บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,540
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 8,645
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 71,571
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,339,458
  Your IP :3.218.247.159

5.5 แรงโน้มถ่วง และน้ำหนัก

 

      สสาร หรือวัตถุทั้งหมดในโลกนี้ จะถูกโลกดึงดูดเอาไว้ด้วย แรงดึงดูด (Attractive force) ไม่ว่าจะมาก หรือน้อยที่โลกมีแรงกระทำต่อวัตถุ เราเรียกว่า แรงโน้มถ่วง (Gravitational force: ) แรงนี้มีทิศทางมุ่งไปยังศูนย์กลางของโลก และขนาดของวัตถุ เรียกว่า น้ำหนัก (Weight) ของวัตถุ

 

 

รูปแรงโน้มถ่วงที่โลกกระทำต่อสสารทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

            เราได้อ่านมาแล้วในหัวข้อ 2.6 วัตถุที่ตกอย่างอิสระเป็นจะมีความเร่ง g ที่ทำให้วัตถุตกไปยังศูนย์กลางของโลก (เรามีผืนดินคั่นรองรับเอาไว้ จึงไม่ไปสู่กลางโลก)

     

      ทีนี้เราจะทำการประยุกต์กฎข้อที่สองของนิวตันจาก SF = ma แปลงจากการที่วัตถุมวล m ตกอย่างอิสระ ที่มีค่า a = g และ SF = Fg ก็จะได้

 

Fg = mg                               (5.6)

 

กำหนดให้   Fg = แรงโน้มถ่วง

                g = ความเร่งโน้มถ่วงของโลก

                m = มวลของวัตถุ

 

ข้อควรรู้: เราคุ้นเคยกับในชีวิตประจำวันว่า น้ำหนักของวัตถุ (Weight of an object) ความหมายนี้ว่ามันหมายถึงอย่างไร มันไม่ได้เป็นคุณสมบัติโดยธรรมชาติของวัตถุ แต่มันเป็นเพียงตัวชี้วัดของแรงโน้มถ่วงระหว่างวัตถุ กับโลก (หรือ เมื่อเทียบกับอื่น ๆ ในจักรวาล) เพราะฉะนั้น น้ำหนัก จึงเป็นคุณสมบัติของระบบ ในระหว่างวัตถุกับวัตถุ เช่น วัตถุ กับโลก

 

ข้อควรรู้: กิโลกรัม ไม่ใช่หน่วยของน้ำหนัก คุณทราบว่า 1 กิโลกรัม = 2.2 ปอนด์ แม้ปัจจุบันจะมีผูนิยมกล่าวถึงน้ำหนักเป็นกิโลกรัมซะส่วนมาก แต่กิโลกรัมก็ไม่ใช่หน่วยของน้ำหนัก มันเป็นหน่วยของมวล (หน่วยของน้ำหนักก็คือ นิวตัน หน่วยของมวลก็คือ กิโลกรัม) การแปลงหน่วยจะไม่เท่ากัน มันเป็นความสมดุลที่ถูกต้องเพียงแค่อยู่บนพื้นโลกเท่านั้น เพราะมันจะขึ้นอยู่แรงโน้มถ่วงของสถานที่นั้น ๆ  

 

            เพราะว่า มันขึ้นอยู่กับค่าโน้มถ่วง หรือจี (Gravity: g) น้ำหนักจะแปรเปลี่ยนไปตามตำแหน่งภูมิศาสตร์ ค่าจีจะน้อยลงถ้ายิ่งอยู่ไกลจากศูนย์กลางของโลก (ยิ่งบินไปบนอากาศสูงเท่าไหร่ ค่าจีจะน้อยลงตาม) น้ำหนักของวัตถุจะน้อยเมื่อระยะความสูงมากขึ้นเมื่อเทียบกับระดับน้ำทะเล

 

รูปยิ่งสูงยิ่งหนาวไม่พอ ค่าจีที่กระทำต่อเราจะน้อยลงไปด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

 

เป็นความจริงอยู่โดยธรรมดา

ที่บุคคลในสังคมนั้น ย่อมมีอัชฌาสัยจิตใจ

แตกต่างเหลื่อมล้ำกันเป็นหลายระดับ 

ขึ้นอยู่กับพื้นฐานภูมิธรรมของตน

บางคนก็มีความคิดจิตใจสูง

มีความประพฤติปฏิบัติดีงาม 

เป็นคุณเป็นประโยชน์อยู่แล้วเป็นปกติ

แต่บางคนไม่สามารถจะทำเช่นนั้นได้

เพราะยังไม่เห็นคุณค่าของการปฏิบัติดี 

จึงมักก่อปัญหาให้เกิดแก่สังคม

คนเรานั้น สำคัญอยู่ที่

ควรจะได้ปรารภปรารถนาที่จะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นเป็นลำดับ 

เพื่อให้ชีวิตเป็นสุข และเจริญรุ่งเรือง

 

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในพิธีเปิดการประชุม
ยุวพุทิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ ๑๖   ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๔ 

 

 

ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา