บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,837
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 7,942
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 70,868
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,338,755
  Your IP :34.206.1.144

8. เครือข่าย 2 จี

 

      เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ จะมีการแบ่งออกเป็นยุค ๆ จากที่ได้กล่าวเบื้องต้นมาแล้ว คือ 1จี, 2จี, 3จี, 4จี และอนาคตอันใกล้ก็จะเป็น 5จี

 

 

รูปโทรศัพท์ยุคต่าง ๆ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ยุค 2G เป็นยุคที่พัฒนาต่อมา โดยการเข้ารหัสสัญญาณเสียง ด้วยการบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิตอล ให้มีขนาดจำนวนข้อมูลให้น้อยลง ซึ่งเหลือเพียงประมาณ 9 กิโลบิตต่อวินาที ต่อช่องสัญญาณ

 

ยุค 2จี ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอยู่สามเทคโนโลยีที่ใช้ในการส่งข้อมูล ดังนี้

 

v การเข้าถึงความถี่หลายช่องทาง หรือเอฟดีเอ็มเอ (Frequency Division Multiple Access: FDMA)

 

v การเข้าถึงในเวลาหลายช่องทาง หรือทีดีเอ็มเอ (Time Division Multiple Access: TDMA)

 

v การเข้าถึงรหัสหลายช่องทาง หรือซีดีเอ็มเอ (Code Division Multiple Access: CDMA)

 

 

 

รูปเทคโนโลยียุค 2 จี

 

      แม้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้อาจมีเสียงขาด ๆ หาย ๆ หรือสายหลุดอยู่บ้าง แต่จากการพัฒนามาเรื่อย ๆ ทำให้มีการปรับปรุงคุณภาพตลอดเวลา ทำให้คนใช้ในยุค 2 จีนี้ มีความรู้สึกว่าสะดวกสบายในการโทรมากขึ้น

 

            ในแต่ละชื่อด้านบนจะมีความแตกต่างกันไป ในคำส่วนหน้าด้านบนจะบอกถึงการนำเข้าไปสู่วิธีการ ส่วนคำข้างหลังจะบ่งบอกถึงการแยกช่องทางซึ่งจะขึ้นอยู่กับวิธีการเข้าถึง

 

ใน เอฟดีเอ็มเอ ทำให้การโทรแต่ละครั้งอยู่บนความถี่ที่แยกต่างหากกัน

 

ใน ทีดีเอ็มเอ จะช่วยกำหนดการโทรแต่ละครั้ง ขณะใดขณะหนึ่งของเวลาในความถี่ที่กำหนด

 

ใน ซีดีเอ็มเอ ให้รหัสที่ไม่ซ้ำกันในการโทรแต่ละครั้ง และสามารถกระจายรหัสของมันไปมากกว่าความถี่ที่มีอยู่

 

 

8.1 เอฟดีเอ็มเอ

 

รูปช่วงคลื่นความถี่ของเอฟดีเอ็มเอ

 

      เป็นการแยกแถบคลื่นความถี่ หรือสเปกตรัม (Spectrum)  ให้เป็นช่องทางเสียงที่แตกต่างกันโดย การแยกออกเป็นส่วนของแบนด์วิดธ์ หรือช่วงความถี่ของคลื่นวิทยุ (Banwidth)

 

 

รูปเอฟดีเอ็มเอ

 

เพื่อจะทำความเข้าใจในเอฟดีเอ็มเอ ให้นึกว่าเป็นสถานีวิทยุ แต่ละสถานีส่งสัญญาณความถี่ที่ต่างกันภายในแถบคลื่นความถี่ที่มีอยู่ เอฟดีเอ็มเอส่วนใหญ่จะใช้ส่งสัญญาณแบบอนาล็อก และแน่นอนมันก็เป็นพาหะในการส่งข้อมูลทางดิจิตอลด้วย แต่จะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าไหร่ในการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล

 

 

8.2 ทีดีเอ็มเอ

 

      การติดต่อจากสถานีลูก หรือตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่ กับสถานีฐาน ที่ใช้วิธีการทีดีเอ็มเอ ก็ คือการแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็ก ๆ และแบ่งกันใช้ ซึ่งจะทำให้ใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกมาก

 

 

รูปช่วงคลื่นความถี่ของทีดีเอ็มเอ

 

      เข้าสู่วิธีการใช้ประโยชน์ของ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics industry) และอุตสาหกรรมด้านการสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunications industry) ที่กำหนดเป็นมาตรฐานระหว่างช่วงเวลา (Interim Standard: IS)- 54 และมาตรฐานระหว่างช่วงเวลา- 136 (IS-136)

 

      การใช้ทีดีเอ็มเอใช้แถบคลื่นความถี่แคบ (Narrow band) ช่วงคลื่นกว้าง 30 kHz และความยาวคลื่น 6.7 มิลลิวินาที (milliseconds) มีการแบ่งเวลาออกเป็นสามช่อง

 

      แถบคลื่นความถี่แคบ หมายถึง ช่องสื่อสาร (Channels) ในความหมายดั้งเดิม คือการสนทนาแต่ละคนจากการรับวิทยุใช้เวลาหนึ่งในสาม นี้คือความเป็นไปได้เพราะว่าข้อมูลเสียงนั่นมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางดิจิตอลที่ถูกบีบอัด เพื่อให้มีพื้นที่น้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญในการส่ง

 

      เพราะฉะนั้น ทีดีเอ็มเอจึงมีความสามารถสามเท่าของระบบอนาล็อกในการใช้จำนวนที่เหมือนกันของช่องสื่อสาร ระบบทีดีเอ็มเอทำงานในแต่ละแถบคลื่นความถี่ 800 MHz (IS-54) หรือ 1900MHz (IS-136

 

รูปเทียบกันของเอฟดีเอ็มเอ และทีดีเอ็มเอ


วิดีโอการทำงานของทีดีเอ็มเอ

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ทำลายคนหนึ่งคน

ใช้แค่คำพูดคำเดียวก็เพียงพอ

แต่ถ้าปั้นคนหนึ่งคน

 

ต้องใช้คำพูดเป็นร้อยเป็นพันคำ”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา