บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 339
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 6,569
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 34,804
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,379,301
  Your IP :3.22.249.158

 

การคำนวณการบิน (Flight calculate)

 

เครื่องบินรบขึ้น / ลงแนวดิ่ง  F 35B V/STOL ลำหนึ่ง

 

 

รูป เอฟ 35

ที่มา: https://cdn.arstechnica.net

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน

เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้ 

คลิก 

 

 

มีหนังสืออากาศยาน และ เครื่องยนต์เจ็ทเบื้องต้น

ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์

หากผู้อ่านสนใจ

คลิก

 

 

ทำการบินเพื่อไต่ระดับเพดานบิน ด้วยมุมไต่ระดับ 30 องศา ใช้ความเร็วสูงสุด 1.6 มัค ดังข้อมูลด้านล่าง

 

 

รูปข้อมูล F 35B

ที่มา: https://image.slidesharecdn.com

 

ให้คำนวณหาแรงฉุด, แรงยก และความเร็วในการไต่เพดานบิน

 

วิธีทำ

 

 

 

รูปผังวัตถุอิสระของเครื่องบิน F35

ที่มา: https://uppic.cc

 

จากรูปเห็นว่าอากาศกระทำที่ลำตัว จะตั้งฉาก กับตัวเครื่องบินรบ สามารถแตกแรงออกได้เป็น แรงยก (Lift force: Flift) และแรงฉุด (Drag force: Fdrag)

 

 

ขั้นตอนในการคำนวณ

 

เมื่อเราหาแรงฉุดที่กระทำต่อตัวถังเครื่องบินได้แล้ว เราก็จะสามารถหาแรงยกได้

 

การหาแรงฉุดอากาศนั้น สูตรที่ใช้ก็คือ

 

Fdrag = ½rv2Acd

 

กำหนดให้           r = ความหนาแน่นของอากาศ ณ ตอนนั้น

                        v = ความเร็วการบิน

                        A = พื้นที่หน้าตัดที่ปะทะลม

                        cd = สัมประสิทธิ์แรงต้านอากาศ

 

cd จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.35 – 1.36 ในที่นี้จะใช้ 0.50

 

มีพื้นที่หน้าตัด  42.7 m2

 

มีมุมเงยเพื่อบินไต่ระดับการบิน 30 องศา

 

จะได้พื้นที่หน้าตัดขณะปะทะลม

 

A = 42.7 m2 sin 30°

 

= 21.35 m2

 

ความเร็วของเครื่องบิน สามารถบินได้สูงสุด 1.6 (มัค) mach

(1 mach = 340 m/s)

 

ดังนั้น ความเร็วการบินสูงสุดจะอยู่ที่

 

1.6 ´ (340 m/s)

 

= 544 m/s

 

= 1,958.4 km/hr

 

 

      ในความหนาแน่นของอากาศ ถ้าหากสมมติว่า ขณะทำการบิน เครื่องบิน บินสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 5 กิโลเมตร อากาศจะมีความหนาแน่นประมาณ 0.65 kg/m3

 

นำค่าที่ได้ทั้งหมดมาแทนค่าในสมการ

 

Fdrag = ½(0.65 kg/m3) ´(544 m/s)2´ (21.35 m2) ´0.50

= 1,026,712.96 N

 

แรงฉุดจะมีค่าเท่ากับ 1,026,712.96 นิวตัน เลยทีเดียว

 

 

จากการใช้กฎตรีโกณมิติ เพื่อทำการหาแรงยก

 

tan 30° = Fdrag/ Flift

 

Flift = Fdrag/ tan 30°

 

 = 1,026,712.96 N /0.5773

 

= 1,778,773.861 N

 

แรงยกที่ทำให้เครื่องบินลอยตัวจะอยู่ที่ 1,778,773.861 นิวตัน

 

น้ำหนักของเครื่องบินหากมีโหลดสูงสุดอยู่ที่ 27,442 กิโลกรัม

หรือ เท่ากับ

 

27,442 kg ´ 9.81 m/s2

= 269,206 N

 

ความเร็วในการบินขณะที่ทำการไต่ระดับเพดานบิน หาได้จาก

 

F = mg = Flift = Fdrag/ tan 30° = ½rv2Acd/ tan 30°

 

v2= 2 mg tan 30°/(rAcd)

 

v = Ö(2 mg tan 30°/(rAcd))

 

= Ö(2 (269,206 N) tan 30°/(0.65 kg/m3) ´(21.35 m2) ´0.50)

 

= Ö(310,663.724/6.9)

 

= Ö45,023.728

 

212.187 m/s = 763.873 km/hr

 

ความเร็วในขณะทำการบินไต่ระดับเพดานบินอยู่ที่ 763.873 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 

 

รูปเครื่องบินรบ

ที่มา: http

 

 

 

รูป แบบเครื่องบินรบเอฟ 35

 

รูปแบบเครื่องบินขึ้นลงแนวดิ่ง

ที่มา: http://voodoo-world.cz

 

วิดีโอการบินของเครื่องบินเอฟ 35

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“จงเปิดกว้าง

รับทุกสิ่งที่จะมาถึง

Be open to whatever comes next.

 

                                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา