บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 617
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 6,847
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 35,082
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,379,579
  Your IP :3.16.66.206

ในสงครามโลกครั้งที่ 2 มีความพยายามที่จะทำให้การควบคุมอัตโนมัติมีความก้าวหน้าทั้งในด้านทฤษฏี และด้านปฏิบัติ พยายามที่จะออกแบบสร้างเครื่องบินที่สามารถ ทำการบินได้โดยอัตโนมัติ (Auto pilot), ระบบหาตำแหน่งในปืนอัตโนมัติ (Gun-positioning systems), ระบบควบคุมเรดาร์

     

      โดยเฉพาะอย่างยิ่งนำมาใช้ในระบบทางทหาร ให้มีความซับซ้อน และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก็เพื่อปกป้อง หรือสูญเสียให้น้อยที่สุดของชีวิตทหารในสนามรบ เทคโนโลยีก็ยังสามารถนำมาใช้ในการขยายอาณาเขตพื้นที่ควบคุมทางทหารที่มีอยู่ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

 

รูประบบปืนหาตำแหน่งอัตโนมัติติดตั้งอยู่บนเรือรบ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

และอีกสิ่งที่นำมาใช้ในการควบคุมก็คือ มีการพัฒนาระบบข้อมูล และ เทคนิคโดเมนความถี่ (Frequency domain techniques) สิ่งเหล่านี้ซึ่งถูกนำมาใช้ตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้ยังมีการนำทฤษฏี การแปลงลาปลาซ (Laplace transform) ผนวกเพิ่มเข้ามาใช้งาน ที่เรียกว่า วิธีการระนาบเอส (S-plane methods) ยกตัวอย่างเช่น การออกแบบระบบควบคุมที่ใช้ใน เส้นทางเดินของราก (Root locus)

 

                การอัตโนมัติ เมื่อนำมาใช้ในงานผลิตเพื่อการค้า วัตถุประสงค์ในการนำมาใช้ก็คือเพื่อประหยัดต้นทุนการผลิต และต้องการให้มีการผลิตให้มีจำนวนมาก นี้จึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในทางอุตสาหกรรม

 

รูปลูกเบี้ยว

 

รูปตัวอย่างกลไกต่อโยง

 

      ในปี พ.ศ. 2483  ถึงพ.ศ. 2503 ช่วงเวลานี้มีการประดิษฐ์ ลูกเบี้ยว (Cam), กลไกต่อโยง (Linkages) และการขับด้วยโซ่ ซึ่งกลายเป็นเทคโนโลยีหลักสำหรับการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ทำให้เกิดการผลิต และการประกอบที่มีความแม่นยำสูง ยกตัวอย่างสมัยนั้นเช่น เครื่องทอผ้า และเครื่องพิมพ์, เครื่องผลิตกระดาษ และจักรเย็บผ้า การผลิตปริมาณมากที่มีความแม่นยำสูง สามารถทำให้หลายสิ่งเป็นจริงในช่วงเวลานี้

 

รูปตัวอย่างไมโครโปรเซสเซอร์

 

      การพัฒนาของไมโครโปรเซสเซอร์ในปลายปี พ.ศ. 2503 นำไปสู่ปฐมบทของการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในระบบควบคุมของกระบวนการ และการออกแบบงาน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องมือกลเอ็นซี และระบบควบคุมอากาศยาน แต่กระบวนการผลิตก็ยังคงเป็นรูปแบบทางกลแบบปกติธรรมดา

 

รูปยานสปุตนิค 1

 

      การอัตโนมัติ และระบบควบคุมถูกนำมาใช้ แต่ภายหลังจากการปล่อยยานสปุตนิค ซึ่งถือว่าการกำเนิดก้าวแรกของยุคอวกาศ อันเป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่ให้นานาประเทศเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของระบบกลไกการควบคุม

 

      จรวด และยานสำรวจอวกาศมีการพัฒนาที่สลับซับซ้อน, ระบบควบคุมที่มีความแม่นยำสูงมาก นอกจากนี้ยังจำเป็นที่จะต้องลดมวลของดาวเทียมให้เหลือน้อยที่สุด (ซึ่งก็คือ การลดปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงที่จำเป็นสำหรับภารกิจ) ขณะเดียวกันก็ให้การควบคุมอย่างแม่นยำถูกต้อง สิ่งเหล่านี้ช่วยส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าอย่างสำคัญในด้านของการควบคุมที่เหมาะสม

 

      วิธีโดเมนเวลา (Time domain methods) ถูกพัฒนาโดย เลียพูนอฟว์ (Liapunov), ไมนอร์สกี (Minorsky) และคนอื่น ๆ รวมทั้งทฤษฏีการควบคุมที่เหมาะสมจากการพัฒนาของ แอลเอส พอนทรีกิน (L.S. Pontryagin) จากอดีตสหภาพโซเวียต และอาร์ เบลแมน (R. Bellman) จากสหรัฐอเมริกา ที่จับคู่กันจนเข้ากันได้ดี ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีความพร้อมในการทำงานด้วยความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้น และได้ทำการเขียนโปรแกรมภาษาใหม่สำหรับงานทางด้านวิทยาศาสตร์

 

รูปตัวอย่างอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ

 

      ความก้าวหน้าในการผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) และวงจรรวม (Integrated Circuits: I.C.) ทำให้เกิดการพัฒนาของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในการประสานงานร่วมกันในทางกลไก และอิเล็กทรอนิกส์ของระบบ และทำให้เกิดการทำงานร่วมกันของสองหน้าที่

 

      คำว่าแมคทรอนิกส์ถูกกล่าวครั้งแรกโดย บริษัท ไฟฟ้า ยาซาคาว่า  (Yasakawa Electric) ในปี พ.ศ. 2512 แต่มีการแพร่หลายของคำนี้ในภายหลัง และถูกนำไปจดทะเบียนในปี พ.ศ. 2525

 

      ในตอนแรก แมคาทรอนิกส์หมายถึงระบบ ที่เป็นระบบเครื่องกล และไฟฟ้าเท่านั้น ไม่มีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น ระบบประตูเปิด-ปิดอัตโนมัติ, เครื่องจำหน่ายสินค้าแบบหยอดเหรียญ (Vending machines) และลิฟต์

 

รูปประตูเปิด /ปิด อัตโนมัติ

 

รูปตัวอย่างเครื่องจำหน่ายสินค้าแบบหยอดเหรียญ

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“จงชนะความชั่ว ด้วยความดี”
Overcome evil by virtue.


                                                     พุทธพจน์ / Sayings of the Buddha

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา