บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,444
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 7,549
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 70,475
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,338,362
  Your IP :54.198.45.0

4. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

 

  

รูปเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในเขื่อน

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window 

 

      หัวใจสำคัญของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ก็คือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานกลมาเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยการเหนี่ยวนำของแม่เหล็ก คือการเคลื่อนที่ของขดลวดตัวนำผ่านสนามแม่เหล็ก หรือการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กผ่านขดลวด จะเกิดการเหนี่ยวนำไฟฟ้าขึ้นในขดลวดตัวนำนั้น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้ในโรงไฟฟ้าจะเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ แบบ 3 เฟส 4 สาย  

 

 

รูปหลักแผนภาพของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอย่างง่าย

 

 

รูปแผนภาพเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอย่างง่าย 2

     

      โรงไฟฟ้าพลังน้ำโรงหนึ่ง ๆ จะมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหลายเครื่อง เพื่อช่วยในการผลิตกระแสไฟฟ้า ให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค และเป็นการสลับการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่ให้ตัวใดตัวหนึ่งใช้งานหนักเกินไป หรือเอาไว้สำรองในเวลาที่ต้องทำการซ่อมแซมเครื่องจักรอุปกรณ์

 

รูปเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดยักษ์ ที่เขื่อนฮูเวอร์สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่า 2,000 MW

 

รูปส่วนประกอบหลักของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

 

 

ส่วนประกอบหลักของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีดังนี้

 

เพลา (Shaft) เป็นแกนโลหะทรงกระบอก รับแรงหมุนจากเพลาของกังหันมาหมุนเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า  

 

รูปเพลาที่ต่อระหว่างกังหัน และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 1

 

รูปเพลาที่ต่อระหว่างกังหัน และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 2

 

โรเตอร์ (Rotor) เป็นทุ่นหมุนมีขดลวดฝังอยู่รอบแกนโรเตอร์ที่ทำจากแผ่นซิลิกอนอัดแน่นเป็นชั้นพร้อมมีฉนวนกั้น เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าไหลวนกรแสไฟฟ้าที่ได้มาจะได้มาจากเอ็กไซเตอร์

 

รูปโรเตอร์

 

เอ็กไซเตอร์ (Excitor) อยู่ในแกนเดียวกับโรเตอร์ ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้ากระแสตรงป้อนให้แก่โรเตอร์ เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่โรเตอร์ขึ้น

 

รูปเอ็กไซเตอร์ป้อนไฟให้แก่โรเตอร์

 

สเตเตอร์ (Stator) เป็นขดลวดพันรอบแผ่นเหล็กอัดแน่นเหมือนโรเตอร์ เป็นขดลวดอยู่กับที่วางไว้อยู่รอบ ๆ ผนังของตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้า อาศัยการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กผ่านลวดตัวนำ จะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำแรงดันไฟฟ้าที่สเตเตอร์ และนำแรงดันไฟฟ้านี้ไปใช้งาน

 

รูปสเตเตอร์

 

 

หลักการทำงานง่าย ๆ ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ก็คือ

 

      เมื่อกังหันน้ำหมุนด้วยแรงดันของน้ำเหนือเขื่อนที่ปล่อยลงมาใส่กังหัน เพลาของกังหัน กับเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะต่อถึงกัน

 

      เมื่อกังหันหมุน เพลาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็หมุนตามไปด้วย ขณะที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุนแกนเพลาโรเตอร์ก็จะหมุนไปด้วยอยู่ภายในสเตเตอร์ โรเตอร์จะมีการจ่ายไฟเลี้ยงเข้าไปเพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก ขดลวดสเตเตอร์ก็จะเกิดการเหนี่ยวนำสร้างแรงดันไฟฟ้า

 

      แรงดันไฟฟ้าที่ผลิตได้จะจ่ายไปที่หม้อแปลงไฟขึ้น (Step-up transformer) เพื่อเพิ่มแรงดันไฟฟ้าสูงจนถึง 230,000 โวลต์ จ่ายไปตามเสาไฟฟ้าแรงสูง ไปถึงสถานีจ่ายไฟหลัก จะถูกหม้อแปลงไฟลง (Step-down transformer) ลดแรงดันลงมา เหลือ 69,000 โวลต์

 

      จากนั้นก็จะจ่ายไฟไปตามสถานีย่อยที่ต่าง ๆ และถูกลดแรงดันลงไปอีกเหลือ 11,000 โวลต์ และถูกส่งไปตามบ้านเรือนการไฟฟ้าจะมีการติดตั้งหม้อแปลงอีกชุด จาก 11,000 โวลต์ ให้เหลือ 380 โวลต์ หรือ220 โวลต์  

 

วิดีโอเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในเขื่อนฮูเวอร์

 

วิดีโอแอนิเมทชัน ของไฟฟ้าพลังน้ำ

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

“กะทิยิ่งเคี่ยวยิ่งมัน กระท้อนยิ่งทุบยิ่งหวาน
ชีวิตยิ่งพบปัญหา ยิ่งฉลาด”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา