บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 194
เมื่อวาน 1,670
สัปดาห์นี้ 3,782
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 32,017
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,376,514
  Your IP :18.188.40.207

2. คลื่นความถี่ของโทรศัพท์มือถือ

 

      ในยุคก่อนที่จะมีโทรศัพท์มือถือ มีหลายคนที่นิยมใช้วิทยุสื่อสารแบบติดตัว วิทยุสื่อสารแบบวอกกี้ทอร์กกี้ (walkie talkie), ติดตั้งในรถยนต์, ติดตั้งในที่พักอาศัยแล้วขึ้นเสาสูง วิทยุความถี่ประชาชน หรือวิทยุซีบี (CB radio) (ในปัจจุบันก็ยังคงมีใช้งานอยู่ในกลุ่มเฉพาะ)

 

รูปวิทยุสื่อสาร

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปวิทยุซีบี

 

      ในระบบวิทยุโทรศัพท์สื่อสาร (Radio telephone system) จะมีหอเสาอากาศรับ / ส่งสัญญาณ ต่อหนึ่งอาณาบริเวณ หรือหนึ่งเมือง และอาจจะมีช่องสัญญาณถึง 25 ช่อง ในหอเสาอากาศรับ / ส่งสัญญาณนั้น

 

รูปการรับ / ส่งสัญญาณในวิทยุโทรศัพท์สื่อสาร

 

หอเสาอากาศกลาง สามารถทำการส่งการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ อาจมีกำลังส่งไปได้ไกลมากถึง 70 กิโลเมตร (ประมาณ 50 ไมล์) แต่การพูดคุยมันมีข้อจำกัด นั่นมีหมายความว่ามีคนที่ใช้งานอยู่จำนวนไม่มาก ที่จะสามารถใช้วิทยุโทรศัพท์นี้ได้ ซึ่งไม่เพียงพอต่อช่องการใช้งาน

 

โดยทั่วไปมีการจำแนกการสื่อสาร อยู่ 3 ประเภท ได้แก่

 

v การสื่อสารแบบทางเดียว (Simplex communication) เป็นการสื่อสารแบบทิศทางเดียว โดยจะมีแต่ละฝ่ายจะทำหน้าที่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เช่น ฝ่ายหนึ่งเป็นเพียงผู้ส่งเท่านั้น แต่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นเพียงผู้รับเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การฟังวิทยุกระจายเสียง, การดูโทรทัศน์ ฯลฯ

 

รูปวิทยุ โทรทัศน์ และเสาส่งสัญญาณจากสถานี

 

v การสื่อสารแบบสองทิศทางสลับกัน (Half duplex communication) การสื่อสารโดยการส่งข้อมูลแบบช่องทางเดียว ทำให้ไม่สามารถรับ และส่งข้อมูลพร้อมกันได้ แต่จะใช้วิธีการสลับกันพูด สลับกันฟัง สามารถเปลี่ยนสถานะจากผู้รับกลายเป็นผู้ส่ง และจากผู้ส่งก็กลายเป็นผู้รับสลับกันจากการกดสวิตซ์เปลี่ยนในแต่ละครั้ง ยกตัวอย่างเช่น วิทยุสื่อสารวอล์กกี้ ทอล์กกี้ หรือ วอ

 

รูปวอ วิทยุสื่อสาร

 

v การสื่อสารแบบสองทิศทางในเวลาเดียวกัน (Full duplex communication) ทั้งฝ่ายผู้รับ และฝ่ายผู้ส่ง สามารถพูดคุย และรับฟังได้ในเวลาเดียวกันได้ โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายหยุดก่อน ยกตัวอย่างเช่น โทรศัพท์บ้าน, โทรศัพท์มือถือ  ซึ่งผู้สนทนากันจะสามารถโต้ตอบกันได้ในเวลาเดียวกัน   

 

รูปโทรศัพท์มือถือ

 

      จากการรับส่งแบบสองทิศทางในเวลาเดียวกัน จึงเกิดการพัฒนาในระบบโทรศัพท์มือถือ ให้มีความอัจฉริยะของระบบนี้ นั่นก็คือ จะมีการแบ่งส่วนของอาณาบริเวณเมืองเข้าสู่รูปแบบเซลล์ (Cells) เหมือนรังผึ้ง จากการตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์

 

รูปแบ่งสัญญาณเป็นช่องเซลล์

 

รูปเสาสัญญาณมือถือ

 

 เมื่อทำแบบนี้ นอกจากจะช่วยให้ใช้งานได้ความถี่อย่างกว้างขวางทั่วเมือง แล้วทำให้คนนับล้านสามารถใช้โทรศัพท์มือถือพร้อมกันได้อีกด้วย

 

      วิธีที่ดีที่จะทำให้มีความเข้าใจในความซับซ้อนของโทรศัพท์มือถือ ก็คือ การเปรียบเทียบโทรศัพท์มือถือกับวิทยุสื่อสารวอล์กกี้ ทอล์กกี้ หรือวิทยุความถี่ประชาชน ซึ่งเป็นดังนี้

  

o  การสื่อสารสองทิศทางในเวลาเดียวกัน กับการสื่อสารสองทิศทางสลับกัน ในการสื่อสารสองทิศทางสลับกัน เป็นอุปกรณ์ได้แก่ วิทยุสื่อสารวอล์กกี้ ทอล์กกี้ หรือวิทยุซีบี นั่นคือ คนสองคนสื่อสารกันในวิทยุซีบีโดยใช้ความถี่เดียวกัน ดังนั้น จึงมีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่คุยได้อีกคนเป็นผู้ฟัง ส่วนการสื่อสารสองทิศทางในเวลาเดียวกัน อุปกรณ์นั่นหมายถึงคุณใช้ความถี่หนึ่งสำหรับใช้พูด และมีอีกความถี่หนึ่งที่แยกออกมาสำหรับใช้ฟัง ทำให้คนสองคนสามารถคุย และฟังได้ในเวลาเดียวกัน

 

o    ช่องสื่อสาร (Channels) วิทยุสื่อสารเป็นประเภทช่องสื่อสารเดียว และวิทยุซีบีมีถึง 40 ช่อง ส่วนโทรศัพท์มือถือสามารถมีช่องสื่อสารได้ถึง 1,664 ช่อง หรือมากกว่านั้น

 

รูปตัวอย่างช่องสื่อสาร

 

o  ระยะสื่อสาร (Range) ในวิทยุสื่อสารขนาดเครื่องส่งสัญญาณ 0.25 วัตต์ สามารถส่งได้ไกลประมาณ 1.6 กิโลเมตร (1 ไมล์) ถ้าในวิทยุซีบีที่ใช้เครื่องส่งสัญญาณ 5 ซึ่งสามารถส่งได้ไกลถึง 8 กิโลเมตร (5 ไมล์) วัตต์ เพราะว่ามันมีกำลังส่งสูงกว่า ส่วนโทรศัพท์มือถือทำงานภายในเซลล์ และพวกมันสามารถเปลี่ยนย้ายเซลล์ไปรอบ ๆ ได้ เซลล์ให้ระยะสื่อสารในระยะที่เหลือเชื่อ บางคนใช้โทรศัพท์มือถือ สามารถขับรถไปได้หลายร้อยไมล์ และมันก็ยังสามารถโทรศัพท์ได้ตลอดเพราะเข้าสู่ระบบเซลลูลาร์ (Cellular)

 

รูปตัวอย่างของระยะสื่อสารของวิทยุสื่อสาร

 

รูปตัวอย่างระบบเซลลูลาร์ในมือถือ

 

      ในชนิดของโทรศัพท์มือถือแบบอนาล็อกในสหรัฐอเมริกา ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือจะใช้ ภาครับที่มีความถี่ประมาณ 800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)  เพื่อใช้รับ / ส่งข้ามเมือง ผู้ให้บริการจะสับขึ้นจากเมืองไปยังเซลล์ โดยในแต่ละเซลล์ที่มีขนาดปกติจะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 26 ตารางกิโลเมตร (10 ตารางไมล์) เซลล์ปกติจะถูกคิดเป็นรูปหกเหลี่ยมบนตารางของหกเหลี่ยมขนาดใหญ่

 

รูปเซลล์ของพื้นที่โทรศัพท์มือถือ

 

เพราะว่าโทรศัพท์มือถือ และสถานีฐาน (Base stations) ใช้เครื่องส่งสัญญาณกำลังต่ำ ความถี่เดียวสามารถนำมาใช้ใหม่ในเซลล์ที่อยู่ติดกัน ทั้งสองเซลล์ สีม่วง สามารถใช้ความถี่เดียวกัน

 

รูปตัวอย่างสถานีฐาน ที่มีเสาสัญญาณ และห้องบรรจุอุปกรณ์วิทยุ

 

      ในแต่ละเซลล์จะมีสถานีฐาน ที่ประกอบไปด้วยหอสัญญาณ และอาคารขนาดเล็กเพื่อบรรจุอุปกรณ์วิทยุ ซึ่งจะได้อธิบายถึงสถานีฐานทีหลัง ในอันดับแรกนี้ ให้รู้จักกับเซลล์ก่อน ในการทำให้เกิดระบบเซลลูลาร์

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“รู้จักให้ รู้จักรับ

รู้จักปรับ รู้จักให้อภัย

รู้จักแบ่ง รู้จักได้

รู้จักแข็ง รู้จักคลาย

ชีวิตจะเบาสบาย และมีความสุข”

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา