บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,043
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,702
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,937
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,382,434
  Your IP :3.144.25.74

5. เครื่องยนต์ดีเซลสมัยใหม่ และไบโอดีเซล (จบ)

 

5. เครื่องยนต์ดีเซลสมัยใหม่ และไบโอดีเซล

     

เครื่องยนต์ดีเซลสมัยใหม่

 

       เครื่องยนต์ดีเซลสมัยก่อนนั้น มีทั้งเสียงดัง และมีควันดำ ควันดำที่ออกมาจากรถยนต์หลาย ๆ คันบนท้องถนนทำให้เกิดหมอกสีดำปกคลุมไปทั่วเมือง

 

รูปรถไฟดีเซลรางที่เกิดควันดำ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

  

รูปควันดำที่เกิดจากรถกระบะ

 

รูปหมอกควันปกคลุมเมืองเนื่องมาจากยานยนต์บนท้องถนนเป็นส่วนใหญ่

 

      ในระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมานี้ เครื่องยนต์ดีเซลได้ถูกปรับปรุงพัฒนาไปไกลมาก เป็นผลให้เครื่องยนต์ก่อควันดำน้อยลง เครื่องยนต์สะอาดขึ้น เทคโนโลยีของเครื่องยนต์ดีเซลอันได้แก่ เทคโนโลยีไดเรคอินเจ็คชั่น (Direct injection: อุปกรณ์การฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงโดยตรง)

 

รูปภาคตัดของดีเซลไดเรคอินเจ็คชั่น

 

รูปภาคตัดของดีเซลไดเรคอินเจ็คชั่น อีกรูป

 

รูปเครื่องยนต์ไดเรคอินเจ็คชั่น

 

วิดีโอแสดงเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้ไดเรคอินเจ็คชั่น

 

 

เทคโนโลยีคอมมอนเรล (Common Rail technology) ที่ใช้ในเครื่องยนต์ดีเซลหลักการง่าย ๆ โดยนำเอาระบบอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในเครื่องยนต์ เหมือนกับเครื่องยนต์แก๊สโซลีนที่มีระบบ EFI 

 

รูปไดอะแกรมของเครื่องยนต์คอมมอนเรล

 

รูปอุปกรณ์เครื่องยนต์คอมมอนเรล

 

รูปอุปกรณ์เครื่องยนต์คอมมอนเรล อีกรูป

 

วิดีโอคอมมอนเรล

 

วิดีโอคอมมอนเรล 2

 

วิดีโอคอมมอนเรลของเครื่องยนต์แคตเตอร์พิลลาร์

 

      ในเครื่องยนต์ดีเซลจะมีกล่องวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีชื่อเรียกว่า ECM (Engine Control Module) (เรียกอีกอย่างหนึ่งก็คือชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU)) ที่เป็นเหมือนสมองกล เทคโนโลยีนี้ เชื่อมโยงกับเซ็นเซอร์ตรวจจับที่ทำงานซับซ้อน มีทั้งเซนเซอร์ตรวจจับความเร็วรอบเครื่องยนต์ ตรวจจับอุณหภูมิของน้ำมันหล่อลื่น และน้ำหล่อเย็น ตรวจจับตำแหน่งของลูกสูบเครื่องยนต์ ตำแหน่งขาคันเร่ง

 

      โดยสมองกลคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่คอยประมวลผล นำมาคำนวณปริมาณการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสมกับทุกสภาวะของเครื่องยนต์ ดูแลตรวจสอบการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิง ให้มีการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ที่สุด เครื่องยนต์ติดง่าย ให้แรงบิดและแรงม้าที่สูงที่รอบเครื่องยนต์ต่ำ ทำให้ประหยัดน้ำมัน ลดควันดำ ลดมลภาวะ และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครื่องยนต์

     

การพัฒนาเพื่อลดมลภาวะไอเสีย และไบโอดีเซล

 

       น้ำมันดีเซลสมัยใหม่ได้ถูกกลั่นให้มีคุณภาพดีขึ้น เติมกำมะถันลงไปในน้ำมันดีเซลให้เหลือน้อยลง (Ultra Low Sulfur Diesel: ULSD) จึงทำให้สารที่ปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศมีความเป็นอันตรายน้อยกว่า และทำให้เครื่องยนต์สะอาดขึ้น นอกจากการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันแล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ อีกที่จะมีช่วยได้แก่ อุปกรณ์กรองย่อยซีอาร์ที (CRT particulate filters), อุปกรณ์ที่ช่วยลดสารที่เป็นพิษในท่อไอเสีย (Catalytic converter) และการเผาไหม้เขม่าก่อนปล่อยออกชั้นบรรยากาศ

 

      ที่กล่าวมาเหล่านี้ทำให้ช่วยลดสารคาร์บอนมอนอกไซด์ และไฮโดรคาร์บอน ลงไปได้มาก เทคโนโลยีที่จะช่วยลดมลภาวะ และทำให้เครื่องยนต์สะอาดขึ้น ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

 

รูปกรองย่อย CRT

  

รูปภาคตัดกรองย่อย CRT

 

รูปอุปกรณ์ช่วยลดสารพิษในท่อไอเสีย

 

รูปภาคตัดอุปกรณ์ช่วยลดสารพิษในท่อไอเสีย

 

      สหภาพยุโรป (Europe Union:EU) ได้มีมาตรการที่จะช่วยลดมลภาวะที่เป็นพิษ โดยหวังไว้ว่า หลังจากปี พ.ศ. 2552 ไปแล้ว การปล่อยมลพิษจะต่ำจาก 25 มิลลิกรัม/กิโลเมตร ให้เหลือเพียง 5 มิลลิกรัม/กิโลเมตร

 

รูปสัญลักษณ์ไบโอดีเซล

 

วัฏจักรคาร์บอนไดออกไซด์ในไบโอดีเซล

 

วัฏจักรไบโอดีเซล

 

รูปหัวจ่ายไบโอดีเซล

 

      ไบโอดีเซล (Biodiesel) คือน้ำมันดีเซลชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ โดยมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเครื่องยนต์เพียงเล็กน้อย หรือไม่ต้องแก้ไขเลย ไบโอดีเซลไม่ได้ถูกผลิตมาจาก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมทั้งหมด จะมีส่วนผสมของสารอินทรีย์ ซึ่งได้แก่น้ำมันที่สกัดมาจากพืช หรือจากสัตว์ และนำมาปรับปรุงโครงสร้างทางเคมี (หมายเหตุแนวคิดที่จะนำสารอินทรีย์มาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลนั้น รูดอล์ฟดีเซลก็มีแนวคิดนี้แต่แรกแล้ว แต่ด้วยเทคโนโลยีขณะนั้นยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร) ในการใช้เติมในเครื่องยนต์ดีเซล ไบโอดีเซลสามารถผสมกับน้ำมันดีเซลธรรมดาก็ได้ หรือไม่ต้องผสมเลย

           

วิดีโอแสดงการผลิตไบโอดีเซล

       

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

“ชีวิตของคนที่ขัดสนลำบาก
มันมาจาก ชีวิตที่ขาดความอดทน”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา