บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,260
เมื่อวาน 5,537
สัปดาห์นี้ 1,260
สัปดาห์ก่อน 16,288
เดือนนี้ 14,569
เดือนก่อน 62,658
ทั้งหมด 4,421,724
  Your IP :3.135.197.201

13.12 การเปรียบเทียบแผนภาพการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคงที่

 

      ผลของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคงที่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับเหล็กอย่างกว้างขวาง ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับ ชนิดของเหล็กกล้า, อัตราการให้ความร้อน และความเย็นที่ใช้

 

      เมื่อการเปลี่ยนแปลงของแนวเส้นเวลาถูกลากไปถึงเส้นโค้งตัวซีที่พล็อตในแผนภาพไอที ก็จะทำให้สามารถพยากรณ์โครงสร้างของเหล็กกล้าที่จุดเปลี่ยนแปลงได้ตลอดทั้งแนวเส้นเวลา ถ้าทำออกมาหลายแผนภาพก็สามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้

 

      เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ภายในเหล็กกล้าที่แตกต่างกัน จะเป็นไปตามกระบวนการชุบแข็ง รวมไปถึงเวลา, อุณหภูมิ และการผสมเจือ ที่ทำให้พร้อมเกิดการเปลี่ยนแปลง

 

ด้านล่างนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งตัวอย่างของเหล็กกล้าที่มีมากมายที่จะนำมาเปรียบเทียบกัน

 

 

ชิ้นงานตัวอย่างเปรียบเทียบของเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1340 (เหล็กกล้าผสมแมงกานีส)

 

 

รูปตัวอย่างการใช้งานเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1340

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

ตัวอย่างที่ 13.1 สมมตินำชิ้นงานตัวอย่างของเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1340 ไปให้ความร้อนจะอุณหภูมิขึ้นไปถึง 870 °C (1600 °F) และทำให้เย็นทีละน้อยไปจนถึงอุณหภูมิ 650°C (1200 °F) ใช้เวลากว่า 10 นาที จากนั้นก็นำไปชุบแข็งจนอุณหภูมิไปถึงอุณหภูมิห้อง เวลาที่ใช้ 5 วินาที กระบวนการตามแผนภาพไอทีดูได้ในรูปด้านล่าง

 

รูปแผนภาพของเหล็กกล้า 1340 เหล็กกล้าเปลี่ยนแปลงเป็นเพิลไลต์หยาบระหว่างกระบวนการชุบแข็ง

 

การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเกิดขึ้นในอาณาบริเวณเพิลไลต์หยาบ ดังนั้นทำให้เหล็กกล้าได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ เพิลไลต์หยาบ 100% มีค่าความแข็งต่ำกว่า 15 Rc

 

ข้อน่าสังเกต ชิ้นงานตัวอย่างเมื่อถูกนำไปทำการชุบแข็งอย่างรวดเร็ว ก็ทำให้เหล็กกล้าพ้นออกจากอาณาบริเวณของการเปลี่ยนแปลงแบบทันทีเช่นกัน

 

 

ตัวอย่างที่ 13.2 มาสมมติกันต่อ นำชิ้นงานชิ้นที่สองซึ่งก็เป็นเหล็กกล้า เอไอเอสไอ 1340 เช่นเดิม เมื่อความร้อนขึ้นไปถึง 870°C (1600 °F) จากนั้นก็ให้เย็นตัวจนไปถึงอุณหภูมิที่ 538°C (1000 °F) ใช้เวลา 4 ชั่วโมง แล้วนำไปก็ทำการชุบแข็งไปจนถึงอุณหภูมิห้องใช้เวลา 5 วินาที

 

 

รูปการเปลี่ยนแปลงในแผนภาพไอทีเป็น เพิลไลต์หยาบ 100% โครงสร้างของเหล็กกล้าเปลี่ยนแปลงอย่างสำเร็จ ทันทีที่ไปถึงจุด B2

 

      แนวเส้นเวลาที่พล็อตตามสภาวะเหล่านี้ที่แสดงในรูปด้านบน การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจะเกิดขึ้นในบริเวณเพิลไลต์หยาบ ทำให้โครงสร้างนี้กลายเป็น เพิลไลต์หยาบ 100% ค่าความแข็งอยู่ต่ำกว่า 15 Rc 

 

จากรูปตัวอย่างของแผนภาพไอทีในรูปทั้งสองด้านบน ใช้ชิ้นงานตัวอย่างชนิดของเหล็กกล้าเดียวกัน แต่แตกต่างในกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

 

จากแผนภาพทั้งสองด้านบน แนวเส้นเวลาผ่านบริเวณของการเปลี่ยนแปลงที่เกือบจะเป็นจุดเดียวกัน (A2 และ B2) อ้างถึงรูปตัวอย่างที่ 13.2 ทันทีที่แนวเส้นเวลาไปถึงจุด B2 ในทางทฤษฏี จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเกือบทั้งหมด

 

      เพราะฉะนั้น การแบ่งอาณาบริเวณกระบวนการทำความเย็น (บอกได้โดยเส้นทั้งสองระหว่างจุด B2 และ B3) ไม่มีอะไรที่ไปบังคับในการเปลี่ยนแปลงช่วงสุดท้ายชิ้นงานตัวอย่างจึงเกิดการชุบแข็งอย่างทันที หลังจากที่การเปลี่ยนแปลงเสร็จสิ้น จึงทำให้ชิ้นงานตัวอย่างทั้งคู่เป็นโครงสร้างที่เหมือนกัน

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“หลับตานิ่ง ๆ หายใจเข้าออกช้า ๆ ลึก ๆ สักสามนาที

เมื่อรู้สึกว่าอะไรที่อยู่ตรงหน้า มันช่างยากเหลือเกิน”

 

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา