บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 722
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 6,952
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 35,187
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,379,684
  Your IP :18.223.32.230

 

      วิวัฒนาการที่ก้าวหน้าในงานอัตโนมัติเกิดขึ้นอีกขั้น จากทฤษฏีการควบคุมตอบสนองกลับโดยอุปกรณ์ลูกบอลควบคุมความเร็วของวัตต์ (Watt flyball governor) ในปี พ.ศ. 2312 ในรูปด้านล่าง

 

รูปลูกบอลควบคุมความเร็วของวัตต์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

วิดีโอแสดงแบบจำลองของเครื่องยนต์ไอน้ำของวัตต์ที่มีอุปกรณ์ควบคุมความเร็ว

                   

นำมาใช้ควบคุมความเร็วของเครื่องยนต์ไอน้ำ โดยการตรวจวัดความเร็วด้านขาออก และนำใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนทีของลูกบอลในการควบคุมวาล์ว เพื่อควบคุมปริมาณของไอน้ำที่เข้าเครื่องยนต์ เมื่อความเร็วรอบของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น โลหะทรงกลมที่อยู่บนกัฟวาเนอร์จะยกขึ้น และมีกลไกเชื่อมต่อกับแกนเพลา วาล์วจึงปิด หรือเปิด

 

      ลูกบอลควบคุมความเร็วของวัตต์นี้ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างแรกของระบบควบคุมแบบป้อนกลับ (Feedback control system) ซึ่งสัญญาณป้อนส่งกลับไป และการทำงานควบคุมจะเป็นไปอย่างสมบูรณ์ในรูปแบบอุปกรณ์ทางกล

 

รูปตัวอย่างผังควบคุมแบบป้อนกลับ

     

      ต่อมาในต้นปี พ.ศ. 2343 มีการประดิษฐ์อุปกรณ์ควบคุมการป้อนเข้าเครื่องของงานทอผ้า ประดิษฐ์โดย โจเซฟ จาเควซ (Joseph Jacquard) ชาวฝรั่งเศส ในปลาย พ.ศ. 2343 จึงเป็นที่รู้จักในการทำเป็นทฤษฏีการควบคุม ที่ถูกริเริ่มโดย เจ.ซี. แมกซ์เวลล์ (J.C. Maxwell) ผ่านการวิเคราะห์ของสมการเชิงอนุพันธ์ (Differential equations) ที่ใช้อธิบาย ลูกบอลตุ้มเหวี่ยงจังหวะ หรือ ฟลายบอลกัฟเวอร์เนอร์ (Flyball governor)

 

รูปตุ้มลูกบอลเหวี่ยง

 

รูปฟลายบอลกัฟเวอร์เนอร์

 

วิดีโอการทำงานของฟลายบอลกัฟเวอร์เนอร์

 

แมกซ์เวล ได้ทำการตรวจสอบผลของพารามิเตอร์ในระบบต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดมีประสิทธิภาพของระบบ ในเวลาเดียวกัน มีการสร้างสูตรทางคณิตศาสตร์งานควบคุมโดย วีสเนกราสกี (Vyshnegradskii)

 

      ในช่วง พ.ศ.2373 ไมเคิลฟาราเดย์ (Michael Faraday) อธิบายกฎของการเหนี่ยวนำซึ่งเป็นพื้นฐานของมอเตอร์ไฟฟ้า และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ต่อมาในปลาย พ.ศ. 2423  นิโคลา เทสล่า (Nikola Tesla)  ได้ประดิษฐ์มอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำกระแสสลับ

 

รูปมอเตอร์ไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำที่ประดิษฐ์โดยนิโคลา เทสล่า

 

      ทำให้แนวคิดพื้นฐานการควบคุมระบบทางกลอัตโนมัติ ได้ถูกก่อตั้งขึ้นอย่างมั่นคงปลายศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นการปฏิวัติของงานด้านอัตโนมัติ และผลส่งต่อไปถึงการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ในศตวรรษที่20

 

      จากที่กล่าวมาข้างต้นเหล่านี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบอัตโนมัติแบบกลไก ที่ถูกนำมาใช้งานจนประสบความสำเร็จในทางปฏิบัติ และบางอย่างก็ยังมีการนำมาใช้งานจนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนวิวัฒนาการในขั้นต่อไปของการควบคุมแบบอัตโนมัติ จนมีการสร้างทฤษฏีของการควบคุมอัตโนมัติ ซึ่งรู้จักการในชื่อที่เรียกว่า การควบคุมเชิงตัวเลข (Numerically Controlled: NC) ที่นิยมนำมาใช้ในเครื่องมือกลสำหรับการผลิตแบบอัตโนมัติ (มีการเริ่มพัฒนาอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2493 ที่ MIT)

 

รูปการนำการควบคุมเชิงตัวเลขมาใช้ในเครื่องมือกล

 

รูปอุปกรณ์นิวแมติกส์มีการนำมาใช้ในระบบควบคุม

 

                ในปี พ.ศ. 2473 มีการพัฒนาของอุปกรณ์ระบบควบคุมโดยการใช้ นิวแมติกส์ (Pneumatic: อุปกรณ์ที่ใช้ลมอัดทำงาน) จากจุดเริ่มต้นพัฒนาจนกระทั่งไปสู่จุดที่พร้อมที่จะนำไปใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม จุดเริ่มต้นจริง ๆ แล้ว จะอยู่ในปี พ.ศ. 2483 ซึ่งการออกแบบของระบบควบคุมยังคงไว้ซึ่งความเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ โดยการออกแบบระบบควบคุมทั่วไปมักจะได้จาก วิธีการทดลอง และความผิดพลาด (Trial-and error methods)

 

                ใน พ.ศ. 2488 มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ในวิธีการทางคณิตศาสตร์ และการวิเคราะห์เพื่อให้เกิดการตกผลึกแนวคิดทางด้านวิศวกรรมควบคุม (Control engineering) การพัฒนาของระบบโทรศัพท์ และการขยายแนวความคิดในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการนำไปใช้งาน มีการนำเสนอโดย โบด (Bode), ไนเควส (Nyquist) และแบล็ก (Black) ที่ห้องปฏิบัติการโทรศัพท์ของเบล

 

      การดำเนินงานของภาคขยายย้อนกลับ (Feedback amplifiers) เป็นการพิจารณาในภาคโดเมนความถี่ (frequency domain) จากนั้นการออกแบบ กับการวิเคราะห์ก็ตามมา การปฏิบัติแบบนี้ยังจัดอยู่ในกลุ่มทั่วไป คือยังเป็น การควบคุมดั้งเดิม (Classical control) อยู่

 

      ในช่วงเวลาเดียวกัน ทฤษฏีควบคุมก็มีการพัฒนาในรัสเซีย และฝั่งยุโรปตะวันออกด้วย จากความรู้ในด้านคณิตศาสตร์ และกลศาสตร์ประยุกต์ ได้นำไปครอบคลุมสาขาของการควบคุม และมีความสนใจจดจ่อกับการพัฒนาเพิ่มเติมจากสูตรของโดเมนเวลา (Time domain formulations) และสมการเชิงอนุพันธ์ของระบบ ที่นำมาใช้เป็นตัวแทนของระบบจากตัวแปรที่ใช้แสดงสถานะ ซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ.  2503  จนนำไปสู่การวิเคราะห์ และออกแบบ ในทางปฏิบัติ จนกลายมาเป็น การควบคุมสมัยใหม่ (Modern control) จนกระทั่งทุกวันนี้

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

 

“โลกสว่างด้วยไฟ ส่วนใจสว่างด้วยแสงธรรม”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา