บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 86
เมื่อวาน 1,484
สัปดาห์นี้ 5,932
สัปดาห์ก่อน 18,479
เดือนนี้ 5,932
เดือนก่อน 62,658
ทั้งหมด 4,413,087
  Your IP :18.224.0.25

บทที่ 4 การเคลื่อนที่ในสองมิติ

 

 

รูปตัวอย่างการเคลื่อนที่ในสองมิติ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

รูปการเคลื่อนที่ในสองมิติ

      ในบทนี้ เราจะได้เรียนรู้จลศาสตร์ของการเคลื่อนที่ในสองมิติของอนุภาค ความรู้พื้นฐานของการเคลื่อนในสองมิติ จะช่วยให้เรา เข้าใจในบทต่อ ๆ ไปที่จะกล่าวถึงในอนาคต เพื่อทำการตรวจสอบความหลากหลายของสถานการณ์ ตั้งแต่การเคลื่อนที่ไปตามของวงโคจรของดาวเทียม ไปจนถึงการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในสนามไฟฟ้าที่สม่ำเสมอ

 

      เราจะเริ่มต้นการศึกษาถึงรายละเอียดที่มากขึ้น เกี่ยวกับธรรมชาติของเวกเตอร์ในด้าน ตำแหน่ง, ความเร็ว และความเร่ง เราจะได้ศึกษาการเคลื่อนที่แบบวิถีโค้ง และการเคลื่อนที่วงกลม ซึ่งเป็นกรณีพิเศษของการเคลื่อนที่ในสองมิติ

 

 

รูปตัวอย่างการเคลื่อนที่ในสองมิติ

 

      นอกจากนี้ เราจะได้เรียนรู้แนวคิดของการเคลื่อนที่ที่สัมพันธ์กัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้สังเกตการณ์อยู่ในกรอบที่ต่างกันของอนุภาคจากการอ้างอิงการ วัดจากระยะตำแหน่ง และความเร็วที่ต่างกัน

 

 

4.1  เวกเตอร์ ตำแหน่ง, ความเร็ว และความเร่ง

 

      ในบทที่ 2 เราพบว่าการเคลื่อนที่ของอนุภาคตลอดเส้นตรง เช่น เคลื่อนที่ในแนวแกนเอ็กซ์ ที่รู้จักกัน ถ้าตำแหน่งของมันเคลื่อนที่เป็นฟังชันก์ของเวลา เมื่อเรานำมากล่าวในบทนี้ แทนที่มันจะเคลื่อนที่ไปตามแกนเอ็กซ์อย่างเดียว มันมีการเคลื่อนที่ของอนุภาค ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปตามแกนวายด้วย

 

 

รูปการเคลื่อนที่ในสองมิติไปตามแกนเอ็กซ์ และวาย

 

      เราเริ่มต้นด้วยการอธิบาย ตำแหน่งของอนุภาคด้วย เวกเตอร์ตำแหน่ง (Position vector:) ลากจากจุดกำเนิดเริ่มต้น ของบางระบบพิกัด ไปถึงตำแหน่งของอนุภาคที่อยู่ในระนาบเอ็กซ์ วาย

 

 

รูปการเคลื่อนที่ของอนุภาคในระนาบเอ็กซ์ วาย เป็นตำแหน่งที่พร้อมกับ เวกเตอร์ตำแหน่ง ที่ลากจากจุดกำเนิดไปถึงอนุภาค ระยะขจัดของอนุภาคคือการเคลื่อนที่จากจุด A ไปที่ B ในช่วงเวลา Dt = tf - ti เท่ากับที่ เวกเตอร์ระยะขจัด = เวกเตอร์ตำแหน่งสุดท้าย – เวกเตเอร์ตำแหน่งเริ่มต้น  -    

 

      ซึ่งในรูปด้านบน ณ เวลา ti อนุภาคที่จุด A อธิบายโดยเวกเตอร์ตำแหน่งอาร์ไอ .ในเวลาต่อมา tf มันก็เคลื่อนที่ไปที่ตำแหน ตำแหน่ง B อธิบายได้โดยเวกเตอร์ตำแหน่งอาร์เอฟ   

 

      เส้นทางจาก A ไปถึง B ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเส้นตรง ซึ่งการเคลื่อนที่ของอนุภาคจาก A ไปถึง B ในช่วงเวลา Dt = tf - ti เวกเตอร์ตำแหน่งของมันเปลี่ยนแปลงไปจากอาร์ไอ  ไปถึงอาร์เอฟ  

 

      ซึ่งเราสามารถกลับไปทวนความจำได้ในบทที่ 2 ระยะขจัดคือเวกเตอร์ และระยะขจัดของอนุภาคมีความแตกต่างระหว่างตำแหน่งสุดท้าย กับตำแหน่งเริ่มต้นของมัน ตอนนี้เรากำหนดให้เป็น เวกเตอร์ระยะขจัด (Displacement vector: ) สำหรับอนุภาคหนึ่ง เช่น ในรูปด้านบน ในฐานะที่มีความแตกต่างระหว่างเวกเตอร์ตำแหน่งสุดท้าย กับเวกเตอร์ตำแหน่งเริ่มต้นของมัน สมการเป็นดังนี้

 

 

รูปคำอธิบาย และสมการที่ 4.1

 

ทิศทางของเวกเตอร์ระยะขจัด  ซึ่งเราสามารถเห็นจากรูปภาพ ดูได้ในรูปด้านล่าง

 

 

รูปการเคลื่อนที่ของอนุภาคในระนาบเอ็กซ์ วาย เป็นตำแหน่งที่พร้อมกับ เวกเตอร์ตำแหน่ง ที่ลากจากจุดกำเนิดไปถึงอนุภาค ระยะขจัดของอนุภาคคือการเคลื่อนที่จากจุด A ไปที่ B ในช่วงเวลา Dt = tf - ti เท่ากับที่ เวกเตอร์ระยะขจัด = เวกเตอร์ตำแหน่งสุดท้าย – เวกเตเอร์ตำแหน่งเริ่มต้น  -   (รูปซ้ำด้านบน)

 

ขนาดของเวกเตอร์ระยะขจัด  (เส้นตรง) มีค่าน้อยกว่าระยะทางการเคลื่อนที่ของอนุภาคตามเส้นโค้ง

 

      บางอย่างเราเคยศึกษามาแล้วในบทที่ 2 เช่น เราจะหาปริมาณการเคลื่อนที่ ได้โดยที่ระยะขจัดหารด้วยช่วงเวลา ในระหว่างที่ระยะขจัดเกิดขึ้นจะช่วยให้เกิดอัตราของการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งในสองมิติ (หรือในสามมิติ)

 

      จลศาสตร์ในสอง หรือสามมิติจะมีความคล้ายกันกับจลศาสตร์หนึ่งมิติ แต่เราจะต้องใช้เครื่องหมายเวกเตอร์เต็มรูปแบบที่มันจะมีมากกว่าเครื่องหมายบวก และลบ เพื่อระบุทิศทางของการเคลื่อนที่

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“วิธีที่ดีที่สุดในการทำนายอนาคต ก็คือ

การสร้างมันขึ้นมาเอง”

อลัน เคย์

ผู้บุกเบิกการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

อินเตอร์เฟซผู้ใช้แบบกราฟิก วินโดว์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา