บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 314
เมื่อวาน 1,670
สัปดาห์นี้ 3,506
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 44,706
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,389,203
  Your IP :18.226.150.175

3. หลักการทำงานของเครื่องยนต์เจ็ท

 

ในการสตาร์ทเพื่อเริ่มต้นทำงานของเครื่องยนต์เจ็ทนั้นมีอยู่สองรูปแบบก็คือ แบบอุปกรณ์สตาร์ทติดตั้งในตัวเครื่องบิน เราเรียกว่า เอพียู (Auxiliary Power Unit: APU) และแบบที่อุปกรณ์สตาร์ทอยู่ภายนอกเครื่องบินเราเรียกรูปแบบนี้ว่า จีพียู (Ground Power Unit: GPU) ข้อดีของระบบ จีพียู ก็คือลดน้ำหนักบรรทุกของเครื่องบินลงไป เพราะไม่มีระบบสตาร์ทในตัวเครื่องบิน

 

รูปอุปกรณ์สตาร์ทเครื่องยนต์เจ็ทที่เป็น APU

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูป APU อีกหนึ่งรูป

 

รูปตำแหน่งการวางระบบสตาร์ทรุ่น CRJ-900 ของเครื่องบินพาณิชย์

 

วิดีโอแสดงการสตาร์ทเครื่องยนต์เจ็ทในเครื่องบินพาณิชย์

 

รูปจีพียู

 

รูปอุปกรณ์สตาร์ทเครื่องยนต์เจ็ทที่เป็นแบบ GPU ที่ใช้ในเครื่องบินบรรทุกทางทหาร C-17

 

รูปอุปกรณ์สตาร์ทเครื่องยนต์แบบ GPU ในเครื่องบินพาณิชย์

 

ในการสตาร์ทเครื่องยนต์เจ็ทนั้นอาจใช้สตาร์ทเครื่องยนต์โดยใช้ระบบไฟฟ้า หรือระบบนิวแมติกส์ (ระบบลมอัด) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้ทั้งสองระบบ ระบบการสตาร์ทแบบเอพียู จะกดปุ่มเริ่มต้นสตาร์ทภายในห้องนักบิน (Cockpit) เมื่อกดสวิตซ์สตาร์ทเครื่องยนต์ มอเตอร์สตาร์ท หรือลมอัดความดันสูงจะปล่อยมาจากปั๊มลม เพื่อไปทำการหมุนชุดกังหัน

 

เมื่อเครื่องยนต์หมุนด้วยความเร็วรอบที่เหมาะสม ก็จะเกิดอากาศอัดตัวภายในห้องเผาไหม้จากนั้นนักบินก็จะกดปุ่มจุดระเบิด (Ignition switch) การจุดระเบิดจะเกิดประกายไฟขึ้น จากนั้นนักบินก็จะทำการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ ถึงตอนนี้ภายในห้องเผาไหม้เครื่องยนต์เจ็ทก็จะเกิดการเผาไหม้ และเกิดอย่างต่อเนื่อง

 

ตอนนี้นักบินก็จะปิดสวิตซ์ระบบจุดระเบิด และไม่ต้องเปิดสวิตซ์อีกในขณะเครื่องยนต์ทำงาน เพราะเครื่องยนต์เจ็ทจะเกิดการเผาไหม้ด้วยตัวมันเองอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาโดยไม่มีจังหวะในการเผาไหม้เหมือนเครื่องยนต์แบบลูกสูบ การทำงานของเครื่องยนต์เจ็ทจะทำงานตราบเท่าที่มีน้ำมันเชื้อเพลิงไหลเข้าไปในห้องเผาไหม้

 

วิดีโอแสดงหลักการทำงานของเครื่องยนต์เจ็ท

 

 

รูปผังเครื่องยนต์เจ็ท

 

ทีนี้มาดูหลักการทำงานของเครื่องยนต์เจ็ท ตามที่กล่าวไว้แล้วว่าเครื่องยนต์เจ็ทจะผลิต หรือสร้างแก๊สที่มีความเร็วสูงไหลผ่านไปตามช่องทางของเครื่องยนต์เพื่อทำการขับดันเครื่องบินให้บินได้บนท้องฟ้า

 

การทำงานเริ่มต้นจากการหมุนชุดอัดอากาศ (Compressor) ด้วยการสตาร์ทเครื่องยนต์ที่กล่าวไว้ข้างต้น อากาศจากภายนอกก็จะถูกดูดเข้ามาภายในเครื่องยนต์ ชุดอัดอากาศก็จะทำการอัดอากาศที่ไหลเข้ามาให้มีความดันสูง และส่งอากาศที่ถูกอัดนี้ไหลไปสู่ห้องเผาไหม้ ชุดอัดอากาศสามารถเพิ่มความดันให้แก่อากาศได้ถึง 12 เท่าของความดันบรรยากาศอากาศ

 

ในส่วนห้องเผาไหม้จะมีหัวเทียนจุดระเบิด เพื่อทำการจุดระเบิดให้แก่เครื่องยนต์ โดยในห้องเผาไหม้จะมีส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศผสมกันอยู่ หัวเทียนจุดระเบิดอาจมีหนึ่ง หรือสองหัวก็ได้ ซึ่งคล้ายกับหัวเทียนจุดระเบิดในรถยนต์ แต่ต่างกันตรงที่เครื่องยนต์ลูกสูบต้องใช้หัวเทียนทำงานตลอดที่เครื่องยนต์ทำงาน ส่วนในเครื่องยนต์เจ็ทนั้นจะหยุดการทำงานเมื่อเครื่องยนต์ติดแล้ว เพราะเครื่องยนต์จะทำงานด้วยตัวของมันเองจนกว่าเชื้อเพลิงจะหมด

 

ในการเผาไหม้นั้นประมาณ 25% ของอากาศจะถูกการเผาไหม้ ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 75% จะผสมกับแก๊สไอเสีย เพื่อช่วยลดอุณหภูมิของแก๊สไอเสีย ก่อนที่จะไหลไปยังส่วนกังหันเทอร์ไบน์ ทำให้กังหันเทอร์ไบน์หมุนได้ด้วยแรงจากการเผาไหม้ พลังงานที่เพิ่มให้แก่ชุดกังหันเทอร์ไบน์นี้ทำให้หมุนได้ความเร็วรอบสูงขึ้น แกนของชุดอัดอากาศกับชุดกังหันเทอร์ไบน์เป็นแกนเพลาเดียวกัน ยิ่งกังหันเทอร์ไบน์หมุนด้วยความเร็วสูงเท่าไหร่ ชุดอัดอากาศก็จะอัดตัวได้สูงขึ้นเท่านั้น ก็จะเกิด แรงขับดัน (Thrust) จำนวนมาก แรงขับดันนี้แหละจะนำมาใช้ทำให้เครื่องบินให้บินได้ในอากาศ

 

ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง

 

รูปการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องบินพาณิชย์

 

รูปถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง เจ็ท เอ-1

 

รูปน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินเจ็ท

 

      ในเครื่องยนต์เจ็ท จะใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้อัตราการเผาไหม้ที่สูง เพื่อให้ได้ผลทางประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดนี้เราเรียกว่า น้ำมันเครื่องบิน เจ็ทเอวัน (JET A-1 หรือ JP-1) ถ้าเป็นเครื่องบินทางทหารก็จะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง เจ็ท-8 (Jet-8) คือเป็นฐานน้ำมัน (Base oil) อยู่ในระดับเดียวกับ น้ำมันก๊าด (Kirosene) แต่จะมีคุณภาพที่ดีกว่าน้ำมันก๊าดที่ขายในท้องตลาด ซึ่งมีลักษณะใสไม่มีสีเหมือนน้ำ ราคาต่อลิตรอยู่ที่ประมาณ 11 บาท ซึ่งถูกกว่าน้ำมันแก๊สโซลีนที่ใช้ในเครื่องยนต์ลูกสูบ โดยราคาอยู่ที่ประมาณ 33 บาท/ลิตร

 

      ถึงแม้ว่าน้ำมันจะมีราคาถูก แต่ต้องมีการบำรุงรักษาเครื่องยนต์เครื่องบินที่มีราคาที่แพงกว่า และก่อนที่จะทำการขึ้นบิน (Take off) เครื่องบินจะต้องระบายน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่ออกให้หมด เพื่อป้องกันน้ำที่ปนในน้ำมัน จากนั้นนำมาปรับปรุงปรับสภาพ และ/หรือ เติมน้ำมันใหม่เข้าไปเพื่อความปลอดภัยในการทำการบิน น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินจะมีความไวไฟมาก ภายในรัศมี 12 เมตรจะห้ามนำไฟเข้าไปใกล้เด็ดขาด

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

ไม่ว่าเรื่องที่ทำจะยากเพียงใด ขอเพียงมีความเชื่อมั่นในตนเอง
มีเจตนาแรงกล้าที่จะทำ นั่นเท่ากับว่าสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา