บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 572
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,231
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,466
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,963
  Your IP :3.145.59.187

5. โทรศัพท์มือถือแบบอนาล็อก

 

 

รูปโทรศัพท์มือถืออนาล็อก

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ในปี พ.ศ. 2526 โทรศัพท์มือถือแบบอนาล็อก (Analog cell phone) หรือถูกนับให้เป็น ยุคที่ 1 (1 G: Generation) ซึ่งตัวเครื่องจะมีขนาดใหญ่ และหนักมาก มีทั้งรุ่นที่เป็นกระเป๋าหิ้ว และรุ่นที่เรียกว่ารุ่นกระดูกหมา หรือกระติกน้ำ ยุคนั้นยังไม่มีการใช้ซิมการ์ด

 

      ตามมาตรฐานสากลในขณะนั้น จะถูกเรียกว่า ระบบมือถือขั้นสูง หรือแอมปส์ (Advanced Mobile Phone System: AMPS) ที่ได้รับการอนุมัติโดย กรรมาธิการกิจการสื่อสารของสหรัฐอเมริกา (U.S. Federal Communications Commission: FCC) และถูกนำมาใช้ครั้งแรกในรัฐชิคาโก ของสหรัฐอเมริกา

 

 

รูปโทรศัพท์มือถือแบบอนาล็อก

 

 

รูปโทรศัพท์มือถืออนาล็อก

 

      แอมปส์ ใช้ช่วงความถี่ระหว่าง 824 เมกะเฮิรตซ์ (Megahertz:MHz) ถึง 894 MHz ซึ่งนำมาใช้สำหรับโทรศัพท์มือถือแบบอนาล็อก สมัยนั้นเพื่อส่งเสริมการแข่งขันทางการตลาด และต้องการให้ราคาให้ต่ำ รัฐบาลของสหรัฐจึงต้องการผู้ให้บริการสองเจ้าในตลาด รู้จักกันในนาม ผู้ให้บริการ เอ และบี

 

      หนึ่งในผู้ให้บริการ จะเรียกว่า ผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนท้องถิ่น (Local-Exchange Carrier: LEC) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการในท้องถิ่นนั้น สถานีฐานที่ให้บริการก็ยังคงมีอยู่น้อย ผู้ให้บริการเอ และบีจะได้รับมอบหมายหน้าที่ในแต่ละคลื่นความถี่ เช่น 832 MHz มีช่องสัญญาณ 790 ช่องสำหรับเสียง และอีก 42 ช่องสำหรับข้อมูล

 

 

รูปโทรศัพท์มือถืออนาล็อก

 

      หนึ่งคู่ของความถี่ (หนึ่งคือการส่ง และอีกหนึ่งคือการรับ) ถูกนำมาใช้เพื่อการสร้างช่องทางหนึ่ง  ความถี่ที่ใช้ในช่องเสียงแบบอนาล็อก จะใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง เป็นชนิดความถี่ 30 กิโลเฮิรตซ์ (kilohertz: kHz) ซึ่งในความถี่ 30 kHz นี้ จะได้รับเลือกให้ใช้เป็นมาตรฐาน เพราะมันจะช่วยทำให้คุณภาพเสียงเทียบเท่ากับโทรศัพท์มือถือแบบใช้สาย จะมีสถานีฐานทำหน้าที่รับส่งสัญญาณไปยังโทรศัพท์มือถือ ซึ่งในหนึ่งคลื่นความถี่จะเท่ากับหนึ่งช่องสัญญาณ

 

      ความถี่ในการส่ง และในการรับของแต่ละช่องเสียงจะถูกแยกจากกันด้วยช่วงความถี่ 45 MHz เพื่อปกป้องพวกมันจากคลื่นรบกวนย่านอื่น ๆ ทำให้ผู้ให้บริการแต่ละเจ้าจะมีช่องสัญญาณ 395 ช่องเสียง และมี 21 ช่องข้อมูล เพื่อใช้สำหรับการบริหารจัดการการรับ และโทรออก

 

      รุ่นหนึ่งของแอมปส์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา รู้จักกันในชื่อ การให้บริการโทรศัพท์ขั้นสูงแถบลูกศร หรือแนมปส์ (Narrowband Advanced Mobile Phone Service: NAMPS) ประกอบด้วยการรวมเทคโนโลยีดิจิตอลบางอย่างเข้ามา เพื่อให้ระบบดำเนินการได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นถึงสามเท่าในการโทรพร้อมกันเป็นจำนวนมาก

 

 

รูปการโทรด้วยโทรศัพท์มือถืออนาล็อก

 

      ถึงแม้จะใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเพิ่มเข้ามา แต่มันก็ถือว่าแอมปส์ และแนมปส์ยังคงเป็นอนาล็อก ทำงานได้ในเพียงแถบคลื่น 800 MHz เท่านั้น คุณภาพของเสียงก็ยังไม่คมชัดเท่าที่ควร ขณะใช้งานการโทรก็มักจะเกิดปัญหาที่สายหลุดบ่อย อีกทั้งมีความเสี่ยงต่อการลักลอบดักฟังสูง

 

      ในมือถือยุค 1 จี ยังไม่ได้มีความสามารถที่หลากหลาย เป็นเพียงแค่เน้นการโทรเข้า และโทรออกเท่านั้น ยังไม่มีการรับส่งข้อความ หรือเอสเอ็มเอส (SMS) อีกทั้งยังไม่มี การใช้อีเมล์ และการท่องเว็บ ซึ่งผู้ใช้งานส่วนใหญ่มักจะเป็นนักธุรกิจที่มีฐานะ และต้องใช้ติดต่องานตลอดเวลา

 

วิดีโอโฆษณามือถืออนาล็อกสมัยก่อน

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

อัญเชิญพระบรมราโชวาทของในหลวง

          “การจะทำงานให้มีประสิทธิผลและให้ ดำเนินไปได้โดยราบรื่นนั้น จำเป็นอย่างยิ่ง จะต้องทำด้วยความรับผิดชอบอย่างสูงไม่ บิดเบือนข้อเท็จจริงไม่บิดเบือนจุดประสงค์ที่แท้จริงของงาน

          สำคัญที่สุดต้องเข้าใจความหมาย ของคำว่า ความรับผิดชอบเพราะความรับผิดชอบ คือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ทำ จะหลีกเลี่ยงละเลยไม่ได้”  

    
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทาน 
ปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
16 กรกฏาคม 2519
  

ทรงพระเจริญ

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา