บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 53
เมื่อวาน 1,670
สัปดาห์นี้ 3,641
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 31,876
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,376,373
  Your IP :18.219.236.62

ตัวอย่างที่ 5.9  ชักรอก

 

เมื่อวัตถุสองวัตถุมีมวลไม่เท่ากัน ถูกแขวนในแนวดิ่งบนรอก ไม่คิดถึงแรงเสียดทานของมวล  ดูที่รูป a

 

 

รูป เครื่องแอดวูด a) วัตถุสองตัวต่อกันด้วยเชือกที่ไม่คิดมวลแล้วคล้องกับรอกที่ไม่คิดแรงเสียดทาน b) ผังวัตถุอิสระสำหรับวัตถุทั้งสอง

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

เรียกชุดรอกนี้ว่า เครื่องแอดวูด (Atwood machine)

 

 

รูปตัวอย่างเครื่องแอดวูด

 

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อทำการคำนวณค่าของ g คำนวณขนาดของความเร่งของวัตถุทั้งสอง และความตึงในเชือก

 

 

วิธีทำ

 

กรอบความคิด:   นึกถึงภาพสถานการณ์ที่ใช้งานดังภาพ a ที่วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่ขึ้น และอีกวัตถุหนึ่งเคลื่อนที่ลง เพราะวัตถุมีการเชื่อมต่อกันโดยสายเชือก การเคลื่อนที่ทำให้ขนาดความเร่งทั้งสองเท่ากัน

 

แบ่งประเภทหมวดหมู่: วัตถุในเครื่องแอดวูด มีแรงโน้มถ่วง และแรงกระทำจากสายเชือกที่ต่อกันอยู่ ดังนั้นเราสามารถจัดหมวดหมู่ปัญหานี้เป็นอนุภาคทั้งสองวัตถุที่อยู่ภายใต้แรงกระทำ

 

การวิเคราะห์: ผังวัตถุอิสระสำหรับวัตถุทั้งสองที่แสดงในรูป b แรงสองแรงกระทำในแต่ละวัตถุ แรงขึ้น T ด้วยเชือก และแรงลงด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก ในปัญหาเช่นนี้ รอกถูกจำลองให้ไม่มีแรงเสียดทาน และไม่มีมวล ความตึงในเชือกทั้งสองด้านของพูลเลย์เหมือนกัน หากพูลเลย์มีมวล หรือมีแรงเสียดทานความตึงเชือกด้านใดด้านหนึ่งจะไม่เหมือนกัน และสถานการณ์เช่นนี้จะต้องใช้เทคนิคที่จะได้เรียนรู้ในบทที่ 10

 

      เราต้องระวังเรื่องการใช้เครื่องหมายในปัญหานี้ ในรูป a หากวัตถุหนึ่งมีความเร่งขึ้นข้างบน วัตถุ 2 มีความเร่งลงล่าง เพราะฉะนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับเครื่องหมาย ถ้าเรากำหนดทิศทางขึ้นเป็นบวกสำหรับวัตถุที่ 1 แล้วเราต้องกำหนดทิศทางลงเป็นบวกสำหรับวัตถุที่ 2 ด้วยเครื่องหมายนี้ในสองวัตถุ ความเร่งในทิศทางเดียวกันกำหนดโดยการเลือกเครื่องหมาย นอกจากนี้ เครื่องหมายที่เราตกลง ในส่วนประกอบของ y ของแรงที่กระทำต่อวัตถุ 1 เป็น T – m1g และส่วนประกอบ y ของแรงกระทำในวัตถุ 2 เป็น m2g – T

 

ใช้กฎข้อที่สองของนิวตันที่วัตถุที่ 1

 

SFy= T – mg = m1ay               (1)

 

ใช้กฎข้อที่สองของนิวตันที่วัตถุที่ 2

 

SFy= m2g – T = m2ay              (2)

 

นำสมการที่ (2) บวกกับสมการ (1) เพื่อเอา T ออก จะได้

 

– m1g + m2g = m1ay+ m2ay

 

แก้สมการเพื่อจะหาความเร่ง

 

ay = ((m2– m1)/( m1 + m2))g         (3)

 

แทนสมการ (3) ไปที่สมการ (1) เพื่อหาค่า T

 

T = m1(g+ay)

 

              = ((2m1m2)/( m1 + m2))g              (4)          ตอบ

 

ท้ายสุด:  ความเร่งที่ให้โดยสมการ (3) สามารถตีความได้ว่าเป็นอัตราส่วนของขนาดของแรงที่ไม่สมดุลของระบบ (m2 m1)g เพื่อการรวมมวลของระบบ (m1+ m2)  ตามที่ได้คาดไว้จาก กฎข้อที่สองของนิวตัน สังเกตว่าเครื่องหมายของความเร่งขึ้นอยู่กับมวลที่สัมพันธ์กันของวัตถุทั้งสอง   

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ผมชอบคิดการใหญ่

ถ้าคุณคิดจะเริ่มทำอะไรก็ตาม

คุณก็อาจจะคิดการใหญ่ด้วยเหมือนกัน

I like thinking big.

If you’re going to be thinking anything,

you might as well THINK BIG.

Donald Trump

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา