บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,690
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 10,349
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 38,584
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,383,081
  Your IP :3.17.74.227

2.2 การไหลของกระแสไฟฟ้า

 

      กระแสไฟฟ้าประกอบไปด้วยการล่องลอยของอิเล็กตรอนจากพื้นที่ของประจุลบไปถึงพื้นที่ของประจุบวก หน่วยการวัดของการไหลของกระแสก็คือ แอมแปร์ (Ampere: A)

 

      แอมแปร์ เป็นจำนวนของกระแสไฟฟ้าในตัวนำ เมื่อคูลอมบ์หนึ่งประจุเคลื่อนที่ผ่านจุดหนึ่งในหนึ่งวินาที ความสัมพันธ์ระหว่างแอมแปร์ และคูลอมบ์ต่อวินาทีสามารถอธิบายเป็นสมการได้ดังนี้

 

                        I = Q/t                          (2.2)

 

กำหนดให้ I = กระแสไฟฟ้า (A)

              Q = ปริมาณของประจุไฟฟ้า (C)

              t = เวลา (sec)

 

 

ตัวอย่างที่ 2.1 จะเกิดกระแสไฟฟ้ากี่แอมแปร์ ถ้ามีปริมาณประจุไฟฟ้า 9 คูลอมบ์ไหลผ่าน ณ จุดหนึ่งในวงจรไฟฟ้าเป็นเวลา 3 วินาที

 

วิธีทำ โจทย์กำหนดให้ I =? , Q = 9 C และ t = 3 sec

I = Q/t

                         = 9 C / 3 sec = 3 A         ตอบ

 

 

ตัวอย่างที่ 2.2 วงจรไฟฟ้าหนึ่ง ใช้กระแสไฟฟ้า 5 แอมแปร์ ให้หาว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ที่ทำให้คูลอมป์หนึ่งไหลผ่านจุดหนึ่งในวงจร?

 

วิธีทำ โจทย์กำหนดให้ I =5 A , Q = 1 C และ t = ?

 

I = Q/t

5 A = (1C)/t

t = (1C)/(5A)

 

                         = 0.2 sec          ตอบ

 

 

                อิเล็กตรอน สถานะของพวกมันเป็นประจุลบ ถูกอธิบายเป็นการส่งประจุที่เคลื่อนที่ในวงจงไฟฟ้า เพราะฉะนั้น วงจรไฟฟ้าก็คือการไหลของประจุลบ นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรเคยคิดว่าการไหลของกระแสไหลในทิศทางตรงกันข้ามกับการไหลของอิเล็กตรอน

 

      จากการทำงาน เปิดเผยว่าการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจากอะตอมหนึ่งไปสู่อะตอมหนึ่ง เป็นไปในลักษณะของการสร้างประจุบวก เรียกว่า หลุม (Hole) เป็นการเคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้าม ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปอิเล็กตรอนเคลื่อนที่

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

รูปอิเล็กตรอนเคลื่อนที่จากอะตอมหนึ่งไปที่อื่น พวกมันสร้างลักษณะของประจุบวกที่เรียกว่า หลุม

 

รูปการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนเกิดขึ้นในทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของหลุม

 

ดังนั้น การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน และกระแสพบว่ามันเหมือนกัน

 

      หากอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นที่ด้านหนึ่งของตัวนำ และปลายอีกด้านต้องการอิเล็กตรอนมันจึงไหลไป นั่นคือการไหลของกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำ

 

      ซึ่งอิเล็กตรอนอิสระเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ ผ่านตัวนำ พวกมันจะปะทะกับอะตอมที่เป็นอิสระอื่น ๆ จะเกิดอิเล็กตรอนอิสระใหม่ ๆ พวกมันเหล่านี้จะเดินทางไปยังปลายด้านบวกของตัวนำ และชนกับอะตอมอื่น ๆ อีกต่อไป

 

      อิเล็กตรอนจะลอยจากขั้วลบไปสิ้นสุดที่ขั้วบวกของตัวนำ เพราะมีประจุขับ นอกจากนี้ ปลายด้านบวกของตัวนำ มีการขาดของอิเล็กตรอน มันจะดึงดูดอิเล็กตรอนอิสระ เพราะมีประจุดึงดูด

 

      การล่องลอยของอิเล็กตรอนช้า (ประมาณ หนึ่งในแปด นิ้วของวินาที (0.003175 m / s)) แต่อิเล็กตรอนในแต่ละตัวแฉลบออกจากอะตอม แล้วกระทบกับอิเล็กตรอนอื่น ๆ ที่อยู่อย่างหลวม ๆ ด้วยความเร็วแสง (186,000 mil/sec(3 x 108 m / s)) ยกตัวอย่างเช่น ลองดูภาพท่อกลวงที่มีความยาวซึ่งภายในเต็มไปด้วยลูกปิงปอง ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปอิเล็กตรอนในตัวนำคล้ายกับลูกปิงปองที่อยู่ในท่อกลวง

 

ซึ่งลูกปิงปองที่ถูกเติมเข้ามาที่ปลายด้านหนึ่งของท่อ ก็จะทำให้ปิงปองที่อยู่ที่ปลายอีกด้านหนึ่งของท่อกระเด็นออกไป แม้ว่าแต่ละลูกมีเวลาที่เคลื่อนที่ไปในท่อ ความเร็วของการกระแทกของมันสามารถทำให้ไปได้ไกลมากขึ้น

 

      อุปกรณ์ที่ให้อิเล็กตรอนที่ปลายด้านหนึ่งของตัวนำ (ขั้วลบ) และขจัดพวกมันที่ปลายอีกด้านของตัวนำ (ขั้วบวก) เรียกว่า แหล่งแรงดันไฟฟ้า (Voltage source) ซึ่งอาจเปรียบเทียบได้กับการทำงานของปั๊มของไหล ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปแหล่งแรงดันไฟฟ้าสามารถพิจารณาได้จากปั๊ม ที่จ่ายอิเล็กตรอนเพื่อให้แก่โหลด และผันอิเล็กตรอนส่วนเกิน

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

 

ถ้าทุกคนสนใจในความรักประเทศชาติ รักษาความดีเอาไว้

ไม่ต้องไปตามอย่าง ในสิ่งที่เราเห็นว่าไม่น่าที่จะเจริญ

ไม่น่าจะพัฒนา เราต้องรักษาแนวทางความคิดตามที่เรามีอยู่ 

แม้จะเป็นสิ่งที่ตกทอดมาแต่โบราณกาล จากปู่ย่าตายายของเรา แต่เป็นระเบียบการหรือเป็นวิธีการที่ดี จะไม่ล้าสมัย

 

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ๑๓ มีนาคม ๒๕๑๔

 

 

ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา