บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 4,274
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 11,552
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 52,752
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,397,249
  Your IP :3.17.150.89

5 คลื่นไหวสะเทือน

 

 

รูปโยนก้อนหินลงน้ำจะเกิดคลื่นวงกลมกระจายตัวออกรอบ ๆ หิน

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      เมื่อลองโยนก้อนหินลงในหนอง หรือแอ่งน้ำนิ่ง จะเห็นว่ามันเกิดคลื่นออกมาเป็นวง ๆ แล้วก็ขยายตัวออกไป การเกิดแผ่นดินไหวก็เป็นไปในทำนองเดียวกันที่เกิดกับพลังงาน เมื่อแผ่นเพลทหินแตก หรือเลื่อนตัว จะมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาเป็นคลื่น ที่เรียกว่า คลื่นไหวสะเทือน หรือคลื่นแผ่นดินไหว (Seismic Waves)

 

รูปคลื่นแผ่นดินไหว

 

รูปคลื่นไหวสะเทือน

 

      คลื่นไหวสะเทือน ทั่วไปมีอยู่ 2 ประเภทคือ คลื่นหลัก (Body waves) และ คลื่นพื้นผิว (Surface waves)

 

คลื่นหลัก เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านใต้โลก คลื่นหลัก ก็จะมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ คลื่นปฐมภูมิ (Primary waves) และ คลื่นทุติยภูมิ (Secondary waves)

 

รูปคลื่นพี และคลื่นเอส

 

คลื่นปฐมภูมิ หรือ เรียกอีกอย่างว่า คลื่นพี (P waves) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ได้เร็วที่สุด การเดินทางของคลื่นอาจเคลื่อนที่ได้ไวถึง 1.6 – 8 กิโลเมตร/วินาที (1- 5 ไมล์ /วินาที) เลยทีเดียว คลื่นสามารถเคลื่อนที่ผ่านของแข็ง, ของเหลว และก๊าซไปได้อย่างง่ายดาย

 

รูปคลื่นปฐมภูมิ

 

      ซึ่งมันจะเคลื่อนที่ผ่านหิน ขณะคลื่นเคลื่อนที่จะทำให้อนุภาคของหินก้อนเล็ก ๆ เคลื่อนที่สั่นไปมา ทั้งผลักดันกัน แล้วกลับมารวมกัน และผลักกันอีก การสั่นจะสอดคล้องกับทิศทางที่คลื่นเดินทาง คลื่นประเภทนี้ เมื่อเกิดบริเวณพื้นผิวจะเกิดการกระแทกอย่างทันทีจนเสียงดัง

 

รูปเทียบคลื่นพี และคลื่นเอส กับสปริง และเชือก ตามลำดับ

 

 

วิดีโออธิบายคลื่นพี และเอส

 

      คลื่นทุติยภูมิ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคลื่นเฉือน (Shear waves) หรือคลื่นเอส (S waves) เป็นคลื่นหลักอีกประเภทหนึ่ง การเคลื่อนที่ของคลื่นจะมีการเคลื่อนที่ที่ช้ากว่าคลื่นพี และมันสามารถเคลื่อนที่ผ่านได้แค่ของแข็งเท่านั้น

 

รูปคลื่นทุติยภูมิ

 

      ขณะที่คลื่นเอสเคลื่อนที่ พวกมันไล่อนุภาคหินออกไปจากแนวคลื่น โดยมันจะพยายามผลักดันให้ตั้งฉากกับเส้นทางการเคลื่อนที่ของคลื่น การเกิดขึ้นนี้จะส่งผลในเกิดการม้วนงอของแผ่นดินในช่วงเวลาแรก ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเกิดแผ่นดินไหว มันจะแตกต่างจากคลื่นพี

 

      คลื่นเอสไม่ได้เคลื่อนที่ผ่านโดยตรงสู่พื้นผิวโลก มันเพียงเคลื่อนที่ผ่านวัสดุของแข็งใต้พื้นโลกเท่านั้น และมันจะหยุดเมื่อเจอกับชั้นของเหลวใต้แกนโลก (Earth’s core)

 

คลื่นพื้นผิว (Surface waves) หรือรู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า คลื่นยาว (Long waves) หรือคลื่นแอล (L waves) เป็นการเคลื่อนที่ของคลื่นตลอดแนวพื้นผิวโลก มันยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทเช่นกัน คือ คลื่นเลิฟ (Love wave) และคลื่นเรย์ลี (Rayleigh wave) ความแตกต่างของมันอยู่ที่ทิศทางการสั่นไหว ดูตามรูป

 

รูปประเภทคลื่นพื้นผิว

 

วิดีโอคลื่นพื้นผิว

 

      เมื่อเกิดคลื่นพื้นผิวขึ้น ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมันจะเป็นความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สิน ในรูปแบบคลื่นเลิฟ มันจะแกว่งแบบซ้าย ขวาตามแนวนอน ส่วนรูปแบบคลื่นเรย์ลี มันจะมีการเคลื่อนที่ม้วนแบบขึ้น และลงบนพื้นผิวของโลก

 

      คลื่นพื้นผิว มักจะส่งผลต่อการโยกคลอนของอาคาร และสิ่งก่อสร้างของมนุษย์ การเคลื่อนที่ของคลื่นพื้นผิวจะเคลื่อนที่ได้ช้าที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับคลื่นทั้งหมด

 

      ซึ่งหมายความว่า มันจะมาเป็นคลื่นสุดท้าย หลังจากคลื่นหลักเกิดขึ้นไปแล้ว ดังนั้น การสั่นที่รุนแรงที่สุดมักจะมาตอนท้ายของการเกิดแผ่นดินไหว

 

รูปเปรียบเทียบแต่ละประเภทของคลื่นไหวสะเทือน

 

นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการคำนวณศูนย์กลางที่กำเนิดแผ่นดินไหว โดยการตรวจสอบคลื่นที่มีความแตกต่างกันเหล่านี้ ตอนหน้าจะมาดูแนวการคิดหาตำแหน่งศูนย์กลางของแผ่นดินไหวกัน

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“เราจะเข้าใจชีวิต เมื่อมองย้อนหลัง แต่ชีวิตเราต้องเดินไปข้างหน้า”

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา