บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 359
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 7,637
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 48,837
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,393,334
  Your IP :13.59.218.147

6. ช่องจังหวะการปล่อย? และประเภทของดาวเทียม

 

      ในการส่งดาวเทียม หรือคน หรือภารกิจอื่นขึ้นสู่อวกาศ นอกจากความพร้อมของยานอวกาศแล้ว วันเวลาสถานที่ในการปล่อยยานอวกาศ หรือจรวดก็มีความสำคัญมาก

 

      จะต้องมีการคำนวณเวลาสถานที่ที่จะปล่อย รวมทั้งการพยากรณ์สภาพอากาศให้พร้อมสมบูรณ์ 100% เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะผิดพลาดเพียงนิดเดียวก็อาจจะเกิดหายนะใหญ่หลวงได้

 

      ช่วงเวลาที่เหมาะสม เราเรียกว่า ช่องจังหวะการปล่อย (Launch window) นอกจากจะปล่อยยานแล้ว รวมถึงเวลานำยานกลับสู่พื้นโลกด้วย

 

รูปการปล่อยยานแต่ละครั้งต้องมีช่องจังหวะการปล่อย เพื่อป้องกันความผิดพลาดต่าง ๆ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ช่องจังหวะการปล่อยเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งยวด เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางออกสู่อวกาศ และในการลงสู่พื้นโลกถ้าเกิดปัญหาทีมช่วยเหลืออาจเข้าช่วยเหลือได้ทัน ถ้าสภาพในการปล่อยยาน สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ไม่สมบูรณ์ หอปฏิบัติการจำเป็นต้องสั่งยกเลิก หรือเลื่อนการปล่อยยานออกไปก่อน แล้วรอ หรือทำการแก้ไขส่วนที่ผิดพลาด และหาช่องจังหวะการปล่อยในโอกาสต่อไป

 

ดูวิดีโอแสดงช่องจังหวะการปล่อยยานผิดพลาดจนเกิดอุบัติเหตุ

 

      ในการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรก็เช่นกัน จะต้องหาช่องจังหวะการปล่อย ให้ถูกต้องในการส่งดาวเทียมไปสู่วงโคจร ถูกผิดพลาด การส่งไปสู่วงโคจรอาจไม่สมบูรณ์ เช่น หลุดจากวงโคจรออกสู่อวกาศ หรือตกลงสู่พื้นโลก

 

วิดีโอแสดงการปล่อยดาวเทียมจากนาซ่า

     

 

ประเภทของดาวเทียม

 

ดาวเทียมมีรูปร่าง และขนาดมากมายซึ่งจะเปลี่ยนไปตามการใช้งาน และความต้องการในการออกแบบ

 

· ดาวเทียมตรวจสภาพอากาศ (Weather satellites) ช่วยในงานอุตุนิยมวิทยา (Meteorologists) พยากรณ์อากาศ หรือคอยตรวจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบโลก ประเภทของดาวเทียมตรวจสภาพอากาศประกอบด้วยดาวเทียม TIROS, COSMOS และ GOES ภายในดาวเทียมจะมีกล้องเป็นส่วนประกอบหลัก สามารถถ่ายรูปสภาพอากาศของโลก ที่ควบคุมจากตำแหน่งสถานีภาคพื้นดิน หรือจากดาวเทียมที่วิ่งอยู่บนวิถีโคจร

 

รูปดาวเทียมตรวจสภาพอากาศ TIROS

 

· ดาวเทียมสื่อสาร (Communications satellites) ใช้ในการสนทนาทางโทรศัพท์ และส่งข้อมูลการสนทนากันผ่านดาวเทียม ตัวอย่างของดาวเทียมคือ Telstar และ Intelsat ส่วนประกอบที่สำคัญของดาวเทียมสื่อสารคือ มีเครื่องรับส่งเรดาร์หรือทรานสปอนเดอร์ (Transponder) รับสัญญาณเป็นคลื่นวิทยุ จากการสนทนาที่ความถี่ค่าหนึ่ง และผ่านภาคขยายสัญญาณ และส่งต่อกับไปที่โลก อีกครั้ง ในโครงข่ายความถี่อื่น ๆ ภาครับส่งทรานสปอนเดอร์ในดาวเทียมปกติมีประมาณ 100 หรือ 1000 ที่สามารถสื่อสารในเวลาเดียวกันกับภาคพื้นดิน

 

รูปดาวเทียมสื่อสาร Intelsat 18

 

· ดาวเทียมแพร่ภาพ (Broadcast satellites) แพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ จากจุดหนึ่งไปสู่จุดอื่น ๆ (มีความคล้ายคลึงกันกับดาวเทียมสื่อสาร)

 

รูปการใช้ดาวเทียมเป็นตัวกลางแพร่ภาพ

 

· ดาวเทียมทางวิทยาศาสตร์ (Scientific satellites) ปฏิบัติการทางด้านวิทยาศาสตร์ ในการทดลอง วิจัย ตรวจจับความเป็นไปทั้งใน และนอกโลก ตัวอย่าง กล้องโทรทัศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble space telescope) เป็นดาวเทียมทางวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง ทำหน้าที่ศึกษาความเป็นไป, ถ่ายภาพ อาทิเช่น การเกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sun spots) ถ่ายภาพกาแล็กซี่ที่อยู่ไกลโพ้น และส่งมายังสถานีภาคพื้นดินเพื่อศึกษาวิจัยต่อไป

 

รูปดาวเทียมฮับเบิล

 

วิดีโอแสดงภารกิจทางวิทยาศาสตร์ของฮับเบิล

 

· ดาวเทียมนำทาง (Navigational satellites) ช่วยในการนำทางเดินเรือ และเครื่องบิน ที่เห็นบ่อยที่สุดคือดาวเทียม GPS NAVSTAR

 

รูปดาวเทียมGPS NAVSTAR

 

· ดาวเทียมกู้ภัย (Rescue satellites) คอยทำหน้าที่รับส่งสัญญาณวิทยุ ที่ขอความช่วยเหลือ จากเรืออับปาง เครื่องบินตก และอุบัติเหตุอื่น ๆ ที่ติดตั้งสัญญาณรับส่งเพื่อที่ติดต่อกับดาวเทียมกู้ภัย

 

รูปดาวเทียมที่ใช้ในภารกิจกู้ภัย SARSAT

 

· ดาวเทียมสังเกตการณ์ของโลก (Earth observation satellites) เพื่อคอยสังเกตดาวโลก ที่เราอาศัย เพื่อคอยตรวจการ เฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่โลก รวมไปถึงคอยสำรวจจำนวนของพื้นที่ป่า เฝ้าสังเกตธารน้ำแข็งที่ขั้วโลก ดาวเทียม ที่รู้จักกันได้แก่ ดาวเทียมตระกูล LANDSAT

 

ดาวเทียม LANDSAT 7

 

รูปดาวเทียมสังเกตการณ์ของโลก ENVISAT

 

· ดาวเทียมทางทหาร (Military satellites) ใช้สังเกตสอดส่อง และเก็บข้อมูลทางฝ่ายตรงข้ามทางทหารที่เป็นความลับ ภายในดาวเทียมได้รวบรวมความเป็นไฮเทคโนโลยี มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดบรรจุอยู่ มีกล้องถ่ายภาพคอยสอดแนม จารกรรม ในการใช้งานประกอบด้วย

 

รูปดาวเทียม MITEX ที่ใช้ในทางทหาร

 

รูปดาวเทียมทางทหารกำลังถ่ายภาพ

 

ภารกิจของดาวเทียมทหารมีดังนี้

 

- ถอดรหัสการสื่อสาร

 

- เฝ้าสังเกตการณ์ด้านนิวเคลียร์

 

- สังเกตการณ์ การเคลื่อนไหวของศัตรู

 

- เตือนถึงขีปนาวุธที่ศัตรูปล่อยออกมา

 

- ดักฟังการสื่อสาร

 

- ภาพสะท้อนเรดาร์

 

- ถ่ายภาพ (ใช้ซึ่งต้องมีกล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ในการถ่ายภาพพื้นที่แนวข้าศึก หรือที่น่าสนใจในทางทหาร)

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

เขาแชร์ มา เราก็แชร์ไป

 

3 อย่าง ที่ผ่านไปแล้ว ไม่คืนกลับมา

เวลา

ชีวิต

วัยเยาว์

 

3 อย่าง ที่ส่งผลทำลายชีวิตเรา

โมโห

โอหัง

ใจแคบ

 

3 อย่าง ที่ทิ้งไม่ได้

ความเชื่อ

ความหวัง

ความรัก

 

3 อย่าง ที่ประมาณค่าไม่ได้

ความรัก

ความดี

มิตรภาพ

 

3 อย่าง ที่ไม่นิรันดร์

ความสำเร็จ

ทรัพย์สมบัติ

เกียรติยศ ชื่อเสียง

 

3 อย่าง ที่ช่วยเราให้สำเร็จ

ความรู้

สติปัญญา

วินัย

 

3 อย่าง ที่ต้องถนอมรักษา

พ่อแม่

ครอบครัว

 เพื่อนพ้อง

 

3 อย่าง ที่ใช้ในการทำงาน

เป้าหมาย

วิธีการ

อุดมการณ์

 

3 อย่าง ที่ใช้ในการคบมิตร

สัจจะ

จริงใจ

น้ำใจ

 

3 อย่าง ที่ต้องรักษาไว้ให้ดี

โอกาส

ชีวิต

มิตรภาพ

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา