บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 850
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 7,080
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 35,315
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,379,812
  Your IP :18.191.195.110

19.3 ความแข็งแกร่งของแมกนีเซียม

 

      แมกนีเซียมมีคุณสมบัติที่ยืดหยุ่นได้ไม่มาก ดังนั้น การที่จะทำให้เกิดความแข็งแกร่ง จึงไม่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้จากกระบวนการรีดเย็น

 

      ถ้าอยากให้เกิดความแข็งแกร่งขึ้น จะต้องมีการเติมธาตุ เพื่อผสมเข้าไป เช่น อลูมิเนียม, สังกะสี และแคลเซียม

 

 

รูปตัวอย่างการหล่อแมกนีเซียม

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ชิ้นส่วนเครื่องกลที่ทำจากแมกนีเซียมผสม จะเกิดความแข็งแกร่งได้จากการเจือธาตุ สามารถนำไปหล่อ, ฉีดขึ้นรูป หรือรีดร้อนได้ หลังจากนั้นก็สามารถนำไปกระทำกับเครื่องมือกล เพื่อขึ้นรูปตามต้องการ ในขั้นตอนสุดท้ายได้

 

 

รูปชิ้นงานแมกนีเซียมที่จะนำไปตีขึ้นรูป

 

      ยกตัวอย่าง ที่มีการนำแมกนีเซียมผสมมาใช้งานที่เห็นอยู่ทั่วไปนั่นก็คือ ชิ้นส่วนเครื่องกลชิ้นเล็ก ๆ อย่างที่เห็นในรูปด้านล่าง แสดงให้เห็นถึงการใช้แมกนีเซียมผสมมาทำเป็นโครงของโน๊ตบุ๊ค

 

 

รูปโครงแมกนีเซียมที่นำมาใช้ในคอมพิวเตอร์โน๊ตบุค หลังจากผ่านกระบวนการชุบแข็งฉับพลัน มันจะเกิดข้อดี คือน้ำหนักเบา มีความแข็งแกร่งขึ้น

 

       มีการนำแมกนีเซียมผสมไปปรับสภาพทางความร้อน แล้วนำไปผ่านกระบวนการชุบแข็งแบบฉับพลัน ยกตัวอย่างเช่น แมกนีเซียมผสมรหัส M16600 ซึ่งมีการเติม ไซร์โคเนียม (Zirconium) และสังกะสี จำนวนเล็กน้อย

 

      ในเตาอบ หรือหลอมโลหะ จะใช้อุณหภูมิ 370°C (700°F) เพื่อให้สารละลายผสมเข้าสู่เนื้อแมกนีเซียม ใช้เวลาอบไม่นานนัก อีกทั้งยังมีการเติม ก๊าซเฉื่อย (Inert gas) หรือเติมคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป (ที่เติมก๊าซเหล่านี้ ก็เพื่อไม่ต้องการให้แมกนีเซียมเกิดการออกซิเดชัน (Oxidation))

 

      จากนั้นก็นำชิ้นงาน ไปชุบแข็งในอากาศ เมื่อได้ชิ้นงานแล้ว นำไปทดสอบวัสดุหากพบว่าความความแข็งแกร่งไม่เพียงพอ ก็สามารถนำไปอบได้อีกครั้ง ทีนี้จะใช้อุณหภูมิ 150°C (300°F) ใช้เวลา 24 ชั่วโมง จะทำให้ชิ้นงานมีความแข็งแกร่งขึ้นมากกว่าแมกนีเซียมผสมเดิม

 

      ธาตุที่ผสมอื่น ๆ ใช้ให้เกิดความแข็งแกร่งให้แก่แมกนีเซียม อาทิเช่น อลูมิเนียม, สังกะสี, ไซร์โคเนียม และแมงกานีสในบางครั้ง และทอห์เรียม (Thorium) คุณสมบัติบางอย่างของแมกนีเซียมผสมดูรายชื่อที่ตารางด้านล่าง

 

 

 

การเลือกใช้คุณสมบัติของแมกนีเซียมผสม

รหัสแมกนีเซียม

ลักษณะ

เงื่อนไข

ความแข็งแกร่งทางดึง (ksi)

ความแข็งแกร่งที่จุดครากตัว (ksi)

เปอร์เซ็นการยืดตัว (% ใน 50 mm)

ความทนทานต่อการกระแทก (ft-lb)

ความทนทานต่อการเฉือน (ksi)

 

โมดูลัสความยืดหยุ่น (x1000ของ ksi)

ความถ่วงจำเพาะ

จุดหลอมเหลว (°C)

จุดหลอมเหลว (°F)

M11914

แบบหล่อทราย

ฉุบแข็งฉับพลัน

40

21

6

1

21

6.5

1.827

470-595

875-1105

M10600

แม่พิมพ์หล่อ (Die casting)

การหล่อ

32

19

6

 

 

6.5

1.78

540-615

1005-1140

M13210

ดัด (Wrought)

ฉุบแข็งฉับพลัน

34

25

11

5.87

18

6.5

1.78

605-650

1120-1200

M13310

ดัด

อบอ่อน

29

18

30.5

4

 

6.5

1.8

590-650

1090-1200

M13310

ดัด

ขึ้นรูปเย็น

37

29

9

3

20

6.5

1.8

590-650

1090-1200

M13310

ดัด

ฉุบแข็งฉับพลัน

37

29

9

 

20

6.5

1.8

590-650

1090-1200

 

ตารางรายชื่อของแมกนีเซียมผสม และคุณสมบัติที่หลากหลาย

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

 

“ถ้าครูไม่ห่วงประโยชน์ที่ควรจะห่วง

หันไปห่วงอำนาจ ห่วงตำแหน่ง

ห่วงสิทธิ์ และห่วงรายได้กันมากเข้า ๆ แล้ว

จะเอาจิตใจที่ไหนมาห่วงความรู้ ความดี ความเจริญของเด็ก

ความห่วงในสิ่งเหล่านั้นก็จะค่อย ๆ บั่นทอนทำลายความเป็นครูไป

จนหมดสิ้น จะไม่มีอะไรดีเหลือไว้พอ ที่ตัวเองจะภาคภูมิใจ

หรือผูกใจใครไว้ได้

ความเป็นครูก็จะไม่มีค่าเหลืออยู่ ให้เป็นที่เคารพบูชาอีกต่อไป”

 

พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชทานแก่ครูอาวุโส ในโอกาสเข้าเฝ้า

ณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน วันเสาร์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๑

 

ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา