บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 36
เมื่อวาน 2,811
สัปดาห์นี้ 17,084
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 58,284
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,402,781
  Your IP :3.129.211.87

 

      นอกจากนี้ ยังทำงานร่วมกับหน่วยเติมพลังงานเพื่อควบคุมการเติมประจุไฟฟ้า และเพื่อตรวจสอบการใช้งานของแหล่งพลังงาน ในการใช้งานของพลังงานในด้านต่าง ๆ จนทำให้ระดับพลังงานเกิดความแตกต่างกันในยานยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมอุณหภูมิ กับความชื้น และหน่วยบังคับเลี้ยว

 

 

      ลักษณะของการขับเคลื่อนไฟฟ้า และแหล่งพลังงาน มีอยู่มากมายหลายรูปแบบ ที่เป็นไปได้ของยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งสามารถดูได้ในรูปที่ 15.8

 

รูปที่ 15.8 การกำหนดตำแหน่งมอเตอร์ ระบบเกียร์ในยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นไปได้

ที่มา: https://uppic.cc

 

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน

เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้ 

 

คลิก 

 

มีหนังสือ ยานยนต์สมัยใหม่ (Modern vehicles) 2

ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์

รูปหน้าปกหนังสือ

 

สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี

หากผู้อ่านสนใจ

คลิก

 

 

ก) รูปที่ 15.9 แสดงลักษณะของการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า โดยใช้มอเตอร์ไปติดตั้งแทนที่เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน ซึ่งเป็นระบบขับเคลื่อนของยานยนต์แบบปกติ ระบบนี้ประกอบไปด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า, คลัตช์, กระปุกเกียร์ และเฟืองท้าย

 

รูปที่ 15.9 มีคลัตช์ เกียร์ และเฟืองท้าย

ที่มา: http://nptel.ac.in

 

      คลัตช์ และกระปุกเกียร์อาจจะเปลี่ยนไปใช้เป็นเกียร์อัตโนมัติแทนได้ คลัตซ์มีหน้าที่ตัด / ต่อกำลังงานของมอเตอร์ไฟฟ้าจากการขับที่ล้อ

 

      กระปุกเกียร์จะมีชุดเฟืองอยู่มีอัตราส่วนการทดที่เปลี่ยนไปตามความเร็ว-กำลังงาน (แรงบิด) ส่วนเฟืองท้ายเป็นอุปกรณ์ทางกล (ปกติเป็นชุดเฟืองสุริยะ) ซึ่งสามารถขับเคลื่อนล้อทั้งสองข้างที่ได้ความเร็วแตกต่างกันเมื่อยานยนต์ขณะทำงาน ในตอนวิ่งเข้าโค้ง หรือตกหล่ม

 

ข)ในรูปที่ 15.10 ทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีกำลังงานคงที่ใช้ความเร็ว ใช้งานได้อย่างยาวนาน  เกียร์อาจใช้กระปุกเกียร์แบบหลากหลายความเร็ว และลดการใช้งานของคลัตช์ ลักษณะนี้ไม่เพียงแต่ทำให้ลดขนาด และน้ำหนักของการส่งกำลังทางกลเท่านั้น มันยังง่ายต่อการควบคุมการขับอีกด้วย เพราะว่าไม่มีความจำเป็นในเรื่องการเปลี่ยนเกียร์

 

รูป 15.10 ไม่มีคลัตช์ และเกียร์

ที่มา: http://nptel.ac.in

 

ค)ในรูปที่ 15.11 เป็นไปในทำนองเดียวกันกระบวนการขับเกียร์ในข้อ (ข) มอเตอร์ไฟฟ้ามีเกียร์ตายตัว และเฟืองท้าย ซึ่งนำมาผสมรวมกันเป็นหนึ่ง มีแกนคู่เพื่อใช้ขับเคลื่อนล้อ การขับเคลื่อนที่สมบูรณ์ทำได้ง่าย และมันมีขนาดเล็กกะทัดรัด

 

 

รูปที่ 15.11 ระบบขับหน้า มีคลัตช์ เกียร์ และเฟืองท้าย

ที่มา: http://nptel.ac.in

 

ง)  ในรูปที่ 15.12 ใช้มอเตอร์ขับสองตัว เพื่อขับล้อแต่ละข้าง มันยังสามารถทำงานได้ด้วยความเร็วรอบที่แตกต่างกัน ในขณะที่รถยนต์วิ่งเข้าโค้ง หรือตกหล่ม

 

 

รูปที่ 15.12 ระบบขับหน้า แต่แยกส่วนการขับ

ที่มา: http://nptel.ac.in

 

จ) รูปที่ 15.13 เพื่อให้เกิดความง่ายในการขับเคลื่อน อาจนำมอเตอร์ขับไปวางติดตั้งอยู่ภายในล้อเลย ซึ่งรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ในปัจจุบันมักนิยมใช้วิธีการนี้ มีชุดเฟืองสุริยะทำงานเพื่อให้มีขนาดเล็กลง และแรงบิดมอเตอร์ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น ชุดเฟืองสุริยะนอกจากมีประโยชน์จากการทดอัตราเร็วรอบได้สูงแล้ว ยังมีการจัดการแบบอินไลน์ของขาเข้า และขาออกของเพลาอีกด้วย

 

 

รูปที่ 15.13 ระบบขับหน้า มีมอเตอร์ และล้อเป็นกลไกเกียร์

ที่มา: http://nptel.ac.in

 

ฉ)รูปที่ 15.14 สามารถตัดทิ้งระบบเกียร์ทางกลใด ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ ระหว่างมอเตอร์ไฟฟ้า และการขับที่ล้อ โรเตอร์ขาออกของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ความเร็วรอบต่ำขับที่ล้อ แล้วสามารถเชื่อมต่อโดยตรงเพื่อขับล้อ ควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ไฟฟ้าเทียบเท่ากับควบคุมของความเร็วรอบล้อ และความเร็วของรถยนต์ อย่างไรก็ตามการจัดเรียงนี้ต้องใช้มอเตอร์ไฟฟ้าที่มีแรงบิดที่สูงเพื่อสตาร์ท และสร้างอัตราเร่งรถยนต์   

 

รูปที่ 15.14 มอเตอร์ประกอบเป็นล้อ ไม่มีเฟือง

ที่มา: http://nptel.ac.in

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ สิ่งที่กำลังเข้ามาหาเรา

ย่อมดีกว่า สิ่งที่จากเราไปแล้ว

What is coming is better than what is gone.

Arabic Proverb

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา