บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,058
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,717
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,952
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,382,449
  Your IP :18.226.96.61

5.8 แรงเสียดทาน

 

      เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ มันต้องสัมผัสกับพื้นผิวที่เคลื่อนที่ไป ขณะที่มันกำลังถู หรือเคลื่อนที่ผ่านผิวที่เคลื่อน มันจะมีตัวกลางระหว่างผิวที่สัมผัสซึ่งมีมากมาย อาทิเช่น เคลื่อนที่ที่มีตัวกลางเป็น หรือในน้ำ

 

      และมันก็จะเกิดความต้านทานต่อการเคลื่อนที่ อันเนื่องจากวัตถุมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม เราเรียกความต้านทานดังกล่าวว่า แรงเสียดทาน (Force of friction)

 

 

รูปการเคลื่อนที่จะมีแรงเสียดทานเกิดขึ้นเสมอ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

      แรงเสียดทานมีความสำคัญมากในชีวิตประจำวันของเรา มันช่วยให้เราเดิน หรือวิ่งได้ และมีความจำเป็นสำหรับการเคลื่อนที่ของยานพาหนะที่มีล้อ

 

รูปตัวอย่างการเข็นรถที่มีแรงเสียดทานในการเคลื่อนที่ จึงต้องออกแรงเข็นเพื่อเอาชนะแรงเสียดทาน

 

 

 

5.8.1 แรงเสียดทานสถิต

 

      ลองจินตนาการว่าคุณกำลังทำงานอยู่ในสวน และพื้นหญ้ามีแต่เศษขยะในสนาม จากนั้นคุณลองลากถังขยะไปให้ทั่วพื้นผิวลานคอนกรีตของคุณ ดูที่รูป

 

 

รูป การลากดึงถังขยะ ทิศทางของแรงเสียดทาน f ระหว่างผิวขรุขระเป็นทิศทางตรงกันข้ามกับแรงที่ใช้ลากดึง F

 

 

c) กราฟแสดงแรงเสียดทานกับแรงกระทำ สังเกตว่า fs max > fk

 

 

พื้นผิวนี้เป็นของจริง ไม่ใช่พื้นผิวที่ไม่มีการเสียดทาน ถ้าเราใช้แรงผลัก F ไปที่ถังขยะกระทำไปทางด้านขวา ถังขยะจะยังคงอยู่เฉยหากว่าแรงที่ผลักมีไม่มากพอ แรงในตัวถังขยะสามารถต่อต้านแรงผลัก F ได้  

 

      และแรงที่ถังขยะต้านแรงผลักที่ทำให้ถังยังไม่เคลื่อนที่นั้น มันมีทิศทางไปทางซ้ายสวนทางกับแรงผลัก เราเรียกว่า แรงเสียดทานสถิต (Force of static friction: fs) ตราบใดที่ถังขยะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ แรงผลักกับแรงต้านจะเท่ากันดังสมการด้านล่าง

 

แรงที่ผลัก เท่ากับ แรงเสียดทานสถิต

F = fs

 

เพราะฉะนั้น หากเพิ่มแรง F เข้าไปที่ถัง แรง fs ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทำนองเดียวกัน หากลดแรง F ลงไป แรง fs ก็ลดลงเช่นเดียวกัน (ถังขยะไม่เคลื่อนที่นะ)

 

      การทดลองนี้ แสดงให้เห็นว่า แรงเสียดทานเกิดจากคุณลักษณะของสองพื้นผิว เพราะว่ามันมีความขรุขระของผิว การสัมผัสพื้นผิว จะโดนไม่กี่ยอดของพื้นผิวของวัสดุที่สัมผัส ที่ตำแหน่งเหล่านี้ แรงเสียดทานเกิดขึ้นในส่วนหนึ่ง

 

      เพราะจุดสูงสุดของพื้นผิวของวัสดุ จะบล็อกหยุดการเคลื่อนที่ของจุดสูงสุดของผิวที่เป็นฝ่ายตรงข้าม และส่วนหนึ่งมาจากพันธะเคมี จุดเชื่อม (spot welds) ของยอดตรงข้ามที่พวกมันได้สัมผัส

 

รูปถ้าจะให้ลังไม้เคลื่อนที่จะต้องออกแรงในการดันกล่อง เพราะมันมีความฝืด จากผิวที่ขรุขระ

 

      แม้ว่ารายละเอียดของแรงเสียดทานจะค่อนข้างซับซ้อนในระดับอะตอม และแรงนี้ก็เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ทางเคมีระหว่างอะตอม หรือโมเลกุลอีกด้วย

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

เวลา

อาจจะไม่มีปาก

แต่มันสามารถบอกอะไรได้ดีกว่า

คำพูด

 

 

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา