตถุ ซึ่งแสดงเป็นจุด และมีการแสดงแรงกระทำบนวัตถุที่เป็นจุด ในการวิเคราะห์แรงที่กระทำกับวัตถุ เราจะมุ่งสนใจในแรงสุทธิที่กระทำบนวัตถุนั้น ซึ่งเราจะจำลองให้เป็นอนุภาค เพราะฉะนั้น ผังไดอะแกรมจะช่วยเรา แยกเฉพาะแต่ละแรงที่กระทำบนวัตถุ และกำจัดแรงอื่นไป จากการวิเคราะห์ของเรา

 

 

 

ตัวอย่างที่ 5.3  ผลักฉัน ฉันผลักกลับ

เป็นปัญหาการวิเคราะห์ ผู้ชายร่างใหญ่ และเด็กตัวน้อยที่เผชิญหน้ากันบนพื้นน้ำแข็งที่มีพื้นผิวหยาบฝืด ทั้งสองต่างว่างมือเพื่อจะผลักให้กระเด็นออกจากกัน จงหา

 

ก) ใครจะกระเด็นออกด้วยความเร็วที่มากกว่ากัน

ข) ใครจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่ากัน ในขณะที่มือของทั้งสองยังไม่ผละออกจากกัน

 

 

 

ก) ใครจะกระเด็นออกด้วยความเร็วที่มากกว่ากัน

 

วิธีทำ

 

ก) สถานการณ์นี้เหมือนกันกับคำถาม 5.5 ตามกฎข้อที่สามของนิวตัน แรงที่กระทำจากผู้ใหญ่ไปยังเด็ก และแรงที่จากเด็กกระทำไปยังผู้ใหญ่ คือแรงคู่ที่เป็นไปตามกฎข้อที่สามของนิวตัน ดังนั้นพวกเขาจะมีความเท่าเทียมกันของขนาดแรง

 

      ทีนี้มาดูที่รูปร่าง หรือมวล เด็กที่มีรูปร่างเล็กกว่าเมื่อมีการผลัก จะเจอความเร่งที่มีมากขึ้น เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ที่ผลักพร้อมกัน ความเร่งที่เกิดขึ้นค่ามาก มันส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของพวกเขาที่ปฏิสัมพันธ์กับความเร็วที่เพิ่มขึ้น

 

ดังนั้น เด็กจะกระเด็นออกมาด้วยความเร็วที่มากกว่า      ตอบ

 

 

 

ข) ใครจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่ากันในขณะที่มือของทั้งสองยังไม่ผละออกจากกัน

 

วิธีทำ

 

      เพราะว่าเด็กมีความเร่งที่มากกว่าผู้ใหญ่ ด้วยเหตุนี้ เมื่อความเร่งมากขึ้น ทำให้เด็กเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า ในระหว่างมือยังไม่หลุดออกจากกัน

 

      ดังนั้น เด็กจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า ตอนที่มือยังไม่ผละออกจากัน                                                          ตอบ

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

 

“เด็ก ๆ นอกจากจะต้องเรียนความรู้แล้ว

ยังต้องหัดทำการงาน และทำความดีด้วย

เพราะการทำงานจะช่วยให้มีความสามารถ

มีความขยันอดทนพึ่งตนเองได้

และทำการดีนั้นจะช่วยให้มีความสุขความเจริญ

ทั้งป้องกันตนไว้ไม่ให้ตกต่ำ”

 

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบรมราโชวาท พระราชทานเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๓๐
    

 

ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา