บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 371
เมื่อวาน 1,008
สัปดาห์นี้ 4,967
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 33,202
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,377,699
  Your IP :18.218.168.16

3.5 กราวด์

 

      กราวด์ หรือพื้นดิน หรือพื้นโลก (Ground) เป็นสิ่งที่บอกว่า ณ ตรงนี้ มันมีศักย์ หรือแรงดันไฟฟ้าเป็นศูนย์ (ไม่มีไฟฟ้า) ซึ่งส่วนอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากบริเวณกราวด์ อาจมีค่าแรงดันไฟฟ้าทั้งบวก หรือลบต่อพื้นดินก็ได้ กราวด์มีอยู่สองประเภทคือ กราวด์ที่เชื่อมกับพื้นโลก (Earth ground) และกราวด์ในแผงไฟฟ้า (Electrical ground)

 

 

รูปสัญลักษณ์ของกราวด์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

รูปแท่งกราวด์ที่ต่อลงดิน

 

 

รูปการต่อกราวด์ที่ท่อ

 

      วงจรไฟฟ้าทั้งหมดในบ้าน จะมีกราวด์ต่ออยู่ที่ตู้ควบคุม ตามท่อโลหะ และตู้ควบคุมก็จะถูกต่อลงกราวด์ที่พื้นดินต่อไป  ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปแผงวงจรในที่อยู่อาศัย และติดกับจุดร่วมต่าง ๆ (บัสกลาง)

 

 

รูปตู้ไฟฟ้าแสดงให้เห็นกราวด์

 

 

รูปในตู้ไฟฟ้าแสดงให้เห็นถึงกราวด์พื้นดิน และกราวด์นิวตรัล

 

จุดร่วม (บัสกลาง (Neutral bus))นี้เชื่อมต่อกันโดยใช้สายทองแดง ไปต่อกับแท่งทองแดงที่ต่อลงพื้นดิน หรือต่อกับท่อโลหะที่จ่ายน้ำให้กับบ้าน เพื่อปกป้องผู้ใช้งานจากการถูกไฟฟ้าดูด ในกรณีที่เกิดสิ่งผิดปกติกับอุปกรณ์ไฟฟ้า

 

 

รูปกราวด์ในรถยนต์เป็นกราวด์ไฟฟ้า

 

      กราวด์ไฟฟ้า (Electrical grounding) ที่พบทั่วไปคือถูกนำไปใช้ในยานยนต์ กราวด์ หรือสายลบจะต่อเข้ากับโครงตัวถัง (Chassis) ของรถยนต์ ที่ถูกใช้เป็นกราวด์ ดูได้จากการต่อขั้วลบของแบตเตอรี่ในรถยนต์ที่ต่อลงโครงรถ ซึ่งจุดนี้ หรือจุดใด ๆ ในตัวโครงรถก็จะถูกต่อเป็นกราวด์ ทำให้การต่อไฟฟ้าในรถยนต์เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถทำงานได้

 

      ในอิเล็กทรอนิกส์, กราวด์ไฟฟ้ามีจุดประสงค์ที่ต่างกัน: กราวด์จะถูกนิยามให้ที่จุดอ้างอิงเป็นศูนย์ ซึ่งในการวัดแรงดันไฟฟ้าทั้งหมด ดังนั้นแรงดันไฟฟ้าที่จุดใดก็ได้ในวงจรอาจวัดกับการอ้างอิงที่กราวด์ แรงดันไฟฟ้าที่วัดได้อาจเป็นบวก หรือลบเมื่อเทียบกับพื้นกราวด์

 

            ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ตัวถัง หรือโครงโลหะสามารถทำหน้าที่เป็นจุดกราวด์ได้ (จุดอ้างอิง) ในยานยนต์

 

      ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะมีโครงเหล็กกที่ใช้พลาสติกกั้นไว้ระหว่างโครงตัวถัง กับส่วนประกอบทั้งหมดที่เชื่อมต่อที่แผงบอร์ดวงจร ในกรณีนี้ กราวด์คือทองแดงที่อยู่บนแผงวงจรที่ทำหน้าที่เป็นจุดร่วมกับวงจร

 

 

รูปแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่จุดร่วมวงจรเป็นกราวด์

 

 

รูปโครงตัวถัง ที่การวางแผงวงจรจะมีชิ้นพลาสติกกั้น

 

        

บทสรุป

 

  • กระแสไฟฟ้าถูกสร้างขึ้นเมื่ออิเล็กตรอนถูกแรงกระทำจนหลุดออกจากวงโคจรของมัน
  • แรงดันไฟฟ้าให้พลังงานเพื่อขับอิเล็กตรอนออกจากวงโคจรของมัน
  • แหล่งกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หมายถึงการแปลงพลังงานรูปแบบใด ๆ จนกลายเป็นพลังงานไฟฟ้า
  • แหล่งกำเนิดแรงดันไฟฟ้าโดยทั่วไปแล้วมีอยู่ 6 ประเภท ได้แก่ การใช้แรงเสียดทาน, แม่เหล็ก, ใช้เคมี, แสง, ความร้อน และความดัน
  • ในทางกลับกัน แรงดันไฟฟ้าก็สามารถนำไปผลิต แม่เหล็ก, เคมี, แสง, ความร้อน และความดันได้
  • การใช้หลักการของแม่เหล็กเป็นที่นิยมมากที่สุดที่จะนำไปผลิตแรงดันไฟฟ้า
  • ส่วนการใช้ปฏิกิริยาทางเคมี เป็นที่นิยมรองลงมาในการที่จะผลิตไฟฟ้า
  • เซลล์ประกอบไปด้วยขั้วบวก และขั้วลบที่แยกกันโดยสารละลายอิเล็กโทรไลต์
  • แบตเตอรี่เป็นการผสมผสานเซลล์กันตั้งแต่สองเซลล์ขึ้นไป
  • เซลล์ที่ไม่สามารถนำไปประจุไฟได้อีกเรียกว่า เซลล์ปฐมภูมิ
  • ส่วนเซลล์ที่สามารถนำไปประจุไฟได้เรียกว่า เซลล์ทุติยภูมิ
  • แบตเตอรี่เซลล์กรด-ตะกั่ว และนิเกิลแคดเมียมเป็นตัวอย่างของเซลล์ทุติยภูมิ
  • เซลล์ และแบตเตอรี่สามารถเชื่อมต่อกันได้ในแบบอนุกรม, ขนาน และแบบผสมอนุกรมขนาน เพื่อเพิ่มแรงดันไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้า หรือเพิ่มขึ้นได้ทั้งคู่
  • เมื่อเซลล์ หรือแบตเตอรี่ถูกต่อในรูปแบบอนุกรม กระแสไฟฟ้าด้านขาออกยังคงเหมือนเดิม แต่แรงดันไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น

Itotal = I1 = I2 = I3           Etotal = E1 + E2 + E3

 

  • แต่เมื่อเซลล์ หรือแบตเตอรี่เชื่อมต่อกันแบบขนาน แรงดันไฟฟ้าด้านขาออกยังคงเหมือนเดิม แต่กระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

Itotal = I1 + I2 + I3           Etotal = E1 = E2 = E3

  • แรงดันไฟฟ้าที่ใช้กับวงจรเรียกว่า แรงดันไฟฟ้าปรากฏ
  • พลังงานที่ใช้โดยวงจรเรียกว่าแรงดันไฟฟ้าตก
  • แรงดันไฟฟ้าตกในวงจรจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าปรากฏ
  • กราวด์มีสองประเภทคือ พื้นโลก และไฟฟ้า
  • กราวด์พื้นโลกใช้เพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อตโดยการรักษาเครื่องใช้ และอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดที่ศักย์เหมือนกัน
  • กราวด์ไฟฟ้าเป็นจุดอ้างอิงทั่วไป

 

จบบทที่ 3

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“จงอย่างแต่งงาน กับคนที่คุณ

อยู่ด้วยได้

แต่ จงแต่งงานกับคนที่คุณ

ขาดไม่ได้

Don’t marry a person you can live with

but

marry somebody you can’t live without.

James C. Dobson

Author

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา