บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,055
เมื่อวาน 1,244
สัปดาห์นี้ 2,055
สัปดาห์ก่อน 10,374
เดือนนี้ 13,586
เดือนก่อน 80,499
ทั้งหมด 4,701,642
  Your IP :98.81.24.230

3 ระบบกันสะเทือนแม่เหล็กไฟฟ้า

ระบบกันสะเทือนแม่เหล็กไฟฟ้า (ElectroMagnetic Suspension: EMS)

 

 

      คุณเคยเล่นแม่เหล็กมาก่อนไหม? ถ้าเคย คุณจะเห็นว่า ขั้วที่ต่างกันจะดูดกัน และขั้วที่เหมือนกันจะผลักกัน

 

 

รูปแม่เหล็ก

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

รูปแม่เหล็ก ขั้วที่ต่างกันจะดูดกัน ส่วนขั้วที่เหมือนกันจะผลักกัน

 

      นี้คือหลักการขั้นพื้นฐานของการขับเคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้า ในแม่เหล็กไฟฟ้ามีการทำงานคล้ายกับแม่เหล็กที่เราเห็นทั่วไป แต่ต่างกันตรงที่แม่เหล็กไฟฟ้าจะทำงานก็ต่อเมื่อมีการป้อนไฟฟ้าเข้าไป

 

รูปแม่เหล็กไฟฟ้า

 

รูปการทดลองแม่เหล็กไฟฟ้า

 

      เมื่อไม่ป้อนไฟฟ้าเข้าไปในวงจร ก็จะไม่มีการทำงาน ส่วนความรู้เกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้าจะไม่กล่าวถึงในที่นี้ คุณสามารถสร้างแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดเล็กได้ โดยการนำลวดทองแดงพันขดเป็นเกลียว และนำไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ต่อที่ขั้วหัวและท้าย กระแสไฟที่วิ่งผ่านไปในขดลวดนั้นจะสร้างสนามแม่เหล็กขนาดเล็กให้เกิดรอบ ๆ ขดลวด

 

 

รูปการสร้างแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างง่าย ๆ

 

 

รูปแม่เหล็กไฟฟ้าโดยการพันขดลวดอาบน้ำยาแล้วป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไป

 

 

ระบบส่วนใหญ่ของพลังงานแม่เหล็ก

 

            การสร้างสนามแม่เหล็กในขดลวดนี้เป็นแนวคิดพื้นฐานในการสร้างระบบรถไฟหัวกระสุน โดยมีองค์ประกอบหลัก ๆ อยู่สามส่วนได้แก่

 

-          แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่

 

-          ขดลวดคอยล์โลหะที่ทำเป็นรางรถไฟ และผนังด้านข้าง

 

 

รูปรางรถไฟที่มีการฝังชุดแม่เหล็กไฟฟ้า

 

-          แม่เหล็กขนาดใหญ่ที่ติดตั้งอยู่ใต้ขบวนรถไฟ

 

 

รูปการฝังชุดสนามแม่เหล็กที่รถไฟ และตัวราง กับผนังข้าง

 

วิดีโอการทดลองยกตัว

 

วิดีโอการทดลองยกตัว 2

 



           ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างรถไฟหัวกระสุน กับรถไฟธรรมดา อยู่ตรงที่รถไฟหัวกระสุนจะไม่มีเครื่องยนต์ ที่จะขับเคลื่อนขบวนรถไฟ

 

เครื่องยนต์ที่ใช้กับรถไฟหัวกระสุนนั้น แทนที่จะใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล กลับใช้วิธีการสร้างสนามแม่เหล็กแทนโดยมีคอยล์สร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electrified coils) ในที่ฝังในผนังรางรถไฟ และรางรถไฟ เพื่อใช้ขับเคลื่อนขบวนรถ

 

 

รูปความแตกต่างกันของอีเอ็มเอส และอีดีเอส

 

รูปรถไฟความเร็วสูงแบบอีเอ็มเอส และอีดีเอส

 

วิดีโอเปรียบเทียบระบบทั้งสอง

 

 

รูปรถไฟความเร็วสูงแบบอีเอ็มเอส

 

      ระบบกันสะเทือนแม่เหล็กไฟฟ้า หรืออีเอ็มเอส เป็นการสร้างแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกควบคุมด้วยแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เกิดแรงดึงดูดในการลอยตัว เหนือในราง (ปกติเป็นเหล็กกล้า) การดึงดูดรถไฟเหนี่ยวนำแม่เหล็ก

 

 

รูปการวางแนวแม่เหล็กของรถไฟความเร็วสูงแบบอีเอ็มเอส

 

วิดีโอการทำงานของรถไฟความเร็วสูงแบบอีเอ็มเอส

 

      แม่เหล็กที่ที่ทำให้เกิดการลอยตัวของรถไฟจะดึงดูด ตัวนำที่ด้านใต้ของราง แรงดึงดูดระหว่าง ราง กับรถไฟจะมีค่าที่สามารถเอาชนะแรงดึงดูดของโลกได้ นี้จะทำให้รถไฟลอยตัว และวิ่งไปบนรางได้

 

 

รูปรถไฟความเร็วสูงแบบอีเอ็มเอส

 

      ร่องนำแม่เหล็ก (Guidance magnets) จะอยู่ด้านข้างของราง ซึ่งจะไม่มีการสัมผัสกับตัวรถไฟ เพราะถ้าสัมผัสมันจะสร้างความเสียหาย และแรงเสียดทานให้แก่รถไฟ ร่องนำแม่เหล็กจะมีหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กเพื่อผลักดันรถไฟให้วิ่งไปตามราง

 

 

รูปภาคตัดรถไฟความเร็วสูงแบบอีเอ็มเอส

 

      ที่รูปด้านบน เราจะเห็นว่าตัวรถไฟจะห่อคลุมเกือบรอบราง เพราะเหตุนี้ รถไฟแบบอีเอ็มเอส จึงเป็นรถไฟที่มีความปลอดภัย และนั่งสบาย

 

      การที่เกิดการลอยตัวของรถไฟ ทำให้รถไฟวิ่งด้วยความเร็วที่สูง ถึงแม้ขณะที่ใช้ความเร็วต่ำ

 

      ความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กที่อยู่ภายในห้องโดยสาร มีค่าน้อย จึงมีความปลอดภัยต่อการทำงานของหัวใจของผู้โดยสาร หรืออุปกรณ์ที่ไวต่อสนามแม่เหล็ก เช่น เครดิตการ์ด หรือฮาร์ดดิสก์ ความรุนแรงของมันเปรียบได้กับสนามแม่เหล็กของโลก และต่ำกว่าความเข้มของสนามแม่เหล็กในที่เป่าผม, สว่าน หรือจักรเย็บผ้า

 

      ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ รถไฟอีเอ็มเอสจะมีอุปกรณ์เสริม นั่นก็คือ แบตเตอรี่สำรองเพื่อไม่ให้รถไฟเข้ากระแทกกับรางอย่างทันที

      รถไฟความเร็วสูงอีเอ็มเอส ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนถึงขณะที่เรียกว่า เป็นระบบส่งผ่านรวดเร็ว (Transrapid system) รถไฟรูปแบบนี้ นำมาใช้ในจีน และเยอรมัน           

 

รูปรถไฟความเร็วสูงแบบอีเอ็มเอส

 

     

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

“มิตรภาพไม่ได้สำคัญว่า ใครมาก่อน มาหลัง

แต่มันอยู่ที่ว่า ใครที่เข้ามาในชีวิตคุณแล้ว

 

ไม่เคยเดินจากไป ต่างหาก”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา