บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,963
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 8,193
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 36,428
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,380,925
  Your IP :3.148.102.90

3.2 สัญญาณขาเข้าของระบบแมคาทรอนิกส์

 

3.2.1 ตัวแปลงสัญญาณ / ตัวตรวจจับ ขาเข้า

 

      ขาเข้า หรืออินพุตทั้งหมดของระบบแมคาทรอนิกส์ มาจากรูปแบบบางอย่างของอุปกรณ์ที่มีความไวต่อการรับข้อมูล หรือการสื่อสารจากระบบอื่น ๆ

 

 

รูปตัวอย่างเซ็นเซอร์ หรือตัวตรวจจับ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ตัวตรวจจับ หรือเซ็นเซอร์ (Sensors) เป็นพื้นฐานในการใช้ในงานแมคาทรอนิกส์อันดับต้น ๆ ซึ่งจะได้อธิบายอย่างละเอียดเชิงลึกในบทที่ 19 (อีกนานเลยครับ) แต่ตอนนี้จะอธิบายอย่างคร่าว ๆ อุปกรณ์นี้ มันจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานจากรูปแบบหนึ่ง ไปเป็นพลังงานอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นตัวตรวจจับ

 

 

รูปตัวแปลงความถี่ หรือทรานสดิวเซอร์

 

      ตัวแปลงความถี่ หรือทรานสดิวเซอร์ (Transducers) คุณสมบัติของมันจะได้อธิบายอย่างละเอียดในบทที่ 45 (ก็อีกนานเหมือนกัน)

 

โดยทั่วไป อุปกรณ์เหล่านี้สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ แอคทีฟ หรือสิ่งเร้า (Active) และพาสสิฟ หรืออยู่เฉย (Passive)

 

      ตัวตรวจจับแบบสิ่งเร้าจะปล่อยสัญญาณออกไปเพื่อทำการประเมินคุณลักษณะของสภาพแวดล้อม หรืออุปกรณ์ที่ถูกวัด

 

      ส่วนตัวตรวจจับแบบอยู่เฉย  จะไม่ได้ทำอย่างนั้น มันจะอยู่เฉย ๆ คอยรับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเข้ามา

 

      ตัวอย่างที่ใช้ในทางทหารของอุปกรณ์ทั้งสองประเภทเหล่านี้ เช่น ในเครื่องบินโจมตี (Strike aircraft) จะตรวจหาเป้าหมายที่จะโจมตีด้วยการตรวจจับด้วยเรดาร์เลเซอร์ (Laser radar: LADAR) หรือตัวตรวจจับแบบแสงอินฟาเรด (Infrared: FLIR) ในการตรวจจับสิ่งเคลื่อนไหวเมื่อเข้ามาในอาณาบริเวณป้องกันเป็นแบบอยู่กับที่ หรืออยู่เฉย

 

 

รูปตัวอย่างเรดาร์ตรวจจับของเครื่องบินซูคอย หรือ ซู- 34(Sukhoi Su-34) ของรัสเซีย

 

      ตามที่กล่าวไว้ในตอนต้น ด้านขาออก หรือเอาพุตของตัวตรวจจับซึ่งโดยปกติจะเป็นสัญญาณอนาล็อก

 

      ประเภทแรกที่ง่ายที่สุดของสัญญาณอนาล็อก นั่นก็คือ ระดับของแรงดันไฟฟ้าตรง (ไม่จำเป็นต้องเป็นเชิงเส้นก็ได้) ที่มีความสัมพันธ์กับสภาพการป้อนข้อมูล

 

      ประเภทที่สองคือ สัญญาณการปรับความกว้างพัลซ์ (Pulse Width Modulated: PWM) ซึ่งจะได้อธิบายในภายหลัง เมื่อได้พูดถึงในเรื่องของเอาพุตไมโครคอนโทรลเลอร์

 

      ประเภทที่สามคือ รูปแบบคลื่น (Waveform) ดังแสดงในรูปด้านล่าง

 

 

รูปคลื่นไซน์

 

ชนิดของสัญญาณเป็นการปรับในแอมพลิจูด หรือช่วงกว้างคลื่น (Amplitude modulation) รูปที่ด้านล่าง

 

 

รูปการปรับแอมพลิจูด

 

หรือการปรับความถี่ (Frequency modulation) ของมัน รูปด้านล่าง

 

 

รูปการปรับความถี่

 

หรือบางกรณีต้องทำทั้งคู่ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในสภาพที่ถูกตรวจสอบ

 

      มีตัวตรวจจับที่ไม่ได้สร้างสัญญาณอนาล็อก แล้วก็มีตัวตรวจจับบางชนิดสร้างคลื่นสี่เหลี่ยม (Square wave) ดูได้ที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปคลื่นเหลี่ยม

 

นั่นคือ มันเป็นขาเข้าสู่ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช้ในมาตรฐานการสื่อสาร อีไอเอ (EIA) 232 คลื่นเหลี่ยมนั้นจะแสดงออกมาเป็นค่าของเลขฐานสอง หรือไบนารี่ (Binary) คือ 0 และ 1

 

      ในกรณีนี้ เอดีซี ตัวตรวจจับ มักจะอยู่บนออนบอร์ดของตัวมันเอง การเพิ่มอุปกรณ์ตรวจจับขึ้น ก็ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มด้วย ตัวตรวจจับ / ตัวบันทึกบางอย่างสามารถสร้างขาออก เป็นข้อความได้ หรือออกมาเป็นกลุ่มข้อมูลของทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)

 

      ตัวอย่างประเภทนี้ก็คือ โมไบล์โคร์เดอร์ เอมวี 100 (MV100 MobileCorder) จากบริษํทโยโกกาว่าของอเมริกา

 

 

รูปโมไบล์โคร์เดอร์ เอมวี 100

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“เมื่อต้องการ สิ่งที่ดีที่สุด

ก็มักจะต้องใช้

ความพยายามให้ถึงที่สุดด้วยเช่นกัน”

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา