บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 485
เมื่อวาน 1,431
สัปดาห์นี้ 485
สัปดาห์ก่อน 18,479
เดือนนี้ 60,164
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,404,661
  Your IP :18.220.137.164

31 บทที่ 5 เหล็กกล้า

 

ภาค 3

 

โลหะวิทยาเกี่ยวกับเหล็ก

 

บทที่ 5 เหล็กกล้า

     

      เหล็กเป็นวัสดุที่มีการใช้งานกันมากที่สุดในโลก เพราะมันมีความแข็งแกร่งสูง มีความสามารถนำมา กลึง กัด ไส (Machinability) เพื่อเปลี่ยนรูปร่างได้ง่าย และมีราคาที่ไม่แพงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุประเภทอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพเหมือนกัน

 

รูปความสามารถในการนำไปกลึงได้ของเหล็กกล้า

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

5.1 ส่วนประกอบของเหล็กกล้า

 

รูปผลิตภัณฑ์เหล็กกล้า

 

      เหล็กกล้า (Steel) เป็นวัสดุที่ประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก (Iron: Fe (Ferrous)) ที่เป็นสารตั้งต้นพื้นฐาน แล้วก็มีการนำธาตุต่าง ๆ มาผสมลงไปในเนื้อเหล็ก โดยทั่วไปแล้วในเหล็กกล้าจะมีธาตุเหล็กอยู่มากกว่า 90% ที่เหลือจะเจือผสมกับธาตุอื่น ๆ เช่น โมลิบดีนัม, นิเกิล, แมงกานีส ฯลฯ 

 

      ส่วนเหล็กกล้าคาร์บอนจะมีธาตุเหล็กอยู่สูงถึง 99% ที่เหลือจะเป็น คาร์บอน (Carbon) และอาจมีธาตุอื่น ๆ ผสมเจืออยู่เล็กน้อยในเนื้อเหล็กกล้า เหล็กกล้าคาร์บอนนั้นธาตุที่เป็นหลักก็คือเหล็ก และคาร์บอน โดยเปอร์เซ็นต์ของคาร์บอนที่ไปผสม จะมีค่าอยู่ที่ระหว่าง 0-2% แต่ที่พบโดยส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะมีคาร์บอนที่ประมาณ 0.15-1.0%

 

      เหล็กกล้าที่มีคาร์บอนผสมอยู่น้อยจะมีความยืดหยุ่น (ความเหนียว) มากกว่า เหล็กกล้าที่มีคาร์บอนผสมอยู่มาก แต่ถ้ามีคาร์บอนผสมลงไปในเนื้อเหล็กมากเท่าไหร่ ก็ทำให้เหล็กเกิดความเปราะมากยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้น จะพบว่าเมื่อผสมคาร์บอนเติมเข้าไปในเหล็ก ทำให้เหล็กมีผลต่อความแข็งแกร่ง, ความแข็ง และความเปราะของเหล็ก

 

 รูปเหล็กรูปพรรณทำจากเหล็กกล้าผสมคาร์บอน

 

      เมื่อมีการผลิตเหล็ก ธาตุเหล็กจะผสมกับคาร์บอน คาร์บอนจะแทรกซึมเข้าไปในธาตุเหล็ก ผลที่ได้ก็จะเป็นโลหะผสมที่เรียกว่า เหล็กกล้า คาร์บอนจะผสมอยู่ในเนื้อธาตุเหล็ก เป็นสีดำเล็ก ๆ มีรูปร่างต่าง ๆ ดังในรูป มีคาร์บอนผสมในธาตุเหล็กมีค่ามากสุดประมาณ 2%

 

รูปโครงสร้างทางจุลภาคของเหล็กกล้า ASTM A36 สีดำคือคาร์บอนที่แซมอยู่ในเนื้อเหล็ก

 

5.2 ระบบเรียกชื่อเหล็กกล้า

 

      เหล็กกล้ามีอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งขึ้นอยู่กับการผสมธาตุ และกรรมวิธีการผลิต ดังนั้นเรามีความจำเป็นที่จะต้องจำแนกเหล็กออกเป็นชื่อเรียกต่าง ๆ กัน ซึ่งในปัจจุบันมีสถาบันที่ทำงานเกี่ยวกับโลหะมากมาย ยกตัวอย่างเช่น

 

·       สถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าของอเมริกา (American Iron and Steel Institute: AISI)

 

เว็บไซต์สถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าของอเมริกา

 

·       สมาคมการทดสอบ และวัสดุของอเมริกา (American Society for Testing and Materials: ASTM)

 

เว็บไซต์ สมาคมการทดสอบ และวัสดุของอเมริกา

 

·       สมาคมวิศวกรยานยนต์อเมริกา (Society of Automotive Engineers: SAE)

 

เว็บไซต์ สมาคมวิศวกรยานยนต์อเมริกา

 

·       สมาคมวิศวกรเครื่องกลอเมริกา (American Society of Mechanical Engineers: ASME)

 

เว็บไซต์ สมาคมวิศวกรเครื่องกลอเมริกา

 

·       สถาบันมาตรฐานของเยอรมัน (Deutsches Institut für Normung: DIN)

 

เว็บไซต์ สถาบันมาตรฐานของเยอรมัน

 

·       คณะกรรมการมาตรฐานอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards Committee: JISC) หรือ JIS เดิม

 

เว็บไซต์ คณะกรรมการมาตรฐานอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น

 

·       ส่วนของไทยก็มีคือ สำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. (Thai Industrial Standards Institute: TISI)

 

เว็บไซต์ สำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

 

·       ฯลฯ

 

องค์กรเหล่านี้กำหนดรายละเอียดของเหล็กกล้าเอาไว้ แตกต่างกันไป

 

      การจำแนกเหล็กออกเป็นประเภทเราเรียกว่า ระบบเรียกชื่อเหล็กกล้า (Steel number system) คือระบบการแบ่งเหล็กกล้าออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยเหล็กกล้าจะถูกเรียกเป็นตัวเลข ในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงระบบเรียกชื่อเหล็กกล้าเป็นแบบ AISI และ SAE เป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น

 

AISI/SAE 1121

 

อธิบาย

ตัวอักษรด้านหน้าเป็นการเรียกชื่อเหล็กตามมาตรฐานในที่นี้ก็คือ สถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าของอเมริกา และสมาคมวิศวกรยานยนต์อเมริกา ส่วนตัวเลขปกติแล้วจะมีตัวเลขอยู่สี่ตัว โดยตัวเลขสองอันดับแรกแสดงถึงสารที่นำมาเจือปน และตัวเลขอีกสองตัวหลังด้านท้าย (มีอยู่บางประเภทจะมีอยู่สามตัวเลข) แสดงถึงเปอร์เซ็นต์ของคาร์บอนภายในเนื้อเหล็กกล้า

 

ยกตัวอย่างเช่น AISI/SAE 1020

 

o  เป็นไปตามมาตรฐานของ AISI หรือ SAE

 

o  ตัวเลขแรก (1) บอกถึงมีคาร์บอนผสมอยู่

 

o  ตัวเลขลำดับที่สอง (0) ก็คือไม่มีธาตุอื่นผสมอยู่มีเพียงคาร์บอนเท่านั้น

 

o  ตัวเลขสองตัวสุดท้าย (20) เหล็กกล้าที่มีคาร์บอนผสมอยู่ประมาณ 0.20%

 

 

ตัวอย่าง   AISI/SAE 4340

 

o  เป็นไปตามมาตรฐานของ AISI หรือ SAE

 

o  ตัวเลขสองตัวแรก (43) ก็คือ เหล็กกล้ามีการผสม นิกเกิล-โครเมียม-โมลิบดีนัม

 

o  ตัวเลขสองตัวหลัง (40) มีคาร์บอนเป็นส่วนผสมมีค่าประมาณ 0.4%

 

 

ระบบเรียกชื่อเหล็กกล้าที่แสดงในตารางที่ 5.1

 

ระบบเรียกชื่อเหล็กกล้า

ตัวเลขที่แสดงตามมาตรฐานตาม

AISI-SAE

ชื่อเรียกเหล็กกล้า

และ

จำนวนธาตุที่ผสมเจือในเหล็กกล้า (%)

เหล็กกล้าผสมคาร์บอน(Carbon steels)

10xx

คาร์บอนธรรมดา (Plain Carbon), ผสมแมงกานีส (Mn) สูงสุด 1 %

11xx

เติมกำมะถันอิสระเพื่อนำไปใช้ในงานเครื่องกล (Resulfurized)

12xx

เติมกำมะถัน/ ฟอสฟอรัสอิสระเพื่อนำไปใช้ในงานเครื่องกล (Resulfurized and rephosphorized)

15xx

คาร์บอนธรรมดา, แมงกานีส 1.00-1.65%

เหล็กกล้าผสมแมงกานีส (Manganese steel)

13xx

แมงกานีส 1.75%

เหล็กกล้าผสมนิเกิล (Nickel steels)

23xx

นิกเกิล (Ni) 3.50%

25xx

นิกเกิล  5.00%

เหล็กกล้าผสมนิเกิล-โครเมียม (Nickel-chromium steel)

31xx

นิกเกิล  1.25%, โครเมียม (Cr) 0.65-0.80%

32xx

นิกเกิล  1.75%, โครเมียม 1.07%

33xx

นิกเกิล  3.50%, โครเมียม 1.50-1.57%

34xx

นิกเกิล  3.00%, โครเมียม 0.77%

เหล็กกล้าผสมโมลิบดีนัม (Molybdenum steels)

40xx

โมลิบดีนัม (Mo) 0.20-0.25%

44xx

โมลิบดีนัม (Mo) 0.40-0.52%

เหล็กกล้าผสมโครเมียม-โมลิบดีนัม (Chromium-molybdenum steels)

41xx

โครเมียม 0.50-0.95%, โมลิบดีนัม 0.12-0.30%

เหล็กกล้าผสมนิเกิล-โครเมียม-โมลิบดีนัม (Nickel-chromium-molybdenum steels)

43xx

นิกเกิล  1.82%, โครเมียม 0.50-0.80%, โมลิบดีนัม 0.25%

43BVxx

นิกเกิล 1.82%; โครเมียม 0.50%; โมลิบดีนัม 0.12%, 0.25%; วาเนเดียม (Vanadium: V) ต่ำสุด 0.03%

47xx

นิกเกิล  1.05%, โครเมียม 0.45%, โมลิบดีนัม 0.20-0.35%

81xx

นิกเกิล 0.30%, โครเมียม 0.40%, โมลิบดีนัม 0.12%

86xx

นิกเกิล 0.55%, โครเมียม 0.50%, โมลิบดีนัม 0.20%

87xx

นิกเกิล 0.55%, โครเมียม 0.50%, โมลิบดีนัม 0.25%

88xx

นิกเกิล 0.55%, โครเมียม 0.50%, โมลิบดีนัม 0.35%

93xx

นิกเกิล 3.25%, โครเมียม 1.20%, โมลิบดีนัม 0.12%

94xx

นิกเกิล 0.45%, โครเมียม 0.40%, โมลิบดีนัม 0.12%

97xx

นิกเกิล 1%, โครเมียม 0.20%, โมลิบดีนัม 0.20%

98xx

นิกเกิล 1.00%, โครเมียม 0.80%, โมลิบดีนัม 0.25%

เหล็กกล้าผสมนิกเกิล-โมลิบดีนัม (Nickel -molybdenum steels)

46xx

นิกเกิล  0.85-1.82%, โมลิบดีนัม 0.20-0.25%

48xx

นิกเกิล  0.35%, โมลิบดีนัม 0.25%

เหล็กกล้าผสมโครเมียม (Chromium steels)

50xx

โครเมียม 0.27, 0.40, 0.50, 0.65%

51xx

โครเมียม 0.80, 0.87, 0.92, 0.95, 1.00, 1.05%

50xxx

โครเมียม 0.50%, คาร์บอน (C) ต่ำสุด 1.00%

51xxx

โครเมียม 1.02%, คาร์บอน ต่ำสุด1.00%

52xxx

โครเมียม 1.45%, คาร์บอน ต่ำสุด 1.00%

เหล็กกล้าผสมโครเมียม-วาเนเดียม (Chromium-vanadium steels)

61xx

โครเมียม 0.60, 0.80, 0.95%, วาเนเดียม (V) 0.10-0.15%

เหล็กกล้าผสมทังสเตนโครเมียม (Tungsten-chromium steels)

72xx

วุลแฟรม (W) 1.75%, โครเมียม 0.75%

เหล็กกล้าผสมซิลิกอนแมงกานีส (Silicon-manganese steels)

92xx

ซิลิกอน (Si) 1.40-2.00%, แมงกานีส 0.65, 0.82, 0.85%, โครเมียม 0-0.65%

เหล็กกล้าผสมต่ำ แข็งแกร่งสูง

9xx

เกรด SAE ต่าง ๆ

เหล็กกล้าผสมโบรอน

xxBxx

หมายถึงเหล็กกล้าผสมโบรอน (Boron)

เหล็กกล้าผสมตะกั่ว

xxLxx

หมายถึงเหล็กกล้าผสมตะกั่ว (Lead)

ตารางที่ 5.1 แสดงส่วนเจือผสมในเหล็กกล้ากำหนดเป็นตัวเลขสองอันดับแรก

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

ไม่มีสิ่งใด ๆ ในโลกที่ดีหรือเลว มีแต่ความคิดของเราเท่านั้นที่ทำให้เกิดความดีและความเลว

 

W.Shakespeare

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา