บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 798
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 7,028
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 35,263
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,379,760
  Your IP :18.191.234.62

2. ความเป็นมาของดาวเทียม

 

ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีจุดเริ่มต้น ดาวเทียมก็เช่นเดียวกัน

จุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการอยู่ที่สหภาพโซเวียต (ปัจจุบันเป็นสาธารณรัฐรัสเซีย ตอนนั้นยังไม่ได้ถูกแบ่งเป็นประเทศเล็ก ๆ) ได้ทำการคิดค้นทดลองทางด้านอวกาศ โซเวียตทำการส่ง ดาวเทียมสปุตนิก1 (Sputnik) ออกสู่วงโคจรโลก โดยปล่อยดาวเทียมในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 เนื่องจากสภาพทางการเมืองของโซเวียต ทำให้โซเวียตจึงได้เก็บงำความลับนี้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนเปิดเผยตัว ทำให้ตอนนั้นไม่มีภาพถ่ายหรือวิดีโอในการปล่อยดาวเทียม สปุตนิกออกสู่สายตาคนทั่วโลก

 

รูปดาวเทียมสปุตนิก 1 สร้างโดยรัสเซียเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลก

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปดาวเทียมสปุตนิก 1 อีกรูป

 

วิดีโอแสดงการปล่อยดาวเทียมสปุตนิก 1

 

วิดีโอดาวเทียมสปุตนิก 1

 

ขนาดของดาวเทียมสปุตนิก ลักษณะคล้ายลูกบอลโลหะเส้นผ่านศูนย์กลาง 58 เซนติเมตร (23 นิ้ว) มีน้ำหนัก 83 กิโลกรัม (184 ปอนด์) มีขนาดที่เล็กถ้าเทียบกับขนาดดาวเทียมในปัจจุบัน

 

ภายในดาวเทียมสปุตนิกประกอบไปด้วย

 

รูปส่วนประกอบของสปุตนิก1

 

· ตัววัดอุณหภูมิ

 

· แบตเตอรี่

 

· เครื่องส่งวิทยุ เป็นการส่งสัญญาณเสียงเตือนแหลม (Beep) ส่งมาที่หอควบคุม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเกิดขึ้น (เทคโนโลยีสมัยนั้น)

 

· แก๊สไนโตรเจน เพื่อรักษาความดันภายในของดาวเทียม

 

ด้านนอกของสปุตนิก มีเสาอากาศสี่แท่ง (Whip antennas) ใช้ในการส่งคลื่นสั้นส่งมายังพื้นโลก

 

หลังจากได้ทำการปล่อยสปุตนิกผ่านไป 92 วัน สปุตนิกก็ได้ถูกแรงโน้มถ่วงโลก ดึงดูดให้ตกลงมา และได้เสียดสีกับบรรยากาศของโลกเผาไหม้จนหมดสิ้น

 

      หลังจากนั้นสามสิบวันจึงได้มีการปล่อย ดาวเทียมสปุตนิก2 ในปฏิบัติการนี้ได้นำสิ่งมีชีวิตขึ้นไปด้วย เป็นครั้งแรก สิ่งมีชีวิตนั้นก็คือสุนัข ที่ชื่อ ไลก้า (Laika) สปุตนิก2 ได้ถูกส่งออกสู่วงโคจรของโลก ขนาดของดาวเทียมสปุตนิก2 มีขนาดครึ่งตัน ได้บรรจุอากาศเพื่อให้ไลก้าได้หายใจ

 

      สปุตนิก2 อยู่ในวงโคจรได้นาน 163 วันก่อนที่จะถูกแรงโน้มถ่วงโลก ดึงดูดให้ตกลงมา ในวันที่ 14 เมษายน ปีพ.ศ. 2501 โลงศพของไลก้าก็ตกลงสู่โลก และไหม้สลายหมดไปในอากาศ ความเร็วของสปุตนิก2 ที่วนรอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 42 นาที และจำนวนรอบที่วนทั้งหมด 2,370 รอบ

 

รูปดาวเทียมสปุตนิก 2

 

รูปภายในดาวเทียมสปุตนิก 2 มีสิ่งมีชีวิตเป็นสุนัขที่ชื่อ ไลก้าอยู่ในดาวเทียมเพื่อการทดลองทางวิทยาศาสตร์

 

วิดีโอสปุตนิก 2 ที่มีสุนัขไลก้าอยู่ในดาวเทียมด้วย

 

รูปอนุสาวรีย์ไลก้า

 

คุณูปการของดาวเทียมสปุตนิกได้สร้างความรู้พื้นฐาน ที่ถูกนำมาใช้พัฒนาในดาวเทียมในปัจจุบัน และในอนาคต

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก


คนที่ไม่เคยทำผิดคือคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย

 

"The only man who never makes mistakes is the man who never does anything."
                                                                       
          T.Roosevelt

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา