บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,153
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 8,383
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 36,618
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,115
  Your IP :18.119.126.80

4.7 การต่อตัวต้านทานแบบขนาน

 

      การต่อวงจรตัวต้านทานแบบขนาน จะมีตัวต้านทานอย่างน้อยสองตัวขึ้นไป และมีสายไฟ ที่เป็นเส้นทางการไหลของกระแสอย่างน้อยสองเส้นทาง แต่ละกระแสไฟฟ้าที่ไหล่ผ่านเส้นทางในวงจรขนาน เราเรียกว่า เส้นสาขาแยก (Branch)

 

 

รูปวงจรไฟฟ้าที่ต่อแบบขนาน

ที่มา :  https://weblab.deusto.es

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

หากสนใจหนังสือ อื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ 

คลิก 

 

 

รูปการต่อวงจรขนาน

ที่มา :  https://i.ytimg.com

 

                การไหลของกระแสไฟฟ้า ไหลจากด้านลบของแหล่งจ่ายแรงดัน ผ่านแต่ละวงจรสาขาของวงจรขนาน ไปยังด้านบวกของแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้า หากว่าในวงจรมีมากกว่าหนึ่งเส้นทาง สำหรับกระแสที่ไหลระหว่างสองจุดในวงจรที่มีตัวต้านทานอย่างน้อยสองตัว การต่ออุปกรณ์ หรือโหลดจะเป็นแบบหัวต่อหัว หางต่อหาง วงจรนั้นจะเรียกได้ว่าเป็น วงจรขนาน

 

 

รูปตัวอย่างวงจรขนาน

ที่มา :  https://www.ibiblio.org

         ถ้าหากว่ามีตัวต้านทานที่เชื่อมต่อแบบขนานมีมากกว่าสองตัว และถ้ายิ่งมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความต้านทานในการไหลของกระแสไฟฟ้าน้อยลง (เพราะมันสามารถมีช่องทางการไหลได้มากขึ้นนั่นเอง

 

      การต้านที่น้อยลง ก็คือ การไหลของกระแสไฟฟ้าไหลได้ดีขึ้น ความต้านทานในวงจรจะลดลง ในทางกลับกัน เมื่อเพิ่มตัวต้านทานมากขึ้นในวงจรขนาน ความต้านทานโดยรวมในวงจรจะลดลง เป็นเพราะว่า มันมีเส้นทางการไหลเพิ่มมากขึ้น ที่จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลได้หลายทาง ในวงจรขนาน ความต้านทานรวมจะน้อยกว่าความต้านทานของแต่ละแยกสาขา

 

ความต้านทานรวมในวงจรขนาน หาได้จากสมการด้านล่าง:

 

           

รูปสมการ 4.2

 

 กำหนดให้ RT = ความต้านทานรวม

                R1, R2, R3 = ความต้านทานในแต่ละตัว (เส้นทางแต่ละแยก)

                Rn = เป็นตัวต้านทานตัวสุดท้ายในวงจรนี้

 

 

ตัวอย่าง จงหาค่าความต้านทานของวงจรในรูปด้านล่าง

 

รูปตัวอย่าง

 

จากรูปด้านบน โจทย์กำหนดให้ R1 = 10 W,  R2 = 20 W ,  R3 = 30 W,  RT = ? W

 

วิธีทำ

จากสมการ (4.2)

รูปวิธีทำ

11RT = 60

RT = 60/11

                              = 5.45 W                        ตอบ

 

สังเกตว่า ความต้านทานรวมจะน้อยกว่าค่าตัวต้านทานที่น้อยที่สุดในวงจร (ในตัวอย่าง ค่าตัวต้านทานที่น้อยที่สุดคือ 10W) วงจรที่แสดงในรูปตัวอย่าง สามารถแทนที่ด้วยตัวต้านทาน 5.45 โอห์มได้

 

 

ตัวอย่าง จงคำนวณหาค่าความต้านทานรวมในวงจรในรูปด้านล่าง

 

รูปต้วอย่าง

 

จากรูปด้านบน โจทย์กำหนดให้ R1 = 1 kW (1,000 W),  R2 = 4.7 kW (4,700 W) ,  R3 = 3.9 kW (3,900 W), R4 = 820 W, R5 = 10 kW (10,000 W), RT = ? W

 

วิธีทำ

จากสมการ (4.2)

รูปวิธีทำ

 

มันซับซ้อนเกินไปที่จะหาตัวหารร่วมมาก ดังนั้น เราจะแปลงให้มันเป็นค่าเลขทศนิยมเสีย จะง่ายกว่า

 

รูปวิธีทำ

ย้ายข้างสมการ

 

0.002789 RT = (1) (1)

RT = 1/0.002789

                              = 358.55 W                     ตอบ

 

หมายเหตุ: หากมีเลขหลังจุดทศนิยมมาก จะถูกปัดเศษ อาจจะมีผลต่อความถูกต้องในคำตอบสุดท้าย

 

 

 

ตัวอย่าง: หากต่อตัวต้านทานแบบขนาน ตัวที่หนึ่ง 47 โอห์ม จะได้ค่าความต้านทานรวมมีค่าเท่ากับ 27 โอห์ม ให้ทำการหาตัวต้านทานตัวที่สองที่ต่ออยู่ในวงจรขนานว่ามีค่าเท่าไหร่?

 

 

รูปตัวอย่าง

จากรูปด้านบน โจทย์กำหนดให้ RT = 27 W R1 = 47 W,  R2 = ? W

 

วิธีทำ

จากสมการ (4.2)

 

 

รูปวิธีทำ

 

R2 = 1/0.0157

                              = 63.694 W                     ตอบ

 

จากตัวอย่างข้อนี้ สังเกตว่า ค่า 63.694 โอห์ม ไม่ใช่ค่าตัวต้านทานที่เป็นมาตรฐานที่จำหน่ายอยู่ เราจะใช้ค่าตัวต้านทานที่ใกล้เคียง นั่นก็คือ ตัวต้านทานค่า 62 โอห์มแทน

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

เมื่อใจเย็น เห็นอะไร ก็สวยงาม

เมื่อใจงาม ทำอะไร ก็ล้ำเลิศ

เมื่อใจสูง คิดอะไร ก็ประเสริฐ

เมื่อใจดี อะไรจะเกิด ก็สบาย ๆ”

 

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา