บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 537
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,196
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,431
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,928
  Your IP :3.144.102.239

      ซึ่งกระบวนการขั้นต่อไป ก็คือ การลบครีบออกด้วยแปรงขัดผง หรือใช้วิธีอัดเฉือน ชิ้นงานสังกะสีหล่อกับแผ่นครีบรอบ ๆ ขอบชิ้นงาน ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปหลังจากการฉีดหล่อ จะเกิดครีบรอบ ๆ ชิ้นงานรอบนอก

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ชิ้นงานที่ผลิตจากกระบวนการฉีดสังกะสีหล่อส่วนมาก เมื่อต้องการความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้น จะต้องมีการผสมเจือกับอลูมิเนียม และแมกนีเซียม

 

      รหัสที่ใช้เรียกสังกะสีหล่อที่เป็นสังกะสีผสม ที่รู้จักกันในเชิงพาณิชย์ ได้แก่ Z33520 และ Z35531 (เรียกกันว่า สังกะสีผสม 3 และสังกะสีผสม 5) ซึ่งทั้งคู่จะมีส่วนผสมของอลูมิเนียม และแมกนีเซียม

 

      การเติมอลูมิเนียม และบางครั้งจะเป็นทองแดง ข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ ช่วยลดอุณหภูมิการหลอมเหลวสังกะสี และทำให้เกิดการไหลเข้าเบ้าแม่พิมพ์ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปทรงที่มีความซับซ้อน ส่วนการเติมแมกนีเซียม จะเติมเพียงเล็กน้อย (0.02% ถึง 0.08%) ก็เพื่อปรับปรุงชิ้นงานหล่อให้มีความแข็งแกร่งขึ้น

 

      ที่อุณหภูมิห้อง ชิ้นงานสังกะสีที่ผสมอลูมิเนียม กับแมกนีเซียม พวกมันจะมีความแข็งแกร่ง และทนทานต่อแรงกระแทกได้สูง อาจเทียบเท่ากับเหล็กหล่อที่อยู่ในอุณหภูมิห้อง และอุณหภูมิที่ต่ำกว่าได้

 

ส่วนคุณสมบัติที่มีความหลากหลายของสังกะสีผสมทั้งสอง ดูได้จากตารางด้านล่าง

 

คุณสมบัติของสังกะสีผสม

โลหะผสม

ความแข็งแกร่งทางดึง (ksi)

ความแข็งแกร่งที่จุดครากตัว (ksi)

เปอร์เซ็นการยืดตัว (% ใน 50 mm)

ความทนทานต่อการกระแทก (ft-lb)

ความทนทานต่อการเฉือน (ksi)

 

โมดูลัสความยืดหยุ่น (x1000ของ ksi)

ความถ่วงจำเพาะ

จุดหลอมเหลว (°C)

จุดหลอมเหลว (°F)

Z33520 (ผสม 3)

41

32

10

 

31

15.2

6.60

381-387

718-728

Z35531 (ผสม 5)

47.5

33

7

48

38

15.2

6.70

380-386

717-727

 

ตารางรายชื่อของคุณสมบัติที่เลือกสำหรับโลหะที่ผสมกับสังกะสี Z33520 และ Z35531

 

       ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความแข็งแกร่งของสังกะสีผสมในทางวิศวกรรมถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หลากหลายชิ้นงานที่เป็นสังกะสีที่ผ่านกระบวนการฉีดหล่อมีคุณสมบัติที่หลากหลาย ควรมีการพิจารณาเพื่อเลือกใช้วัสดุนี้ก่อนที่จะนำมาใช้งาน ส่วนความต้องการเพื่อที่จะใช้งานเฉพาะทางสมควรที่จะต้องเลือกใช้งานด้วยความระมัดระวังเพิ่มขึ้นเช่นกัน

 

      ประมาณ 30% ของการใช้สังกะสีในสหรัฐอเมริกา มักถูกรีไซเคิลจากเศษโลหะ แต่จะต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์การรีไซเคิลของการใช้อลูมิเนียม หรือทองแดง เนื่องมาจากว่าปริมาณของสังกะสีที่ใช้ มักจะนำไปใช้งานบาง, งานเคลือบเพื่อให้ทนทานต่อการกัดกร่อน สังกะสีที่ใช้ประโยชน์ในงานเคลือบปกป้องวัสดุจะไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ เพราะจะไม่คุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

 

“ในการประกอบการงานทั้งปวงนั้น

ทุกคนต้องมีความตั้งใจจริง และขยันหมั่นเพียร

ต้องรู้จักคิดพิจารณาด้วยปัญญา และความรอบคอบ

ยึดมั่นในความสามัคคี และความซื่อสัตย์สุจริต

ถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นจุดประสงค์สำคัญจึง

จะสามารถปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้สำเร็จผลโดยสมบูรณ์ได้” 
    

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ในพิธีพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร 
ประจำจังหวัดน่าน ๑๐ มีนาคม ๒๕๑๒    

 

ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา