บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,548
เมื่อวาน 1,080
สัปดาห์นี้ 5,782
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 68,708
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,336,595
  Your IP :54.205.116.187

7. การคิดกำลังงานที่ผลิตได้


            ในการคำนวณกำลังงานที่ได้จากกังหันลมผลิตพลังงานไฟฟ้า คุณจะต้องรู้ถึงความเร็วลม ณ ที่กังหันตั้งอยู่ และความสามารถของกังหันที่สามารถผลิตกำลังงานได้ ความเร็วลมที่สามารถผลิตกำลังงานไฟฟ้าได้ดีอยู่ที่ความเร็วประมาณ 15 เมตรต่อวินาที (33 ไมล์ต่อชั่วโมง)

 

      นอกจากนี้ จะขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของโรเตอร์ และความสูงของเสากังหันด้วย ซึ่งก็มีส่วนที่มีความสำคัญในการพิจารณาถึงการผลิตกำลังงานนอกเหนือจากความเร็วของลมที่ไหลเข้าสู่กังหัน

 

ขนาดของโรเตอร์กับกำลังงานที่ออกมาสูงที่สุด

เส้นผ่านศูนย์กลางโรเตอร์ (เมตร)

กำลังงานที่ออกมา (kW)

10

25

17

100

27

225

33

300

40

500

44

600

48

750

54

1000

64

1500

72

2000

80

2500

 

      ที่ความเร็วลม 15 เมตรต่อวินาที กังหันจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุด และที่ 20 เมตรต่อวินาที (45 ไมล์ต่อชั่วโมง) กังหันลมส่วนใหญ่จะตัดการทำงาน และปิดตัวเองลง (Shut down)

 

      ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะให้ความสำคัญในเรื่อง ระบบความปลอดภัย (Safety system) โดยกังหันลมสามารถทำการปิดกังหันได้ด้วยตัวเอง ถ้าความเร็วของลมสูงเกินจนอาจเกิดเป็นอันตรายต่อตัวกังหัน และระบบอื่น ๆ

 

รูปอันตรายที่อาจเกิดกับกังหันลมถ้าระบบความปลอดภัยไม่ทำงาน

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปความเสียหายต่อกังหันลมเมื่อความเร็วลมมีสูงเกินไป

 

วิดีโอกังหันลมเสียหายจากแรงลม

 

      ระบบความปลอดภัยประกอบไปด้วยตัวตรวจสอบการสั่นสะเทือนในกังหัน โดยพื้นฐานประกอบไปด้วย ลูกบอลเหล็กที่ผูกติดกับโซ่ที่ทรงตัวได้ในพื้นที่ที่เล็กมาก ถ้ากังหันเริ่มมีการสั่นมากกว่าค่าที่ได้ตั้งไว้ ลูกบอลก็จะตกลงมาจากแท่น โซ่ก็จะตึง และไปกดสวิตซ์ปิดตัวเองของกังหัน

 

            อีกหนึ่งในระบบความปลอดภัยที่นำมาใช้ในกังหันก็คือ ระบบการเบรก (Braking system) 

 

รูประบบเบรกของกังหันลม

 

ซึ่งจะทำการเบรกเมื่อมีความเร็วลมที่เหนือกว่าความเร็วที่ตั้งไว้ ในการตั้งค่าจะใช้ระบบควบคุมกำลังงานมาเป็นตัวทำให้เบรก

 

      นั่นคือถ้าอุปกรณ์จะมีการเบรกเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีความเร็วลมมีค่าสูงมาก และจะปลดเบรกก็ต่อเมื่อความเร็วลมต่ำกว่า 20 เมตรต่อวินาที ในการออกแบบกังหันสมัยใหม่ที่มีขนาดใหญ่ จะนำระบบเบรกมาใช้ในด้านความปลอดภัยของกังหัน

 

รูประบบควบคุมปรับใบกังหัน

 

       ควบคุมปรับใบกังหัน (Pitch control) กำลังงานที่ผลิตออกมา สามารถจะควบคุมการจ่ายพลังงานได้ตามปกติ แต่ทว่าถ้าความเร็วของลม มีความเร็วลมมากกว่า 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแล้ว กำลังที่ผลิตออกมาจะมีค่าสูงมากเกินไป และจะมีผลต่อใบกังหันด้วย ดังนั้นจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ปรับมุนใบกังหัน เพื่อที่ปรับมุมใบให้มีการหมุนตัวช้าลง ลดการต้านลมเมื่อความเร็วของลมมากขึ้น

 

วิดีโอแอนิเมทชันแสดงการปรับใบกังหัน

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“เหลือทางถอยไว้ให้กับคนอื่น
เท่ากับเหลือทางถอยไว้ให้กับตัวเอง”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา