บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,085
เมื่อวาน 1,484
สัปดาห์นี้ 6,931
สัปดาห์ก่อน 18,479
เดือนนี้ 6,931
เดือนก่อน 62,658
ทั้งหมด 4,414,086
  Your IP :18.219.14.63

63 บริเวณการเปลี่ยนรูป อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง กับคุณสมบัติทางกล การปรับปรุงความแข็งให้ดีขึ้น จบบทที่ 9

 

9.6 บริเวณการเปลี่ยนรูป

 

      เกิดคุณสมบัติขึ้นเป็นจำนวนมากมาย ในบริเวณต่าง ๆ ของไดอะแกรมเหล็ก-คาร์บอน ซึ่งได้อธิบายมาจากหัวข้อที่ผ่านมาแล้ว บริเวณเหล่านี้จะถูกแบ่งเป็นขอบเขตเป็นชั้น ในโครงสร้างของเหล็กกล้าเมื่อเหล็กถูกทำให้ร้อน หรือเย็น

 

      จุดยูเทคทอยด์ (Eutectoid point) เป็นจุดที่บรรจบกันของ 3 แนวเส้นได้แก่ แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง, แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านต่ำ และเส้นเพิลไลต์บริสุทธิ์ (ที่คาร์บอน 0.8%) ที่บรรจบพบกันดังรูปด้านล่างของไดอะแกรมเหล็ก-คาร์บอน 

 

 

รูปเฟสไดอะแกรมเหล็ก-คาร์บอน ที่แสดงให้เห็นจุดยูเทคทอยด์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      บริเวณที่มีการพบกันของทั้ง แนวเส้นอุณหภูมิของการเปลี่ยนรูปด้านสูง-ต่ำ  จะเห็นว่าพื้นที่ทั้งสองมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมเป็นบริเวณที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นเหล็กโครงสร้างเฟอร์ไรต์, เพิลไลต์, ซีเมนต์ไต เปลี่ยนไปเป็นเหล็กโครงสร้างออสเตนไนต์ หรือเหล็กโครงสร้างออสเตนไนต์เปลี่ยนไปเป็นโครงสร้างมาเทนไซต์

 

 

 รูปเหล็กกล้าที่ตกไปทางซ้ายของเส้นคาร์บอน 0.8% จะเป็นบริเวณไฮโปยูเทคทอยด์ เหล็กกล้าที่ตกไปทางด้านขวาของเส้นจะเป็นบริเวณของไฮเปอร์ยูเทคทอยด์

 

      บริเวณไฮโปยูเทคทอยด์ (Hypoeutectoid) อยู่ทางฝั่งด้านซ้ายของเส้นเพิลไรต์บริสุทธิ์ (คาร์บอน 0.8%) เหล็กที่อยู่ทางด้านนี้ เรียกกันว่า เหล็กกล้าไฮโปยูเทคทอยด์ (Hypoeutectoid steel)

 

รูปตัวอย่างโครงสร้างจุลภาคฝั่งเหล็กกล้าด้านไฮโปยูเทคทอยด์

 

      บริเวณไฮเปอร์ยูเทคทอยด์ (Hypereutectoid region) จะอยู่ทางฝั่งด้านขวาของเส้นเพิลไรต์บริสุทธิ์ เหล็กกล้าที่อยู่ในบริเวณนี้ เรียกกันว่า เหล็กกล้าไฮเปอร์ยูเทคทอยด์ (Hypereutectoid steel)

 

รูปตัวอย่างโครงสร้างจุลภาคฝั่งเหล็กกล้าด้านไฮเปอร์ยูเทคทอยด์

 

      สาเหตุของการแบ่งเหล็กกล้าออกเป็นสองฝั่งแบบนี้ ก็เพราะจะทำให้ทราบอัตราความแตกต่างของการทำความเย็นในเหล็กกล้าที่มีปริมาณคาร์บอนแตกต่างกัน ในการเกิดการเปลี่ยนแปลงของเหล็กกล้า จากการชุบแข็งจากโครงสร้างออสเตนไนต์จนทำให้เกิดมาเทนไซต์

 

      ส่วนการทำความเย็นอย่างช้า ๆ ของโครงสร้างออสเตนไนต์ ไปเป็นเฟอร์ไรต์, เพิลไลต์ หรือซีเมนต์ไต ซึ่งจะมีผลในด้านเทคนิคของการชุบแข็งที่เกิดขึ้นแตกต่างกันในการเปลี่ยนรูปของเหล็ก ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป

     

 

9.7 อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง กับคุณสมบัติทางกล

 

      ความแข็ง, ความแข็งแกร่ง, ความเปราะ, ความเหนียว และขนาดของเม็ดเกรนของเหล็กกล้ามีผลอย่างมาก จากวิธีการทางความร้อน และความเย็นที่มีความแตกต่างกัน

 

      ยกตัวอย่างความร้อนที่เกิดกับเหล็กในช่วงออสเตนไนต์ และทำการชุบแข็งอย่างรวดเร็ว โครงสร้างจะเป็นมาเทนไซต์ เหล็กที่ได้จะมีความแข็ง และแกร่ง อีกทั้งขนาดของเกรนจะมีขนาดเล็กลง แต่ก็มีข้อเสียคือมันจะมีความเปราะเกิดขึ้น

 

      อีกตัวอย่างเหล็กถูกให้ความร้อนจนถึงช่วงออสเตนไนต์ และทำการให้ความเย็นอย่างช้า ๆ มันจะเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างไปเป็นเฟอร์ไรต์, เพิลไลต์ หรือซีเมนต์ไต (ตามเปอร์เซ็นต์คาร์บอนที่ผสมในเหล็ก) เหล็กจะมีความแข็งน้อย, มีความยืดหยุ่นมากกว่าโครงสร้างมาเทนไซต์ ขนาดของเม็ดเกรนจะมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย

 

      ความแข็ง, ความแข็งแกร่ง, ความเหนียว และขนาดเม็ดเกรนที่เล็กเป็นคุณสมบัติที่ต้องการของเหล็กกล้า ดังนั้นแนวคิดในการให้ความร้อน และชุบแข็งแก่เหล็กเพื่อให้เกิดความแข็ง และความแข็งแกร่งโดยไม่ให้เกิดความสูญเสียทางด้านความเหนียว

 

นักโลหะวิทยา โดยทั่วไปเมื่อจะทำการชุบแข็งเหล็กกล้าจะต้องคำนึงถึงสภาวะที่จะเกิดขึ้นจากด้านล่าง

 

v ถ้าเหล็กกล้าต้องการความแข็ง และความแข็งแกร่งต้องทำการชุบแข็ง แต่ก็ต้องยอมรับว่าเหล็กจะเกิดความเปราะเช่นกัน

 

v ถ้าต้องการความเหนียวมาก เหล็กต้องทำให้เย็นอย่างช้า ๆ แล้วเหล็กกล้าจะสามารถกลึง กัด ไส (Machinability)ได้ และสามารถขึ้นรูป (Formable) ได้ง่าย แต่จะสูญเสียปริมาณความแข็งแกร่ง และความแข็งลงไป

 

v ถ้าต้องการทั้งความแข็งแกร่ง และความเหนียว ต้องเจือสารบางอย่างลงไปในเนื้อเหล็ก แต่การผสมสิ่งเจือปนเพิ่มเข้าไป แน่นอนจะเพิ่มต้นทุนของเหล็กกล้าด้วยทำให้มีราคาสูงขึ้น ในบางงานเมื่อนำมาเทียบกับความสามารถของเหล็กที่มีคุณสมบัติทางความแข็งแกร่ง และความเหนียวที่เพิ่มขึ้นแล้วย่อมมีความคุ้มค่ากว่า    

 

 

ผลสรุปของความสัมพันธ์ระหว่างการชุบแข็ง, การทำความเย็นอย่างช้า ๆ และลักษณะเฉพาะในแต่ละกระบวนการ ให้ดูในตาราง

 

การเปรียบเทียบการทำความเย็นของเหล็กกล้า

ชุบแข็ง

ทำความเย็นอย่างช้า ๆ

แข็งกว่า

อ่อนกว่า

แข็งแกร่งกว่า

แข็งแกร่งน้อย

เปราะง่าย

ยืดหยุ่นได้

โครงสร้างมาเทนไซต์

โครงสร้างเฟอร์ไรต์, เพิลไลต์ หรือซีเมนต์ไต

เม็ดเกรนขนาดเล็ก

เม็ดเกรนขนาดใหญ่

 

ตารางแสดงการเปรียบเทียบระหว่างกระบวนการทำความเย็นของเหล็กกล้า ทั้งแบบชุบแข็ง และทำความเย็นอย่างช้า ๆ

 

 

9.8 การปรับปรุงความแข็งให้ดีขึ้น

 

      ความแข็งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากในเหล็กกล้า การปรับปรุงความแข็งให้ดีขึ้นสามารถดูได้จากสองข้อด้านล่างเป็นแนวทาง

 

Ø ความเร็วในการชุบแข็ง เหล็กกล้ายิ่งมีการชุบแข็งอย่างรวดเร็ว จะทำให้ความแข็งมีมากกว่าปกติ (แต่ต้องคำนึงถึงการร้าวตัวด้วย)

Ø  

Ø เปอร์เซ็นต์คาร์บอน คาร์บอนยิ่งมีมากในเหล็กกล้า (ผสมเจือไม่เกิน 2%) เมื่อผ่านการชุบแข็ง ก็จะแข็งมากกว่า

 

 

      ดังนั้นถ้าต้องการเหล็กกล้ามีความแข็งอย่างมาก ควรจะผสมคาร์บอนให้ปริมาณมาก และ/หรือหาวิธีการชุบแข็งที่เร็ว ก็จะได้เหล็กกล้าที่มีความแข็งยิ่งขึ้น 

 

จบบทที่ 9

ครั้งหน้าบทที่ 10 เราจะมาวิเคราะห์โครงสร้างทางจุลภาคกัน

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“ในการรบหากใช้ความกล้าหาญ
เพียงอย่างเดียว
อาจได้ตายก่อนใครเพื่อน
การรบจึงต้องมีเล่ห์เพทุบายช่วยเสมอ”

 

 

 

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา