บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,253
เมื่อวาน 1,918
สัปดาห์นี้ 3,171
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 31,406
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,375,903
  Your IP :3.145.201.71

บทที่ 2 กระแสไฟฟ้า

 

       อะตอมได้ถูกกำหนดให้เป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุ ภายในประกอบไปด้วยโปรตอน, นิวตรอน และอิเล็กตรอน อิเล็กตรอนวงนอกที่หลุดไปจากอะตอม ทำให้เกิดการไหลของอิเล็กตรอนเป็นที่มาของการผลิตกระแสไฟฟ้า

 

      บทนี้จะตรวจสอบถึง วิธีการการหลุดไปของอิเล็กตรอนอิสระจากอะตอมจนเกิดการผลิตกระแสไฟฟ้า และการใช้สัญกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งแสดงออกถึงตัวเลขที่มีขนาดใหญ่มาก และเล็กมากในรูปแบบของการเขียนให้เป็นรูปแบบอย่างง่ายในทางคณิตศาสตร์

 

 

2.1 ประจุไฟฟ้า

 

      อิเล็กตรอนสองตัวร่วมกัน หรือโปรตอนสองตัวร่วมกัน แสดงถึงประจุเหมือนกัน จะเกิดการผลักกันการเคลื่อนที่นี้เรียกว่า การผลักออก (Repelling) 

 

      ส่วนประจุที่ไม่เหมือนกันจะดึงดูดกัน การเคลื่อนที่นี้เรียกว่า การดูดกัน (Attracting) นี้คือกฎข้อที่หนึ่งของประจุไฟฟ้าสถิต ประจุที่เหมือนกันจะผลักกัน ส่วนประจุที่ต่างกันจะดูดกัน ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปกฎพื้นฐานของประจุไฟฟ้าสถิต

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

ตามกฎข้อที่สองของประจุไฟฟ้าสถิต

 

      อิเล็กตรอนลบ จะถูกดึงไปในทางโปรตอนบวกในนิวเคลียสของอะตอม แรงดึงดูดมีความสมดุลกันกับแรงเหวี่ยง ที่เกิดจากการวนรอบของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส เป็นผลทำให้อิเล็กตรอนยังคงอยู่ในวงโคจร และไม่ได้ถูกดึงเข้าไปในนิวเคลียส

 

      ปริมาณของแรงดึงดูด หรือแรงผลักออก ในการกระทำระหว่างประจุไฟฟ้าสองประจุ ขึ้นอยู่กับสองปัจจัย ก็คือ ประจุของตัวมันเอง และระยะทางของพวกมัน

 

 

รูปวาดชาร์ล คูลอมบ์

 

      อิเล็กตรอนเดียวจะมีประจุที่มีขนาดเล็กเกินไปสำหรับการนำไปใช้งานจริง หน่วยที่นำมาใช้สำหรับการวัดประจุก็คือ คูลอมบ์ (Coulomb: C) ชื่อนี้มาจาก ชาร์ล คูลอมบ์ (Charles Coulomb) ประจุไฟฟ้า (Q) มีอยู่ 6,240,000,000,000,000,000 อิเล็กตรอน (หกควินทอลเลียน (Quintillion), สองร้อยสี่สิบควอดริลเลียน หรือ 6.24 ´ 1018) จะเท่ากับหนึ่งคูลอมบ์

 

                  1 C = 6.24 ´ 1018 อิเล็กตรอน           (2.1)

 

      ประจุไฟฟ้าถูกสร้างขึ้นมาโดยการแทนที่ของอิเล็กตรอน เมื่อมีอิเล็กตรอนส่วนที่เกินออกมาที่จุดหนึ่ง และขณะนั้นจุดอื่น ๆ เกิดการขาดอิเล็กตรอน ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างศักย์ที่มีอยู่ระหว่างสองจุด แล้วเมื่อความแตกต่างจากศักย์ที่มีอยู่ระหว่างสองประจุ ถูกเชื่อมต่อกันด้วยตัวนำ อิเล็กตรอนก็จะไหลไปตามตัวนำ การไหลของอิเล็กตรอนนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้า (Current)

 

 

รูปการไหลของกระแสไฟฟ้า

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“คุยกับใครแล้วไม่สบายใจ อย่าคุย

ไปไหนแล้วไม่สบายใจ อย่าไป

รู้ว่าใครไม่หวังดี อย่าคบ”

พระมหาทศพร ปุญญังกุโร

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา