บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 14
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 8,673
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 36,908
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,405
  Your IP :3.144.252.140

4. รอยเลื่อน

 

      รอยเลื่อนที่เกิดโดยแผ่นดินไหว ตามปกติแล้วจะมีอยู่ 4 ประเภท การเกิดรอยเลื่อนแต่ละครั้งจะสามารถแบ่งออกได้ตามการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ที่มีการเคลื่อนที่ระหว่างเกิดแผ่นดินไหวขึ้น

 

วิดีโอดิสคัฟเวอร์รี่ แผ่นดินไหว แผ่นเปลือกโลก และรอยเลื่อน

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

4.1 รอยเลื่อนปกติ

 

      ในรอยเลื่อนปกติ (Normal fault) ระนาบรอยเลื่อน เกือบที่จะเป็นแนวดิ่ง หินเพดาน (Hanging wall) เป็นแผ่นเปลือกหินที่อยู่ด้านบนที่อยู่เหนือแนวระนาบของรอยแตก ได้ถูกดันลงต่ำกว่า ส่วนที่เป็นหินพื้น (Footwall) ซึ่งเป็น แผ่นเปลือกหินที่อยู่อีกด้านของระนาบรอยแตก ดูที่รูป 

 

รูปรอยเลื่อนปกติ

 

รูปรอยเลื่อนปกติ

 

รูปตัวอย่างรอยเลื่อนตัวปกติ

 

รูปแอนิเมทชันรอยเลื่อนปกติ

 

แผ่นที่เลื่อนมันจะพยายามแยกรอยเลื่อนออกจากกัน ตามรูปที่แสดง รอยเลื่อนที่เป็นแบบแยกออกเหล่านี้ จะเป็นเหตุให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แบบ แนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว 

 

 

4.2 รอยเลื่อนย้อนขึ้น

 

      รอยเลื่อนตามระนาบที่เรียกว่า รอยเลื่อยย้อนขึ้น (Reverse fault) แบบนี้แนวรอยก็เกือบที่จะเป็นแนวดิ่งเหมือนกันกับแบบรอยเลื่อนปกติ แต่มันเกิดกลับกัน คือแทนที่จะแยกตัวออกจากกัน แต่มันกลับดันเข้าหากัน

 

รูปรอยเลื่อนย้อนขึ้น

 

รูปตัวอย่างรอยเลื่อนตัวแบบย้อนขึ้น

 

รูปแอนิเมทชันรอยเลื่อนย้อนขึ้น

 

      เกิดขึ้นได้โดยหินเพดานถูกดันขึ้น และหินพื้นถูกดันลง แผ่นเพลทหินถูกอัดตัว ยังมีการเลื่อนตัวของแผ่นหินที่เหมือนกัน นั่นก็คือการเคลื่อนที่แบบรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (Thrust fault)

 

รูปรอยเลื่อนแบบย้อนมุมต่ำ

 

รูปตัวอย่างรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ

 

เป็นการเคลื่อนที่เหมือนกับแบบรอยเลื่อนย้อนขึ้น แต่มันทำมุมกันไม่เกิน 45 องศา รอยเลื่อนแบบนี้ก็เกิดจากการบีบอัดเช่นกัน แผ่นหินของหินเพดาน ถูกผลักดันให้ขึ้นมาข้างบน ส่วนหินพื้นมันถูกกดลงมาด้านล่าง รอยเลื่อนที่เป็นแบบดันเข้าหากันเหล่านี้ เป็นเหตุให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แบบ แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน

 

 

4.3 รอยเลื่อนตามแนวระดับ    

 

รูปรอยเลื่อนสไลด์ขวา

 

รูปแอนิเมทชันรอยเลื่อนสไลด์ซ้าย

 

รูปรอยเลื่อนตามแนวระดับ

 

รูปตัวอย่างรอยเลื่อนตัวแนวระดับ 1

 

รูปรอยเลื่อนตัวแนวระดับ 2

 

รอยเลื่อนตามแนวระดับ (Strike-slip fault) การเคลื่อนที่ของรอยเลื่อน จะเคลื่อนในระนาบแนวนอน รอยเลื่อนที่เป็นแบบนี้ เป็นเหตุให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แบบ แนวเปลือกโลกชั้นนอกเคลื่อนผ่านกัน

 

วิดีโอชนิดของรอยเลื่อน

 

      รอยเลื่อนทั้งหมดเหล่านี้ จะเหมือนกันอยู่อย่างคือ แผ่นหินเคลื่อนที่ไปพร้อมกันจนเกิดความแน่นตัว แผ่นหินเปลือกโลกจะสร้างแรงเสียดทานระดับหนึ่ง ถ้ามันมีแรงเสียดทานที่มากพอ แผ่นเปลือกโลกบริเวณนั้นก็จะถูกล็อคอยู่นิ่ง และมันจะไม่เคลื่อนที่อีก

     

      แต่ก็ยังมีแรงอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ที่ยังคงทั้งผลัก และดันพวกมัน นานไปความกดดัน และพลังงานที่กักไว้ก็อาจเพิ่มมากขึ้น ที่เรียกว่า มันได้สะสมพลังงานศักย์ (พลังงานที่อยู่นิ่งกับที่แล้วรอ) (Potential energy) และถ้ามันถูกสะสมไว้มากเกินพอ มันก็จะเอาชนะแรงเสียดทาน จนการล็อคตัวของแผ่นดินก็จะหลุดออก ทำให้แผ่นเปลือกโลกบริเวณที่เกิดนั้นเกิดการแตกร้าวขยายออกไปตามชนิดของการเคลื่อนตัว การเคลื่อนที่นี้ก็คือการปล่อยพลังงานออกมาที่กลายเป็น พลังงานจลน์ (พลังงานที่เคลื่อนที่กำลังปล่อยออกมา) (Kinetic energy

 

      ทันทีที่ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงตามแนวรอยเลื่อน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินที่เกิดการไหวส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นตามขอบรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก เพราะว่ามันคือบริเวณที่เป็นรอยต่อเมื่อแผ่นดินสะเทือนขึ้นบริเวณรอยต่อ รอยต่อ และบริเวณแถบนั้นก็จะรู้สึกมากที่สุด แล้วถ้ายิ่งเป็นจุดศูนย์กลางด้วยแล้ว ความเสียหายก็จะเกิดขึ้นมากไปด้วย

 

      เกิดการสร้างโซนรอยเลื่อน กลุ่มของรอยเลื่อนบริเวณนั้นที่เชื่อมต่อกัน ในโซนรอยเลื่อน มันได้ปลดปล่อยพลังงานจลน์ที่หนึ่ง รอยเลื่อนอาจเพิ่มความเครียดให้กับแผ่นดินบริเวณนั้นไม่พอ ยังทำให้พลังงานศักย์ของแผ่นดินที่อยู่บริเวณใกล้เคียง เกิดการสะเทือนจนอาจเกิดการปล่อยออกมาเป็นพลังงานจลน์ที่เกิดนำไปสู่แผ่นดินไหวไปด้วย นี้จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ว่าทำไมการเกิดแผ่นดินไหวขึ้นครั้งหนึ่งจึงเกิดขึ้นเป็นบริเวณใกล้เคียงกันในช่วงเวลาสั้น ๆ

 

      การสั่นสะเทือนก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เราเรียกว่า แผ่นดินไหวนำ หรือฟอร์ช็อก (Foreshocks) หลังจากนั้นไม่นานก็จะเกิด แผ่นดินไหวของจริงที่มีความรุนแรงที่สุด เรียกว่า แผ่นดินไหว หรือการไหวหลัก หรือเมนช็อก (Mainshock) แล้วหลังจากการเกิดแผ่นดินไหวที่หนักหน่วงแล้วก่อนจะหยุดไหว ก็จะมีแผ่นดินไหวความรุนแรงน้อยกว่าของจริง เกิดขึ้นซึ่งอาจจะมีเป็นระลอก หลายครั้งต่อเนื่องกันไป เกิดหลังจากแผ่นดินไหวหลัก เราเรียกว่า แผ่นดินไหวตามหลัง หรืออาฟเตอร์ช็อก (Aftershocks)

 

วิดีโอการเกิดฟอร์ช็อก และอาฟเตอร์ช็อกของแผ่นดินไหว

 

กระบวนการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ที่เคยเกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้งมาแล้ว มักจะเป็นแบบนี้ คือ

 

ฟอร์ช็อก        ®   เมนช็อก        ®   อาฟเตอร์ช็อก

 

วิดีแอนิเมทชันแผ่นดินไหว

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ทุกอย่างรอบตัวเรา ทำให้เรามีความสุขได้หมด

แม้กระทั่งสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ถ้าเราใช้ใจเรามอง”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา