บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,407
เมื่อวาน 2,760
สัปดาห์นี้ 12,488
สัปดาห์ก่อน 15,391
เดือนนี้ 28,751
เดือนก่อน 76,883
ทั้งหมด 4,920,886
  Your IP :18.97.14.91

In English

 

ภาษาไทย ด้านล่างจ้า

 

จะพยายามเขียนเป็นภาษาอังกฤษด้วย เพื่อให้คนต่างชาติได้อ่าน ไวยากรณ์อาจดีไม่พอ ต้องขออภัย

 

(I’m so sorry if grammar May not be good enough. I will try.)

 

 

      The teachings of the Buddha; His Highness focused on practical results. Let everyone deal with the real life in this world and start at the beginning of their studies.

 

Buddha statue

Source: https://www.biography.com/

 

 

Recommended for continuous reading, right-click, choose

 

If interested in other books; please

Click

 

 

 

      Knowledge of the principles called Buddhist middle way sermon. Behavior according to the so-called The Middle Way is something that everyone whether in the condition and any level of life can be understood and used as appropriate to the condition and level of life.

 

      If the concern about life after this world exists then make that life the way you want it to be absolutely tangible in this life. Until self-confidence without worrying about the next world.

 

      Everyone has equal rights by nature to reach these achievements. Although the ability is different everyone should therefore be given equal opportunities. That will create success based on one's ability and that ability Is something that can be increased.

 

      Therefore should give everyone the opportunity to develop their talents to the best and even if the true achievement. Everyone must do it by themselves. By being aware of their responsibilities that must be fully diligent.

 

      But everyone can be a tool to help others. Therefore, the Dharma that is not negligent and the principle of a true friend. Therefore is a remarkable principle And the emphasis is on both. As one side of one's responsibility to oneself And external factors that will complement the other party.

 

      If taking the work and the ethics of the Lord Buddha as a consideration will see many important Buddhist practices. For example, His Highness tried to overthrow credulous beliefs in various rituals.

 

      Especially sacrifice by teaching emphasizing the harmful effects and the fruitlessness of those rituals. This is because of those sacrifices. Causing people to think instead of relying on external factors. One thing makes people crave to soar. And thinking of autism in Material benefit increases selfishness. Regardless of the misery and suffering of fellow humans and animals.

 

      One thing makes people think about the future. Until not thinking of one current improvement. Then taught and reiterated the principle of "alms", namely giving, sharing and help each other in society.

 

      The next thing that tries to teach disprove Is the caste trust system. Bringing the Birth of origin into a limitation of rights And opportunities both socially And the human mind.

 

      Established "Sangha", a Buddhist community which is open to people from all castes to be equal like the sea that receives water from all rivers, blending into one. Cause the institute of temple which later became an important cultural and educational distribution center. Until Hinduism had to be established in one's own religion after about 1,400 to 1,700 years.

 

      Granted the right to women who would benefit from the dharma reach the ultimate destination that Buddhists can reach same as men. Although granting this right must act with great care to prepare the image for the rights of women to live well in society at that time. Because of the rights of women in psychological education the religion of the Veda gradually narrowed down until it was closed in those days.

 

      Next thing; Taught the Dharma in the ordinary language that people use For people of all levels All levels of education All the benefits from this fair. Opposite to Brahmanism that seized the sacred scripture of the Vedas and restricting high knowledge to their own narrow band through different methods.

 

      Especially with the use of the original Sanskrit language which knows the limits among them is a Medium for teaching and keeps the scriptures. Even though someone later asked for the Buddha's permission to raise the Buddha's words into the Vedas language He didn't allow it. Confirmed the use of the language of the people as before.

 

      Next thing; He completely refused to waste time discussing the problems relating to speculation in philosophical truth.

 

      If anyone asks a problem like this He will restrain then pulling the person back into trouble with Matters that he must be related and can practice in real life immediately. Things to know with words Recommended by words, Things you should know by seeing he showed him. Not to see things that must be seen with words.

 

      In this regard, he taught many different Buddhist teachings, with many levels of teachings. Both for the ordinary person who live in society and monks. Both teachings for material benefits and for profound psychological benefits. So that everyone can benefit from the Buddha Dharma thoroughly. This Buddhist work confirms the conclusion of understanding of the said dharma.

 

     

 

 

 

 

 

ภาษาไทย

 

 

 

      การสั่งสอนธรรมของพระพุทธเจ้า ทรงมุ่งผลในทางปฏิบัติ ให้ทุกคนจัดการกับชีวิตที่เป็นอยู่จริง ๆ ในโลกนี้ และเริ่มแต่ต้นที่ได้ศึกษา

 

 

รูปปั้นพระพุทธเจ้า

ที่มา: https://www.biography.com/

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน

เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้ 

คลิก 

 

 

มีหนังสือลินทปัญหา เล่ม ๑

ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์

หากผู้อ่านสนใจ

คลิก

 

 

 

 

 

      ความรู้ในหลักที่เรียกว่า มัชเฌนธรรมเทศนา การประพฤติตามมรรคาที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ก็ดี เป็นสิ่งที่ทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพ และระดับชีวิตอย่างใด สามารถเข้าใจ และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ตามสมควรแก่สภาพ และระดับชีวิตนั้น ๆ

 

 

      ถ้าความห่วงใยในเรื่องชีวิตหลังจากโลกนี้มีอยู่ ก็จงทำชีวิตแบบที่ต้องการนั้นให้เกิดมีเป็นจริงเป็นจังแน่นอนขึ้นมาเสียในชีวิตนี้ทีเดียว จนมั่นใจในตนเองโดยไม่ต้องกังวลห่วงใยในโลกหน้าเลย

 

 

      ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันโดยธรรมชาติ ที่จะเข้าถึงผลสำเร็จเหล่านี้ แม้ว่าความสามารถจะต่างกัน ทุกคนจึงควรได้รับโอกาสเท่าเทียมกันที่จะสร้างผลสำเร็จนั้นตามความสามารถของตน และความสามารถนั้น ก็เป็นสิ่งที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มพูนได้

 

 

      จึงควรให้ทุกคนมีโอกาสที่จะพัฒนาความสามารถของตนอย่างดีที่สุด และแม้ว่าผลสำเร็จที่แท้จริง ทุกคนจะต้องทำด้วยตัวเอง โดยตระหนักในความรับผิดชอบของตน ที่จะต้องขวนขวายพากเพียรอย่างเต็มที่

 

      แต่ทุกคนก็เป็นอุปกรณ์ในการช่วยตนเองของคนอื่นได้ ดังนั้นหลักอัปปมาทธรรม (Dharma that is not negligent )  และหลักความมีกัลยาณมิตร (true friend) จึงเป็นหลักธรรมที่เด่น และเป็นข้อที่เน้นหนักทั้งสองอย่าง ในฐานะความรับผิดชอบต่อตนเองฝ่ายหนึ่ง กับปัจจัยภายนอกที่จะช่วยเสริมอีกฝ่ายหนึ่ง

 

      หากยกเอาผลงาน และพระจริยาของพระพุทธเจ้าขึ้นมาเป็นหลักพิจารณา จะมองเห็นแนวทางการบำเพ็ญพุทธกิจที่สำคัญหลายอย่าง เช่น ทรงพยายามล้มล้างความเชื่อถืองมงายในเรื่องพิธีกรรมอันเหลวไหลต่าง ๆ

 

      โดยเฉพาะการบูชายัญ ด้วยการสอนย้ำถึงผลเสียหาย และความไร้ผลของพิธีกรรมเหล่านั้น ทั้งนี้เพราะยัญพิธีเหล่านั้น ทำให้คนมัวแต่คิดหวังพึ่งเหตุปัจจัยภายนอก อย่างหนึ่ง ทำให้คนกระหายทะยาน และคิดหมกหมุ่นในผลประโยชน์ทางวัตถุเพิ่มพูนความเห็นแก่ตน ไม่คำนึงถึงความทุกข์ยากเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์และสัตว์

 

      อย่างหนึ่ง ทำให้คนคิดหวังแต่เรื่องอนาคต จนไม่คิดปรับปรุงปัจจุบัน อย่างหนึ่ง แล้วทรงสอนย้ำหลักแห่ง “ทาน” คือการให้เสียสละแบ่งปัน และสงเคราะห์กันในสังคม

 

      สิ่งต่อไปที่ทรงพยายามสอนหักล้าง คือระบบความเชื่อถือเรื่องวรรณะ ที่นำเอาชาติกำเนิดมาเป็นขีดขั้นจำกัดสิทธิ และโอกาสทั้งในทางสังคม และทางจิตใจของมนุษย์

 

      ทรงตั้ง “สังฆะ” คือชุมชนแห่งสงฆ์ ที่เปิดรับคนจากทุกวรรณะให้เข้าสู่ความเสมอภาคกัน เหมือนทะเลที่รับน้ำจากแม่น้ำทุกสายกลมกลืนเข้าเป็นอันเดียวกัน  ทำให้เกิดสถาบันวัด ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางเผยแพร่วัฒนธรรมและการศึกษาที่สำคัญยิ่ง จนศาสนาฮินดูต้องนำไปจัดตั้งขึ้นบ้างในศาสนาของตน เมื่อหลังพุทธกาลแล้วราว ๑,๔๐๐ หรือ ๑,๗๐๐ ปี

 

      ทรงให้สิทธิแก่สตรีที่จะได้รับประโยชน์จากพุทธธรรม เข้าถึงจุดหมายสูงสุดที่พุทธธรรมจะให้เข้าถึงได้ เช่นเดียวกับบุรุษ แม้ว่าการให้สิทธินี้ จะต้องทรงกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ที่จะเตรียมการวางรูปให้สภาพการได้สิทธิของสตรีนี้ดำรงอยู่ด้วยดีในสภาพสังคมสมัยนั้น เพราะสิทธิของสตรีในการศึกษาอบรมทางจิตใจ ได้ถูกศาสนาพระเวทค่อย ๆ จำกัดแคบลงมาจนปิดตายแล้วในสมัยนั้น

 

      ประการต่อไป ทรงสั่งสอนพุทธธรรมด้วยภาษาสามัญที่ประชาชนใช้ เพื่อให้คนทุกชั้น ทุกระดับการศึกษา ได้รับประโยชน์จากธรรมนี้ทั่วถึง ตรงข้ามกับศาสนาพราหมณ์ ที่ยึดความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท และจำกัดความรู้ชั้นสูงไว้ในวงแคบของพวกตนด้วยวิธีการต่าง ๆ

 

      โดยเฉพาะด้วยการใช้ภาษาเดิมของสันสกฤต ซึ่งรู้จำกัดในหมู่พวกตน เป็นสื่อถ่ายทอด และรักษาคัมภีร์ แม้ต่อมาจะมีผู้ขออนุญาตพระพุทธเจ้า ให้ยกพุทธพจน์ขึ้นสู่ภาษาพระเวท พระองค์ก็ไม่ทรงอนุญาต ทรงยืนยันให้ใช้ภาษาของประชาชนตามเดิม

 

      ประการต่อไป ทรงปฏิเสธโดยสิ้นเชิง ที่จะทำเวลาให้สูญเสียไปกับการถกเถียงปัญหา ที่เกี่ยวกับการเก็งความจริงทางปรัชญา ซึ่งไม่อาจนำมาพิสูจน์ให้เห็นได้ด้วยวิธีแสดงเหตุผลทางคำพูด

 

      ถ้าใครถามปัญหาเช่นนี้ พระองค์จะทรงยับยั้งเสีย แล้วดึงผู้นั้นกลับมาสู่ปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องที่เขาจะต้องเกี่ยวข้อง และปฏิบัติได้ในชีวิตจริงโดยทันที  สิ่งที่จะพึงรู้ได้ด้วยคำพูด ทรงแนะนำด้วยคำพูด สิ่งที่จะพึงรู้ด้วยการเห็น ทรงให้เขาดู มิใช่ให้ดูสิ่งที่จะต้องเห็นด้วยคำพูด

 

      ทั้งนี้ ทรงสอนพุทธธรรมโดยปริยายต่างๆ เป็นอันมาก มีคำสอนหลายระดับ ทั้งสำหรับผู้ครองเรือน ผู้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม และผู้สละเรือนแล้ว ทั้งคำสอนเพื่อประโยชน์ทางวัตถุ และเพื่อประโยชน์ลึกซึ้งทางจิตใจ เพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากพุทธธรรมทั่วถึงกัน พุทธกิจที่กล่าวมานี้เป็นเครื่องยืนยันข้อสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับพุทธธรรมที่พูดมาแล้วข้างต้น

 

 

 

 

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                   

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา